Hyperinflation เงินเฟ้อขั้นรุนแรง ทำไมถึงน่ากลัวสำหรับนักลงทุน ?

Hyperinflation
Table of Contents

หลายคนอาจจะพอทราบอยู่แล้วว่าประเทศของเรากำลังตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกด้วยค่ะ เพราะด้วยปัจจัยหลายอย่างจนทำให้เกิดภาวะที่ค่าเงินเท่าเดิมไม่สามารถซื้อของได้เท่าเดิมอีกต่อไป และในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาไปเป็น Hyperinflation หรือเงินเฟ้อขั้นรุนแรงอีกด้วย ว่าแต่ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงเป็นอย่างไร วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักไปพร้อม ๆ กันค่ะ 

Hyperinflation คืออะไร ? 


Hyperinflation คืออะไร ? 

สำหรับคำว่า Hyperinflation เป็นคำที่ใช้อธิบายการเพิ่มขึ้นของราคาทั่วไปอย่างรวดเร็วเกินไปค่ะ แถมยังไม่สามารถควบคุมได้ในระบบเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถวัดความเร็วของราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นได้ (อย่างที่ประเทศไทยและหลายประเทศของโลกกำลังเผชิญอยู่) แต่อัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไป ก็คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วไปจะวัดได้มากกว่า 50% ต่อเดือนค่ะ

แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อรุนแรงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็เกิดขึ้นหลายครั้งเลยค่ะ อย่างในประวัติศาสตร์นั้นก็จะมีประเทศใหญ่ ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา, จีน, เยอรมนี, รัสเซีย, ฮังการี และจอร์เจีย

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง


สาเหตุของ Hyperinflation


ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง หรือ Hyperinflation คือ สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงินและเงินเฟ้อจากอุปสงค์ค่ะ อย่างเช่น ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลของประเทศเริ่มพิมพ์เงินเพื่อใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะเหตุนี้เมื่อเพิ่มปริมาณเงิน แปลว่าราคาสินค้าและบริการก็สูงขึ้นนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ นั่นก็คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์เพิ่มขึ้นจนแซงหน้าอุปทาน ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต, การส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน หรือการใช้จ่ายภาครัฐที่มากขึ้นด้วยค่ะ

ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อรุนแรง


ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อรุนแรง Hyperinflation


เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation ) ขึ้น จะส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนค่ะ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าสินค้ามากขึ้น ผู้คนจึงเริ่มกักตุนในวันนี้เลย และเมื่อยิ่งตุนของ ก็จะยิ่งทำให้เกิดการขาดแคลนตามมาค่ะ หากภาวะเงินเฟ้อรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป ผู้คนจะกักตุนสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น ขนมปังและนม ของใช้ประจำวันเหล่านี้จะหายาก และมีราคาแพงกว่าขึ้นไปเรื่อย ๆ จนทำให้ระบบเศรษฐกิจล่มได้ในที่สุเ

(อย่างที่เราเห็นในช่วงที่โควิด-19 มาแรก ๆ ราคาแมสก์แพงมากเลยค่ะ จนปัจจุบันราคาเหลือหลักสิบเอง) 

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของเงินออมที่จะร่อยหรอลงเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้สูงอายุจึงมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Hyperinflation มากที่สุด รวมไปถึงฝั่งธนาคารและผู้ให้กู้ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะมักมีแต่ผู้มากู้เพิ่มและอาจจะจ่ายได้ไม่ตรงเวลาอีกค่ะ แถมการฝากเงินจะลดลงแน่นอน เพราะผู้คนต้องถอนเงินออกมาใช้

Hyperinflation จะส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงิน (ของประเทศที่ได้รับผลกระทบ) ให้อ่อนค่าลงไปอีก และผู้นำเข้าของประเทศอาจต้องเลิกกิจการ เนื่องจากต้นทุนสินค้าจากต่างประเทศพุ่งสูงขึ้นด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้นการว่างงานเพิ่มขึ้นแน่นอนค่ะ และในส่วนของรายได้ภาษีของรัฐบาลก็จะลดลงอีกแน่นอน เรียกได้ว่าน่ากลัวจริง ๆ ค่ะ

1.ตัวอย่าง ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) ในสหรัฐอเมริกา

ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในสหรัฐอเมริกา


มีเพียงครั้งเดียวที่สหรัฐฯ ประสบภาวะเงินเฟ้อรุนแรงค่ะ นั่นก็คือ ในช่วงสงครามกลางเมือง เมื่อรัฐบาลสมาพันธ์พิมพ์เงินเพื่อจ่ายค่าสงคราม พ.ศ. 2462 

2. ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) ต่อเนื่อง

แม้ภาวะ Hyperinflation จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่หลายคนก็ยังกังวลเรื่องนี้อยู่ดีค่ะ แล้วถ้าเกิดต้องทำอย่างไร? ควรรับมือยังไงนะ? มีวิธีที่คุณสามารถป้องกันตัวเองจากภาวะเงินเฟ้อได้ นั่นก็คือ “การวางแผนการเงินให้ดี”

คุณน้าแนะนำให้เตรียมพร้อมโดยทำให้สินทรัพย์ของคุณมีความหลากหลาย หรือเลือกลงทุนในหลายตลาด รวมไปถึงสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงหรือปลอดภัยสูงค่ะ 

สรุป 

Hyperinflation หมายถึง การเพิ่มขึ้นของราคาอย่างรวดเร็วและไม่ถูกจำกัดในระบบเศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะอยู่ที่อัตราที่เกิน 50% ในแต่ละเดือนเมื่อเวลาผ่านไป และภาวะเงินเฟ้อรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการผลิตร่วมกับธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมามากเกินไปด้วยเช่นกันค่ะ 

ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) อาจทำให้ราคาสินค้าจำเป็นพุ่งสูงขึ้น เช่น อาหาร และเชื้อเพลิง เนื่องจากอุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน แถมเป็นภาวะที่ค่อนข้างจะควบคุมได้ยากด้วย เพราะฉะนั้น อย่าลืมวางแผนทางการเงินให้ดีนะคะ เพื่อให้ปัญหาเศรษฐกิจกระทบกับเราน้อยที่สุดค่ะ ด้วยความเป็นห่วงจากคุณน้าพาเทรดค่ะ 


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post