คุณน้าพาส่อง 101 : Gas fee หรือ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม Blockchain

gas fee
Table of Contents

เมื่อคุณเข้ามาในตลาด Cryptocurrency คงเคยได้ยินคำว่า Gas fee หรือ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม Blockchain ซึ่งใบทความนี้คุณน้าพาเทรดอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักความหมายค่าธรรมเนียม รวมถึงสูตรการคำนวณและเราจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับใคร เรามาหาคำตอบพร้อมกับคุณน้าเลยค่ะ

Gas Fee คือ อะไร ?

อันดับแรกทุกคนต้องเข้าใจถึง Blockchain Network ต่าง ๆ จะมี Miner เพื่อคอยตรวจสอบข้อมูลของแต่ละ Transaction เพื่อนำ Transaction เหล่านั้นเข้า Block แล้วไปต่อกับ Block ก่อนหน้าจึงกลายเป็น Blockchain ซึ่งการทำหน้าที่ตรงนี้มีต้นทุนเกิดขึ้นจากการทำสิ่งที่เรียกว่า Proof of work (POW) โดยการใช้คอมพิวเตอร์มาคำนวนเพื่อแก้สมการบางอย่างแข่งกับเหล่า Miner ทั่วโลกเพื่อหาว่าใครจะได้เป็นผู้สร้าง Block นั้น

เมื่อเกิดการแข่งขันที่มีต้นทุน แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ “ค่าธรรมเนียม” โดยผู้ใช้ในระบบ Ethereum หรือ Blockchain อื่น ๆ จะต้องเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ Miner ที่ทำการตรวจสอบ Transaction ของตัวเองและนำ Transaction นั้นเข้า Block ในระบบของ Blockchain จะค่อนข้างเป็นทุนนิยมเพราะ Miner มักจะทำการเลือก Transaction ที่ให้ค่าธรรมเนียมเยอะ ๆ มาทำก่อน แปลว่าใครจ่ายเยอะก็จะได้ตรวจสอบก่อน ซึ่งใน Ethereum Network เรียกค่าธรรมเนียมนี้ว่า “Gas”

ดังนั้น Gas Fee ก็คือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม Blockchain หรือ คือค่าธรรมเนียมในโลกของ Cryptocurrency นั่นเองค่ะ 

Gas fee คือ

ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ?

สำหรับค่าธรรมเนียมไม่มีกำหนดแน่ชัดค่ะ แต่มีสูตรคำนวน ดังนี้ โดยการคำนวน Gas ของ Ethereum หรือ Blockchain จะประกอบไปด้วย 2 ตัวแปร คือ

Gas Limit คือ จำนวน Gas สูงสุดที่ผู้ใช้ยอมรับได้ในการประมวลผล Transaction นั้น ๆ ซึ่งการคิด Gas จะคิดจาก EVM Operations ที่เกิดขึ้นจริง

Gas Price คือ ราคาของ Gas ต่อหน่วยที่ผู้ใช้ยอมจ่ายให้กับ Miner ในการประมวลผล Transaction นั้นๆ โดยมีหน่วยเป็น gwei (Giga wei) 

ซึ่ง 1 wei มีค่าเท่ากับ 1 wei = 1 ETH / 10 ^ 18 ดังนั้น gwei ก็คือ 1 gwei = 1 ETH / 10 ^ 9

หรือ 1 gwei = 1 wei * 10 ^ 9 นั่นเอง

โดยจำนวน Gas ที่ใช้จะคิดตามความซับซ้อนของแต่ละ Transaction ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้เท่ากับ Gas Limit เสมอไป เช่น เราใส่ Gas Limit ไว้ 21000 แต่ใช้จริง ๆ แค่ 12000 (Gas Used) เราก็จะจ่ายค่าธรรมเนียมที่ 12000 คูณกับ Gas Price การคำนวนค่า Gas ของแต่ละ Transaction จะเป็นดังนี้

Fee = GasUsed * GasPrice

เราจ่าย Gas fee ให้ใคร

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าจะมี Miner หรือนักขุดที่ทำหน้าที่แก้สมการ ซึ่งค่าธรรมเนียมส่วนหนึ่งก็จะถูกนำไปให้กับ Miner ค่ะ และอีกส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งไปที่นักพัฒนา Cryptocurrency เหรียญนั้นๆ นั่นเองค่ะ ซึ่งเราสามารถเช็คราคาได้ที่ GASNOW เลยค่ะ อัพเดตเร็วทันใจ สามารถเข้าไปทดลองใช้กันได้นะคะ 

สรุป

กล่าวโดยสรุปคือ หากไม่มี Gas fee เราก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมบน Ethereum blockchain ได้ ไม่ว่าทุกคนกำลังวางแผนทำธุรกรรมอะไรก็ตามผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ อย่าลืมคำนวณและเตรียมค่าธรรรมเนียมด้วยนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังด้วยนะคะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำ 26 กันยา ซิกทอง
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 กันยายน 2566

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำ ประจำวันอังคารที่ 25 กันยายน 2566 กันค่า
แนวต้าน : 1915 / 1918 / 1921 / 1925
แนวรับ : 1910 / 1907 / 1905 / 1901

Payment Gateway คืออะไร ?
ชวนรู้จัก Payment Gateway ที่ร้านค้าออนไลน์และโบรกเกอร์ Forex นิยมยมใช้ !

ทุกวันนี้จะซื้อขายอะไรก็สะดวกมากขึ้น เพราะสั่งตอนไหนก็จ่ายเงินได้! แต่รู้หรือไม่คะว่า ความสะดวกสบายเหล่านี้ได้มาจาก Payment Gateway มันคืออะไร ไปดูกันค่ะ!

pu prime
PU Prime เงินฝากหาย ติดต่อยาก ? รีวิวฉบับอัปเดต 2023

สวัสดีค่ะ พบกับรีวิวโบรกเกอร์จากคุณน้ากันอีกแล้วนะคะ ซึ่งคิวของวันนี้ก็คือ PU Prime ถือเป็นอีกหนึ่งโบรกเกอร์ที่ยังไม่ค่อยมีรีวิวในไทยมากนัก มาดูพร้อมกันค่ะว่าจะมีข้อมูลอะไรน่าสนใจ หรือต้องพิจารณาเพิ่มเติมกันบ้าง  และทุกคนสามารถติดตามคะแนนรีวิวโบรกเกอร์ได้ท้ายบทความนะคะ ข้อมูลเบื้องต้น

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง จ่ายขั้นต่ำเสี่ยงติดเครดิตบูโรไหม ?

เห็นใคร ๆ ก็ทำบัตรเครดิตเลยอยากทำบ้าง! แต่รู้หรือไม่ ถ้าใช้บัตรเครดิตไม่ดี อาจเสี่ยงติดเครดิตบูโรได้ ซึ่งต้นเหตุของหนี้เสียส่วนมากมาจากดอกเบี้ยบัตรเครดิตค่ะ