Trading 101 : 4 จิตวิทยาในการเทรด (Trading Psychology) เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ

Table of Contents

หลักการเทรดของแต่ละคนมีสกิลที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสกิลการใช้เครื่องมือต่าง ๆ สกิลการมองรูปแบบกราฟ หรือแม้กระทั่งสกิลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็นับว่าเป็นสกิลที่มีความสำคัญอันดับต้นในการเทรด และในอีกสกิลที่ทางคุณน้าพาเทรดอยากจะพาทุกคนมาดูอีกก็คือ สกิล “จิตวิทยาสำหรับการเทรด” เนื่องจากเรื่องของอารมณ์ก็มีความสำคัญสำหรับการเทรดเช่นกันค่ะ

จิตวิทยาการเทรด มีสำคัญต่ออย่างไร ?

จิตวิทยาในการเทรด

ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการเทรดที่เราจะไม่ใช้อารมณ์ ซึ่งถ้าหากเรานำเอาอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง คุณน้าว่าไม่ดีแน่นอนค่ะ เพราะการตัดสินใจนั้นอาจเกิดจากความไม่รอบคอบและความหุนหันพลันแล่นของเรานั่นเอง ดังนั้นคุณน้าจึงอยากแนะนำจิตวิทยาที่ใช้จัดการกับอารมณ์การเทรด เพื่อที่เราจะทำการเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการเทรดค่ะ

4 หลัก จิตวิทยาในการเทรด

ซึ่งวันนี้คุณน้าได้มี 4 หลักจิตวิทยามาให้ทุกคนได้ศึกษาหาข้อมูลกันค่ะ

จิตวิทยาในการเทรด 1: การตัดสินใจแบบฉับพลัน

เทรดเดอร์หลาย ๆ คนมักจะมีความเชื่อที่ว่า “ความไวเป็นของปีศาจ” ซึ่งตรงนี้ไม่ได้ถูกต้องและก็ไม่ได้ผิดไปทั้งหมดเลยทีเดียว แต่กว่าที่เราจะสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วนั้น เราจำเป็นที่จะต้องผ่านการฝึกฝนอารมณ์ในระดับหนึ่งก่อน อีกทั้งยังต้องมีวินัยในการยึดติดกับแผนการซื้อขายของตนเอง

คุณน้าขอแนะนำว่าช่วงแรก ๆ ควรทำบันทึกกำไรและขาดทุนการลงทุนด้วยค่ะ

จิตวิทยาในการเทรด 2: เข้าใจความกลัว

เมื่อเทรดเดอร์ได้รับข่าวร้ายหรือขาดทุนอย่างหนัก โดยมากแล้วจะมีความกลัวเกิดขึ้น ซึ่งนี่ไม่ผิดเลยเนื่องจากเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ค่ะ ซึ่งความกลัวนี้อาจทำให้เราเทขายและตระหนกไปเกินเหตุจนทำให้ผลลัพท์ออกมาแย่ ซึ่งเหตุนี้ถึงแม้ว่าเราจะไม่ขาดทุนเพิ่มแต่เราก็จะไม่ได้กำไรเพิ่มเช่นกันค่ะ

นักเทรดทุกคนควรทำความเข้าใจว่าความกลัวในที่นี้หมายถึงอะไร ความกลัวก็คือสัญชาติญาณโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งในกรณีนี้ ภัยที่คืบคลานเข้ามาก็คือการขาดทุนนั่นเอง ซึ่งเมื่อเรามีความเข้าใจกับตรงนี้ ก็จะช่วยให้เราเข้าใจจิตวิทยาในการเทรดมากขึ้น 

จิตวิทยาในการเทรด 3: โลภมาก ลาภหาย

ความโลภนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะก้าวข้ามไปได้ มันเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณมนุษย์ในการที่จะทำให้ดีกว่าเดิม ซึ่งเทรดเดอร์เองก็ควรที่จะเรียนรู้ที่จะสังเกตพฤติกรรมนี้ของตัวเองและพัฒนาแผนการเทรดอยู่บนเหตุและผล ไม่เกี่ยวกับอารมณ์ใด ๆ

จิตวิทยาในการเทรด 4: ตั้งกฎให้ชัดเจน

เทรดเดอร์จำเป็นที่จะต้องสร้างกฎไว้ให้ชัดเจนและทำให้ได้เมื่อเกิดเหตุหารณ์ไม่คาดฝันขึ้น สร้างไกด์ไลน์ไว้โดยพิจารณาจากการยอมรับความเสี่ยงและผลตอบแทนของคุณ ว่าเมื่อใดควรเข้าสู่การซื้อขายและเมื่อใดควรออกจากการซื้อขาย ตั้งเป้าหมายกำไร

การตั้งลิมิตไว้เป็นเรื่องที่เราควรทำเป็นอย่างมาก ถ้าถึงจุดที่เราพอใจกับกำไร ให้รีบขายเอาเงินก่อนเลยค่ะ และถ้าถึงจุดที่ลิมิตขาดทุนก็ควรเก็บกระเป๋ากลับบ้านได้เลยค่า ไม่ควรมีความหวังแบบลม ๆ แล้ง ๆ นะคะ

สรุป

จากที่คุณน้าได้กล่าวมาทั้ง 4 หลักจิตวิทยาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น การตัดสินใจที่ต้องผ่านการวิเคราะห์, การเข้าใจความกลัวของตัวเองจากการได้รับข่าวร้ายสำหรับการเทรด, ความโลภมากของคนเรา รวมไปถึงการตั้งกฎให้ชัดเจนค่ะ ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดทุกคนคงรู้แล้วว่าทำไมจิตวิทยาถึงมีความสำคัญกับการเทรดนะคะ หวังว่าทุกคนจะนำไปปรับใช้กับตัวเอง เพื่อที่จะทำให้เรามีโอกาสในการประสบความสำเร็จในการเทรดเพิ่มมากขึ้น


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก : Fxbrokerscam

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,610-2,590 ดอลลาร์

3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัย!
3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัยในสมัยที่ 2

คุณน้าจะพาทุกคนมาส่อง 3 สินทรัพย์น่าลงทุนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีสินทรัพย์ไหนเข้าตาบ้าง และผลกระทบของเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อให้ทุกคนสามารถปรับพอร์ตลงทุนได้อย่างทันท่วงที

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งไม่มีมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปที่บริเวณ 2,660-2,670 ดอลลาร์