โบรกเกอร์ Forex คืออะไร ? มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ?

โบรกเกอร์ Forex
Table of Contents

โบรกเกอร์ Forex คืออะไร?

โบรกเกอร์ Forex เป็นเสมือนนายหน้าที่ให้บริการซื้อขาย Forex โดยโบรกเกอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ที่คอยรวบรวมคำสั่งซื้อขายแล้วส่งไปยังตลาดกลางอีกที ซึ่งนักลงทุนหรือเทรดเดอร์ทุกคนหากจะทำการเทรดก็จะต้องทำการซื้อขายผ่านทางโบรกเกอร์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายโดยตรงกับตลาดกลางได้นะ โดยเทรดเดอร์อย่างเราๆ จะไม่สามารถเทรดโดยตรงกับตลาดได้ จำเป็นที่จะต้องส่งคำสั่งผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น

คุณน้าจะตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์ A ได้รับราคาคู่สกุลเงิน EUR/USD มาจากตลาดกลางที่ราคา 1.20020 แต่เมื่อเราจะกด Buy เพื่อทำการซื้อเราก็จะได้มาในราคา 1.20040 แทน เป็นต้น นั้นหมายความว่าเมื่อเรากดซื้อเราจะขาดทุนทันที 20 จุด ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนต่างของราคาขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์และประเภทบัญชีเทรดด้วย ซึ่งบางประเภทบัญชีเทรดก็อาจจะไม่มีค่าส่วนต่างของราคาแต่ต้องมาเสียค่าคอมมิชชันให้กับทางโบรกเกอร์แทน ซึ่ง โบรกเกอร์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ Non Dealing Desk (NDD) และ Dealing Desk (DD)

หลังจากรู้ความหมายของคำว่า โบรกเกอร์ Forex คืออะไรแล้ว เราจะไปดูกันว่า โบรกเกอร์มีกี่ประเภท เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ดูเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียได้จากด้านล่างนี้จ้า

โบรกเกอร์ Forex

โบรกเกอร์ Forex มี 2 ประเภท ดังนี้

1. โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD)

โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD) นี้ก็จะเป็นโบรกเกอร์ที่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้มาจับคู่กันเอง ไม่ส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลาง ซึ่งปัญหาของโบรกเกอร์ประเภทนี้คือความเสี่ยงในช่วงที่กราฟผันผวนสูงๆ จนทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นจับคู่คำสั่งซื้อกับคำสั่งขายไม่ทัน ส่งผลให้เวลาที่เราจะกด เปิด-ปิด ออเดอร์ก็มักจะมีการปฏิเสธคำสั่งซื้อขายของเราหรือเกิดรีโควตนั่นเอง อีกทั้งหากมีความผันผวนสูงมากแล้วกราฟดันวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่มีเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ซื้อ ก็อาจจะทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นเกิดการขาดทุนอย่างหนักจนอาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกฤติ SNB ในปี 2558 ที่ผ่านมาที่ทำให้โบรกเกอร์ทั่วโลกกว่า 10 แห่งนั้นต้องล้มละลายกันเลยทีเดียวน้า

  • จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าภายในโบรกเกอร์เอง โดยนำออเดอร์ของลูกค้าที่กดคำสั่ง BUY จับคู่กับลูกค้าที่กดคำสั่ง SELL
  • หากโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้าภายในโบรกเกอร์ตนเองได้ ก็จะนำคำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าไปเทรดตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริงหรือโบรกเกอร์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • รับออเดอร์จากลูกค้าโดยตรง เนื่องจากตรวจสอบดูแล้วน่าจะเป็นส่วนที่ไม่ทำกำไร โดยโบรกเกอร์รับออเดอร์ส่วนนี้ไว้เอง

ข้อดีของโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)

  • ค่า Spread ต่ำ แบบ Fixed ตายตัว
  • ค่า commission ต่ำ (บางโบรกไม่คิดก็มีนะ)
  • ค่าบริการต่างๆ ถูกกว่าปกติ

ข้อเสียของโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)

  • อาจมีการส่งคำสั่งซื้อขายที่ล้าช้า
  • ราคาที่ได้อาจไม่ใช่ราคาจริงในตลาด (คลาดเคลื่อนนิดหน่อยจ้า)
  • อาจมีการปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อ (Re-Quotes)
  • ช่วงที่มีปริมาณการเทรดมาก ช่วงมีข่าว มักมีปัญหาบ่อย ๆ
  • ในบางโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ โบรกเกอร์สามารถตกแต่งราคาเองได้ (มันเคยมีข่าว SL Hunter ด้วย)

2. โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)

โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD) ประเภทนี้จะเป็นโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางโดยตรง จะไม่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้เอง ข้อดีคือเราจะได้ซื้อขายในราคาเดียวกับตลาดกลางเลยจ้า และ ทางโบรกเกอร์เองก็จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาไปได้พอสมควรทำให้โบรกเกอร์แบบแรกนี้ก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่า อีกทั้งการส่งคำสั่งซื้อขายของเราก็จะมีความรวดเร็วมากกว่า เนื่องจากทางโบรกเกอร์นั้นส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลางโดยตรง จึงทำให้มีสภาพคล่องที่สูง

โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท ประกอบด้วย

  1. STP (Straight Through Processing System) ระบบ STP คือ การประมวลผลโดยตรง ในการจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ทำให้ได้ราคาตรงกับราคาตลาดจริงโดยระบบจะจัดเรียงลำดับ Bid กับ Ask ให้กับทางโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบ STP
  2. ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing) โบรกเกอร์ที่เป็น ECN+STP คือ การใช้ระบบที่ทำให้คำสั่งซื้อ-ขายสามารถจับคู่กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการรีโควต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่เมื่อเปิดบัญชีและป้อนคำสั่งเข้าไปแล้วระบบจะไม่เก็บข้อมูลไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งไปยังส่วนกลาง ทำให้ซื้อ-ขายได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักเทรดที่อยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว

ข้อดีของโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD)

  • จับคู่การซื้อขาย รวดเร็ว
  • ไม่ค่อยมี Re quote
  • มีความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
  • โบรกเกอร์ต้องมีการขอในอนุญาติ ใบรับรอง มีกฎระเบียนในการดำเนินการที่เคร่งครัด ทำให้สามารถไว้วางใจได้

ข้อเสียของโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD)

  • ค่า Spread สูง
  • ค่า Commission สูง
  • ค่าดูแล ค่าบริการต่างๆ อาจจะแพงกว่านิดหน่อย

ปัจจุบันโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ส่วนใหญ่ในตลาดทั่วโลก นิยมใช้ระบบแบบผสมผสานทั้งแบบ DD และ NDD โดยเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับประเภทลูกค้า เช่น หากเป็นลูกค้ารายใหญ่จะส่งเข้าสู่ตลาดโดยตรง ลูกรายย่อยเลือกจับคู่ภายในโบรกเกอร์หรือรับไว้เองจ้า

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณอา
คุณอา
Recent Post
Wiz Cyber Security บริษัทที่ Google เลือกดีล 2024
Wiz Cyber Security บริษัทที่ Google ดีล 2024

ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมาส่องธุรกิจของ Wiz Cyber Security บริษัท Start-Up ที่ Google เลือกดีล 2024 ว่าบริษัทให้บริการด้านใดบ้าง

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 24 กรกฎาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 กันค่า ปัจจัยเศรษฐกิจภาพรวม เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากว่า 13 ดอลลาร์

โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง เทรดฟรี ถอนได้ ปี 2024
5 โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง เทรดฟรี ปี 2024

อยากเทรดฟรี มีโบรกไหนแจกเงินและโบนัสฟรี เงื่อนไขดี ๆ บ้างนะ? คุณน้าจะพาไปดู 5 โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง เทรดฟรี ถอนได้แน่นอน เพียงแค่ทำตามเงื่อนไขค่ะ