Forex 101 : Leverage คืออะไร ?

Leverage คืออะไร?
Table of Contents

สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่ตลาดการเงิน โดยเฉพาะ Forex แล้วเกิดความสงสัยว่า Leverage คืออะไร? Leverage (เลเวอเรจ) หรือหากแปลตรงตัวจะหมายถึง คานงัด ซึ่งเป็นอีกเครื่องมือสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ค่ะ เพราะ Leverage จะช่วยให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการสร้างผลกำไรมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Leverage ให้ดียิ่งขึ้นกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย!

*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้คำแนะนำเท่านั้น ไม่ใช่การชักชวนลงทุนแต่อย่างใด ดังนั้น นักลงทุนโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

Leverage คืออะไร?

Leverage คืออะไรในตลาด Forex

Leverage คือ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นข้อเสนอจากโบรกเกอร์ที่ให้เทรดเดอร์ยืม สำหรับการเปิดออเดอร์ที่เพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มทุน ซึ่ง Leverage จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้เทรดเดอร์มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี การใช้ Leverage ที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการขาดทุนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจขาดทุนจนถึงขั้นโดน Stop Out* หรือพอร์ตแตกได้เลยค่ะ

โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์แต่ละรายจะให้ Leverage ที่แตกต่างกันออกไปค่ะ โดยโบรกเกอร์จะให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการให้ Leverage ตั้งแต่ 1:50 ไปจนถึงการให้ Leverage:ไม่จำกัดเลยค่ะ

📢 Tip! การโดน Stop Out* ร้ายแรงแค่ไหน?

สำหรับเทรดเดอร์คนไหนที่ใช้ Leverage และโดน Stop Out แล้วเห็นว่าพอร์ตการลงทุนนั้นติดลบ ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเติมเงินกลับไปเพื่อคืนเงินโบรกเกอร์ตามจำนวนที่ติดลบนะคะ เพราะนั่นแปลว่าเงินของคุณเหลือเพียง 0 เท่านั้นค่ะ และหากต้องการเทรดใหม่อีกครั้ง คุณก็เติมเงินเข้าไปใหม่ได้เลย เพราะจะไม่มีการหักเงินจากออเดอร์ที่ติดลบก่อนหน้าค่ะ ซึ่งโบรกเกอร์แต่ละรายจะกำหนด Stop Out ไว้ในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับนโยบายและความเสี่ยงของแต่โบรกนั่นเอง


หลักการทำงานของ Leverage เป็นอย่างไร?

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า Leverage เป็นอัตราทดที่เพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับเหล่าเทรดเดอร์ ซึ่งหลักการทำงานสำคัญของ Leverage คือ เทรดเดอร์ต้องฝากเงินขั้นต่ำในการเทรดเพื่อวางเป็นเงินหลักประกัน (Margin) กับโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้บริการ ซึ่งทางโบรกเกอร์จะอนุญาตให้คุณสามารถทำการซื้อขายในตลาดได้ตามจำนวน Margin ที่เทียบเท่ากับอัตราการให้ Leverage นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการเทรด EURUSD โดยมีเงินทุนอยู่ที่ $100,000 โดยเปิด Lot Size 1 Lot (มูลค่า $100,000)

  • Leverage 1:1 เท่ากับว่า จะต้องใช้ Margin อยู่ที่ $100,000
  • Leverage 1:10 เท่ากับว่า จะต้องใช้ Margin อยู่ที่ $10,000
  • Leverage 1:100 เท่ากับว่า จะต้องใช้ Margin อยู่ที่ $1,000


กำหนด Leverage Forex เท่าไหร่ดี?

สำหรับมือใหม่หัดเทรดคงเกิดความสงสัยว่า เราจะกำหนด Leverage เท่าไหร่ดี? คุณน้าขอบอกว่า การกำหนด Leverage สูงหรือต่ำมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันค่ะ แต่การกำหนด Leverage จะมีความสัมพันธ์กับ Lot Size นะคะ เพราะการกำหนด Leverage สูงขึ้น จะช่วยให้คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อขายใน Lot Size ที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย แต่หากกำหนด Leverage ต่ำลงจะช่วยให้คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อขายใน Lot Size ที่แคบลงนั่นเองค่ะ คุณน้าขอยกตัวอย่างการกำหนด Leverage โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เงินทุน $1,000 และใช้ Leverage 1:100 จะเท่ากับว่า สามารถเปิด Lot Size ได้เท่ากับ 1.00 (100,000 Unit)
  • เงินทุน $1,000 และใช้ Leverage 1:1000 จะเท่ากับว่า สามารถเปิด Lot Size ได้เท่ากับ 10.00 (1,000,000 Unit)
  • เงินทุน $1,000 และใช้ Leverage 1:3000 จะเท่ากับว่า สามารถเปิด Lot Size ได้เท่ากับ 30.00 (3,000,000 Unit)


ตัวอย่างการใช้ Leverage

ตัวอย่างการใช้ Leverage ในการทำกำไรของเทรดเดอร์

การเทรดโดยทั่วไปนั้น หากคุณมีเงิน 10 ดอลลาร์แล้วเทรดทั้งหมด 10 ดอลลาร์ นั่นจะแปลว่าคุณลงทุนแบบ 1:1 ซึ่งเรียกง่าย ๆ คือ ไม่ใช้ Leverage เลย แต่หากคุณใช้ Leverage อยู่ที่ 1:50 นั่นก็แปลว่า ถึงแม้คุณจะมีเงินทุน 10 ดอลลาร์ แต่ในการเทรดคุณจะสามารถซื้อขายได้ 500 ดอลลาร์นั่นเองค่ะ ($10 x 50 = $500)

ยกตัวอย่างการใช้ Leverage ในตลาด Forex

หากคุณมีเงินทุนอยู่ที่ $1,000 โดยคุณต้องการเทรด EURUSD ซึ่งใช้ Leverage อยู่ที่ 1:100 ทำให้คุณสามารถเปิด Lot Size ได้สูงสุด 1 Lot และหากคุณสามารถทำกำไรได้ 50 Pips นั่นจะเท่ากับว่าคุณได้กำไร $500 แต่หากคุณขาดทุน 50 Pips นั่นจะเท่ากับว่าพอร์ตแตกนั่นเองค่ะ

“ข้อที่ควรจำ : การเคลื่อนที่ในทุก 1 Pips จะมีค่าเท่ากับ $10 เสมอ”

📢 ข้อสังเกต : จากที่กล่าวไปข้างต้น จะแสดงให้เห็นว่า ราคาเคลื่อนไหวขึ้นไป 50 Pips จะมีค่าเท่ากับ $500 ต่อ 1 Lot ซึ่งการกำหนด Leverage ที่มากขึ้นไม่ได้มีผลต่อการทำกำไรหรือขาดทุนของคุณนะคะ เพราะการกำหนด Leverage เป็นเพียงตัวช่วยในการส่งคำสั่งซื้อขายจากการขยาย Lot ที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่คุณมีเงินทุนเท่าเดิมนั่นเองค่ะ

🔍 การตั้งเลเวอเรจ มือใหม่ตั้งเท่าไหร่ดี?

แล้วอย่างนี้เทรดเดอร์มือใหม่ควรกำหนดเลเวอเรจเท่าไหร่ดี? คุณน้าขอแนะนำว่า ควรตั้งเลเวอเรจให้เหมาะสมกับตนเองค่ะ ซึ่งการตั้ง Leverage จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่คุณรับได้ โดยเทรดเดอร์มือใหม่อาจจะลองโหลดบัญชีทดลอง (Demo) มาใช้ดูก่อนว่าตั้ง Leverage เท่าไหร่ถึงเหมาะกับคุณ


วิธีการตั้งค่า Leverage

วิธีการตั้งค่า Leverage ในบัญชีเทรด

เทรดเดอร์สามารถตั้งค่า Leverage ได้ที่บัญชีเทรดที่คุณเลือกใช้บริการได้เลยค่ะ ซึ่งแต่ละบัญชีเทรดจะมีการกำหนด Leverage สูงสุดแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโบรกเกอร์กำหนด ยกตัวอย่างเช่น ทางโบรกเกอร์ IUX มีทั้งหมด 4 ประเภทบัญชี โดยในบัญชี Standard, Raw และ Pro ให้ Leverage สูงสุดอยู่ที่ 1:3000 ในขณะที่บัญชี Standard+ ให้ Leverage อยู่ที่ 1:1000 ซึ่งเทรดเดอร์สามารถทดลองเปิดบัญชีกับ IUX ได้เลยค่ะ

โบรกเกอร์แนะนำจากคุณน้า

ประเภทบัญชี : Standard, Standard+, Raw และ Pro
ฝากขั้นต่ำ : $10
Free Swap : ใช่

โบรกเกอร์ IUX

ข้อดี-ข้อเสียจากการใช้ Leverage

ข้อดี

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของคุณ
  • เพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มอำนาจการซื้อขายใน Lot Size ได้มากขึ้น

ข้อเสีย

  • การใช้ Leverage มากจนเกินไปก็มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะทำให้ขาดทุนได้อย่างรวดเร็ว
  • การใช้ Leverage มากขึ้น อาจทำให้มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Leverage

การใช้ Leverage คืออะไร?

การใช้ Leverage คือ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นข้อเสนอจากโบรกเกอร์ให้เทรดเดอร์ยืม เพื่อทำการเปิดออเดอร์ในจำนวนเงินทุนที่มี แต่ก็สามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น

Leverage 1:100 คืออะไร?

Leverage 1:100 คือ การเพิ่มอำนาจในการซื้อขายได้ 100 เท่าจากจำนวนเงินทุนที่มี เช่น เทรดเดอร์มีเงินทุน $10 นั่นหมายความว่า เทรดเดอร์จะสามารถซื้อขายได้สูงถึง $1,000

Leverage 1:1000 คืออะไร?

Leverage 1:1000 คือ การเพิ่มอำนาจในการซื้อขายได้ 1000 เท่าจากจำนวนเงินทุนที่มี เช่น เทรดเดอร์มีเงินทุน $10 นั่นหมายความว่า เทรดเดอร์จะสามารถซื้อขายได้สูงถึง $10,000


สรุป Leverage

ทั้งหมดนี้ก็คือ Leverage เครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มอำนาจในการซื้อขายให้เทรดเดอร์นั่นเองค่ะ อย่างไรก็ดี การใช้ Leverage ที่มากเกินไปก็อาจจะทำให้คุณมีโอกาสในการขาดทุนได้เช่นเดียวกันนะคะ ดังนั้น อย่าลืมตั้งจุดตัดกำไร (Take Profit) และจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดให้ดียิ่งขึ้น ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post