ชวนรู้จัก Payment Gateway ที่ร้านค้าออนไลน์และโบรกเกอร์ Forex นิยมยมใช้ !

Payment Gateway คืออะไร ?
Table of Contents

ทุกวันนี้จะซื้อจะขายอะไรก็สะดวกมากขึ้น เพราะไม่ว่าเราจะสั่งตอนไหนก็จ่ายเงินได้! แต่รู้หรือไม่คะว่า ความสะดวกสบายเหล่านี้ได้มาจาก Payment Gateway ระบบชำระเงินออนไลน์ที่เข้ามาช่วยเป็นตัวกลางให้เรากับร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้ใช้เพียงกับร้านค้าต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโบรกเกอร์ Forex และธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วยค่ะ

ดังนั้น ในบทความนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก Payment Gateway กันค่ะว่า มันคืออะไร, มีความสำคัญอย่างไร, มีกี่ประเภท รวมถึง Payment Gateway เจ้าไหนดีนะ? ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันได้เลยค่ะ

Payment Gateway คืออะไร ?

Payment Gateway คือ ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อการทำธุรกรรมระหว่างผู้ค้าและลูกค้าให้สามารถทำรายการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย หากทุกคนนึกภาพไม่ออกก็ให้คิดถึงเว็บไซต์ e-Commerce ต่าง ๆ ที่มีการนำ Payment Gateway เข้าไปให้เราเลือกชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Mobile Banking, บัตรเดบิต/ เครดิต, หรือช่องทางการชำระเงินอื่น ๆ นั่นเองค่ะ โดยผู้ที่ทำธุรกิจประเภทนี้ เราจะเรียกว่า “ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์

Payment Gateway ทำงานยังไง ?

Payment Gateway ทำงานยังไง

โดยปกติแล้ว หากเราจะซื้อสินค้าหรือบริการใด ๆ ทางร้านค้าจะไม่ได้มีช่องทางการชำระเงินเป็นของตัวเองค่ะ ซึ่งโบรกเกอร์ Forex ก็เช่นกัน ดังนั้น เราจึงต้องมี Payment Gateway เข้ามาเชื่อมต่อการทำธุรกรรมระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า 

โดยมีหลักการทำงาน คือ ผู้ค้าจะจัดหา Payment Gateway เพื่อรองรับการทำธุรกรรมของลูกค้า หลังจากนั้น เมื่อลูกค้าสั่งสินค้าหรือบริการก็จะทำการชำระเงินผ่านช่องทางที่ตนเองสะดวก ซึ่งเงินส่วนนี้จะถูกโอนไปยัง Payment Gateway ที่ใช้บริการ ดังนั้น เมื่อยืนยันการทำธุรกรรมสำเร็จแล้ว ผู้ค้าก็จะจัดส่งสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าต่อไปค่ะ

Payment Gateway สำคัญอย่างไร ?

Payment Gateway สำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องรู้จักนะ? หลัก ๆ คือ เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ค้าและลูกค้าให้สามารถชำระเงินได้ง่ายขึ้นค่ะ และหากมีตัวเลือก Payment Gateway ที่หลากหลายก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเราไม่รู้เลยว่า ลูกค้าแต่ละคนสะดวกช่องทางไหนบ้าง การมีตัวเลือกที่หลากหลายจะช่วยเพิ่มโอกาสในการใช้บริการให้มากขึ้นค่ะ

คุณน้าอยากให้ลองนึกภาพตามว่า หากเราต้องการซื้อสินค้าสักชิ้น โดยที่ร้านค้า A มีช่องทางการชำระเงินมากถึง 5 ช่องทาง ขณะที่ร้านค้า B มีช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทางเท่านั้น ทุกคนจะเลือกร้านค้าไหนคะ? แน่นอนว่า หากช่องทางการชำระเงินที่ร้านค้า B รองรับนั้น บังเอิญว่าคุณน้าใช้บริการอยู่ก็ดีไป แต่หากลูกค้าคนอื่น ๆ ไม่มีช่องทางนั้น ทำให้ยากต่อการซื้อสินค้าและบริการ มันก็จะทำให้เสียฐานลูกค้าไปนั่นเองค่ะ

อีกทั้ง หากใช้บริการโบรกเกอร์ Forex หรือร้านค้าต่างประเทศ ช่องทางการชำระเงินบางประเภทอาจจะมีค่าธรรมเนียมและเรทค่าเงินที่ถูกกว่า เพราะฉะนั้น การทำความรู้จัก Payment Gateway ที่หลากหลายก็จะช่วยให้ทุกคนรู้จักช่องทางใหม่ ๆ ที่เหมาะสมและคุ้มค่าได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ประโยชน์ของ Payment Gateway

  • เป็นตัวเลือกในการชำระเงินของลูกค้าและผู้ใช้บริการ
  • อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการในการชำระเงิน
  • ลดความผิดพลาดในการทำธุรกรรมด้วยตนเอง
  • สามารถชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องไปธนาคารให้ยุ่งยาก
  • สามารถทำธุรกรรมได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงให้แก่ร้านค้าและลูกค้า
  • รวดเร็ว, ปลอดภัย, โปร่งใส และตรวจสอบได้

Payment Gateway มีกี่รูปแบบ ?

บางคนอาจจะรู้จัก Payment Gateway ที่เป็นธนาคารเสียส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบัน ธุรกิจประเภทนี้มีผู้ให้บริการ 2 รูปแบบค่ะ ได้แก่

1. ระบบชำระเงินที่เชื่อมกับธนาคารโดยตรง (Bank Payment Gateway) 

Payment Gateway ลักษณะนี้จะเป็นการให้บริการจากธนาคารโดยตรง ซึ่งช่องทางนี้จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากกว่าช่องทางอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ดี Payment Gateway ของธนาคารมักจะต้องมีการค้ำประกันเงินฝาก, ทุนจดทะเบียนที่มีข้อจำกัด และค่าธรรมเนียมรายปีในการใช้บริการ ดังนั้น Payment Gateway ที่เป็นธนาคารจึงเหมาะกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนมากกว่าค่ะ

ตัวอย่าง Bank Payment Gateway

  • K-Payment Gateway ของธนาคารกสิกรไทย
  • Merchant iPay ของธนาคารกรุงเทพ
  • Krungsri Biz Payment Gateway ของธนาคารกรุงศรี
K-Payment Gateway
Merchant iPay
Krungsri Biz Payment Gateway


2. ระบบชำระเงินผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank Payment Gateway)

Payment Gateway ลักษณะนี้จะเป็นการให้บริการจากตัวกลางอื่น (3rd Party) ที่ไม่ใช่ธนาคาร แม้จะสร้างความน่าเชื่อถือได้ไม่เท่ากับแบบแรก แต่มีจุดเด่น คือ สมัครและใช้งานง่าย, ไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน, ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี และรองรับสกุลเงินที่หลากหลาย ทำให้ Non-bank Payment Gateway ตอบโจทย์กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กค่ะ

ตัวอย่าง Non-bank Payment Gateway

  • PayPal
  • 2C2P
  • Rabbit LINE Pay


Payment Gateway แบบ Bank และ Non-Bank ต่างกันอย่างไร ?

Payment GatewayBankNon-Bank
จุดเด่นความน่าเชื่อถือสูงสมัครและใช้งานง่าย
ค่าธรรมเนียมต่อรายการต่ำไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน
ชำระเงินผ่านธนาคารโดยตรงไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
ข้อจำกัดต้องมีเงินฝากค้ำประกันความน่าเชื่อถือน้อยกว่าธนาคาร
มีค่าธรรมเนียมรายปีค่าธรรมเนียมต่อรายการค่อนข้างสูง
ชำระเงินผ่านตัวกลางก่อนเข้าธนาคาร
เหมาะกับใครบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก


แนะนำ 5 Third Party Payment Gateway ที่คนไทยนิยมใช้งาน

หลังจากที่เราทำความรู้จัก Payment Gateway กันไปแล้ว ระบบการชำระเงินที่มีธนาคารเป็นผู้ให้บริการน่าจะเป็นที่รู้จักและคุ้นหูคุ้นตาเป็นอย่างดี ดังนั้น คุณน้าจึงจะมาแนะนำ 3rd Party Payment Gateway ที่โบรกเกอร์ Forex รวมถึงร้านค้าต่างประเทศชอบใช้บริการ เผื่อเป็นทางเลือกในการใช้งานให้ทุกท่านค่ะ

1. 2C2P

2C2P

ข้อมูลทั่วไป 2C2P

2C2P เป็น Payment Gateway ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย อาจเรียกได้ว่า เป็นผู้นำระบบการชำระเงินในไทยก็ได้ค่ะ เพราะ 2C2P มีพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจมากมาย ดังนั้น ทุกท่านอาจจะคุ้นหูคุ้นตามาบ้าง ทั้งบริการหลักอย่าง 2C2P Payment Gateway หรือบริการเสริมอื่น ๆ เช่น 123 และ easyBills เป็นต้น โดย 2C2P ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ค่ะ

จุดเด่น

  • ธุรกิจขนาดใหญ่ในไทยส่วนมากใช้ Payment Gateway ของ 2C2P
  • รองรับการชำระเงินทั้งจากบัตรเดบิต/ เครดิต และ Counter Service
  • มีการใช้รหัสผ่านในการชำระเงิน ทำให้มีความปลอดภัยสูง
  • ค่าธรรมเนียมของ 2C2P อยู่ที่ 3.65%


2. PayPal

PayPal

ข้อมูลทั่วไป PayPal

PayPal เป็น Payment Gateway ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1998 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ California ผู้ให้บริการรายนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมทั้งจากผู้ใช้งานในไทยและต่างประเทศ เนื่องจากรองรับสกุลเงินที่หลากหลาย ดังนั้น ร้านค้ารวมถึงแพลตฟอร์ม e-Commerce ต่าง ๆ ที่ต้องการตีตลาดต่างประเทศจึงมักใช้บริการ PayPal ค่ะ

จุดเด่น

  • รองรับสกุลเงินต่าง ๆ มากกว่า 100 สกุล
  • เรทอัตราแลกเปลี่ยนส่วนมากจะดีกว่าธนาคารไทย
  • รองรับการชำระเงินทั้งจากบัตรเดบิต/ เครดิต และ Internet Banking
  • มีเทคโนโลยีป้องกันอาชญากรทางไซเบอร์
  • ค่าธรรมเนียมของ PayPal อยู่ที่ 4.4% หรือต่ำกว่า หากมียอดใช้งานจำนวนมาก


3. Omise

Omise

ข้อมูลทั่วไป Omise

Omise (โอมิเซะ) เป็น Payment Gateway สัญชาติญี่ปุ่นที่ก่อตั้งในปี 2013 โดยทีมผู้พัฒนาชาวไทยและญี่ปุ่น หลังจากเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2015 ก็ขยายการเข้าถึงไปทั้งเอเชียและทั่วโลก เนื่องจากนำเสนอโซลูชันแบบครบวงจร ลดปัญหาและความยุ่งยากในการชำระเงิน ทำให้ Omise กลายเป็น Payment Gateway ที่ได้รับความนิยมมากเจ้าหนึ่งค่ะ

จุดเด่น

  • ใช้งานง่าย ลดความซับซ้อนในการชำระเงิน
  • ธุรกิจขนาดใหญ่ในไทยจำนวนหนึ่งใช้ Payment Gateway ของ Omise
  • ไม่รองรับธุรกิจที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีโอกาสเกิดการฉ้อโกงสูง
  • ทำธุรกรรมรวดเร็ว
  • ค่าธรรมเนียมของ Omise อยู่ที่ 3.65% ไม่รวม VAT


4. Skrill

Skrill

ข้อมูลทั่วไป Skrill

Skrill เป็น Payment Gateway ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2001 ด้วยการชำระเงินที่สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ Skrill ได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์ทั่วโลก โดยให้บริการมากกว่า 200 ประเทศ กลายเป็นระบบธนาคารออนไลน์เพื่อการลงทุนดิจิทัลที่โบรกเกอร์ Forex ส่วนมากรองรับค่ะ

จุดเด่น

  • รองรับสกุลเงินต่าง ๆ มากกว่า 40 สกุล
  • รองรับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)
  • โบรกเกอร์ Forex ส่วนใหญ่เลือกใช้
  • ค่าธรรมเนียมของ Skrill อยู่ที่ 2.99%


5. Neteller

Neteller

ข้อมูลทั่วไป Neteller

Neteller เป็น Payment Gateway สัญชาติแคนาดาที่ก่อตั้งในปี 1999 การถือกำเนิดของ Neteller ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการชำระเงินทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลในเรื่องของความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นลูกค้าของ Neteller คือเทรดเดอร์ในตลาด Forex ค่ะ

จุดเด่น

  • รองรับสกุลเงินต่าง ๆ มากถึง 45 สกุล
  • รองรับการชำระเงินทั้งจากบัตรเดบิต/ เครดิต
  • สามารถใช้งาน Neteller ฟรี หากทำธุรกรรมทางการเงินทุก 6 เดือน
  • หากเป็นบัญชี VIP สามารถทำธุรกรรมจำนวนมากได้โดยไม่มีข้อจำกัดในการถอนเงิน
  • ค่าธรรมเนียมของ Neteller อยู่ที่ 4.99%


ข้อดีและข้อเสียของ Payment Gateway

ข้อดี

  • สะดวก, รวดเร็ว และปลอดภัย
  • การทำรายการสามารถตรวจสอบได้
  • สามารถทำรายการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • เป็นช่องทางที่มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง
  • ช่องทางที่หลากหลายจะช่วยกระตุ้นยอดขายได้
  • ใช้ในหลากหลายธุรกิจ ทั้งขนาดเล็ก, กลาง และใหญ่
  • สามารถซื้อขายสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศได้

ข้อเสีย

  • มีค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ
  • หากร้านค้าต้องการใช้บริการ จะต้องมีเงินฝากค้ำประกันสำหรับ Bank Payment Gateway

สรุป Payment Gateway

หลังจากอ่านจบแล้ว ทุกคนเริ่มเห็นถึงความสำคัญของ Payment Gateway กันหรือยังคะ? คุณน้าว่า มันมีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ เพราะมันเข้ามาเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อร้านค้ากับลูกค้าให้สามารถชำระเงินได้อย่างไร้รอยต่อ แถมเจ้า Payment Gateway ก็มีความน่าเชื่อถือสูงมาก ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้อีกด้วย 

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ธุรกิจต่าง ๆ เลือกใช้งาน Payment Gateway เป็นระบบในการชำระเงินค่ะ แล้วทุกคนคิดว่า Payment Gateway เจ้าไหนดีและตอบโจทย์ตัวเองกันบ้างคะ?


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 2 พฤษภาคม 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,325 / 2,335 / 2,350
แนวรับ : 2,310 / 2,295 / 2,280

ส่องหุ้น HYBE ค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ในเกาหลีใต้ หุ้นจะรอดหรือร่วง! หลังปมขัดแย้งกับ ADOR
ส่องหุ้น HYBE ค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ในเกาหลีใต้ หุ้นจะรอดหรือร่วง! หลังปมขัดแย้งกับ ADOR

ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับธุรกิจ HYBE ค่ายเพลงอันดับต้นในเกาหลีใต้ ให้มากยิ่งขึ้น หุ้น HYBE จะรอดหรือจะร่วง? บทความนี้มีคำตอบค่ะ!

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 29 เมษายน 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทมรนที่ 29 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,340 / 2,355 / 2,370
แนวรับ : 2,315 / 2,295 / 2,280