พบกับวิเคราะห์ AUDUSD ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค อีกทั้งแนวทางในการเข้าออกออเดอร์ ไปจนถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการเทรดคู่เงินแบบละเอียด เรียกได้ว่าครบจบในบทความเดียว!
บทวิเคราะห์ Forex วันนี้ : คู่เงิน AUDUSD
บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน
ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากการขู่ขึ้นภาษีศุลกากรอีกครั้งจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าโลกที่อาจเกิดขึ้น โดยทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรปและเม็กซิโก 30% ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ขณะเดียวกันก็ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ ทรัมป์เสนอขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเภสัชภัณฑ์ของออสเตรเลียสูงถึง 200% ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้ส่งออกโดยตรง
ดัชนีการจ้างงานของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมิถุนายน ฟื้นตัวจากการลดลง 0.6% ในเดือนก่อนหน้า และถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ 4.1% ซึ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% โดนมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากภาษีศุลกากรของสหรัฐ Aaron Luk นักเศรษฐศาสตร์ของ ANZ ให้ความคิดเห็นว่าตลาดแรงงานที่มีความยืดหยุ่นอาจทำให้ธนาคารกลางออสเตรเลียตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป
การใช้จ่ายครัวเรือนในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤษภาคม การฟื้นตัวนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ RBA ในช่วงหลายเดือนก่อนหน้า ซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนให้เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นการซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้าและรองเท้าที่เติบโตกว่า 3.7% ทั้งนี้ ภาคครัวเรือนยังคงชะลอการใช้จ่ายเงินจำนวนมากในทีเดียว เนื่องจากความไม่นอนทางการค้ายังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รายจ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 4.2% ซึ่งถือเป็นการเติบโตเมื่อเทียบเป็นรายปีที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 5 เดือน
ดุลการค้าของออสเตรเลียลดลงเหลือ 2.24 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม ลดลงอย่างรวดเร็วจาก 4.86 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ถือเป็นดุลการค้าที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 เนื่องจากการส่งออกลดลงในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่า 3.8% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 40,160 ล้านออสเตรเลีย การเพิ่มขึ้นของการนำเข้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากการรับภาษีศุลกากรของสหรัฐเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งช่วยกระตุ้นการซื้อขายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการนำเข้าส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น 3.0% เป็น 12,980 ล้านออสเตรเลีย นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 8.6% เป็น 10,200 ล้านออสเตรเลีย โดยได้รับแรงหนุนจากเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม
ในขณะเดียวกัน การส่งออกลดลง 2.7% เหลือ 42.40 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งการลดลงนี้เกิดจากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาที่ลดลงกว่า 5.5% หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากภาษีศุลกากรที่บังคับใช้ภายใต้รัฐบาลทรัมป์ ในขณะเดียวกัน การส่งออกไปยังจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 1.9% ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินค้าทุนที่แข็งแกร่ง
PMI ภาคบริการของออสเตรเลียปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับ 51.8 ในเดือนมิถุนายน จาก 50.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเติบโตของธุรกิจภายในประเทศ ที่มีแรงหนุนหลักมากจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าอุปสงค์จากต่างประเทศจะอ่อนตัวลงในอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ตาม การจ้างงานยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง, แรงงาน และวัตถุดิบจะสูงขึ้นก็ตาม
บทวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค

AUDUSD อ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม โดยราคายังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 0.648 – 0.660 แต่อาจมีแรงขายในแนวต้านที่ 0.6583 และ 0.6591 ซึ่งเป็นระดับแนวต้านในระยะสั้น หากราคาสามารถยืนเหนือแนวต้านดังกล่าวได้อย่างมั่นคง อาจส่งสัญญาณถึงแนวโน้มขาขึ้นในระยะกลางต่อไป
เมื่อพิจารณาจาก Moving Average พบว่าราคายังคงยืนอยู่เหนือเส้น MA 50 และ MA 200 อย่างต่อเนื่อง นับเป็นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นของราคาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน RSI (Relative Strength Index) ปรับตัวลดลงมาที่ระดับ 54 ซึ่งยังไม่เข้าสู่ภาวะ Oversold แต่สะท้อนให้เห็นถึงแรงขายเพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรจับตามองข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การประกาศข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ และการประกาศข้อมูลตลาดแรงงานในออสเตรเลีย ซึ่งอาจส่งผลให้ AUDUSD เกิดความผันผวนในระยะสั้น
📍ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- แนวรับสำคัญ : 0.6549, 0.6541, 0.6528
- แนวต้านสำคัญ : 0.657, 0.6583, 0.6591
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญที่ส่งผลต่อคู่เงิน AUDUSD

ที่มา : Forexfactory

⭐ คุณน้าแนะนำโบรกเกอร์คุณสมบัติเด่น!
การเลือกโบรกเกอร์ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ สำหรับการเทรด Forex ค่ะ
เพราะโบรกเกอร์จะพัฒนาระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเทรดของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นให้ได้มากที่สุด
สำหรับเทรดเดอร์ที่ยังไม่มั่นใจว่า โบรกเกอร์ Forex แบบไหนดี?
คุณน้าได้รวบรวมการจัดอันดับของโบรกเกอร์ในทุกคุณสมบัติ เช่น สเปรดต่ำ, เทรดทอง หรือโบนัสฟรี

💡 คัมภีร์เริ่มต้น มือใหม่หัดเทรด
มือใหม่หัดเทรดที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? คุณน้าได้รวบรวมเนื้อหาสำคัญที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น สำหรับการเทรด Forex มาไว้ให้แล้วที่นี่!
🔍 ตัวอย่างเนื้อหา มือใหม่หัดเทรดต้องรู้!
สรุปวิเคราะห์ AUDUSD
จุดน่าเข้า Buy
- Buy/ Long 1 : หากมีการแตะแนวรับที่ประมาณ 0.6541 – 0.6549 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6541 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6583 และ SL ที่ประมาณ 0.6528
- Buy/ Long 2 : หากสามารถเบรกแนวต้านที่ประมาณ 0.657 – 0.6583 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6591 และ SL ที่ประมาณ 0.6541
จุดน่าเข้า Sell
- Sell/ Short 1 : หากมีการแตะแนวต้านที่ประมาณ 0.657 – 0.6583 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6583 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6541 และ SL ที่ประมาณ 0.6591
- Sell/ Short 2 : หากสามารถเบรกแนวรับที่ประมาณ 0.6541 – 0.6549 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6528 และ SL ที่ประมาณ 0.6583
คำเตือน
การให้ข้อมูลการวิเคราะห์คู่เงิน Forex ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค เป็นเพียงการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาชักชวนในการลงทุนแต่อย่างใด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจการลงทุน
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge