Commodity 101 : OPEC และ OPEC + คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรจับตามอง ?

OPEC คืออะไร
Table of Contents

ตลาดน้ำมันเป็นตลาดที่หลายคนจับตามอง เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบันได้ ราคาน้ำมันส่งผลต่อคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานหรือนักลงทุน รวมไปถึงเทรดเดอร์ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน ในบทความนี้คุณน้าจะพูดถึงปัจจัยใหญ่ที่ส่งผลโดยตรงต่อราคาน้ำมัน นั่นก็คือ การประชุม OPEC และ OPEC+ ค่ะ การประชุม OPEC มีเป้าหมายเพื่อการเจรจาและประสานเกี่ยวกับอุปสงค์ของน้ำมัน ทำให้การประชุม OPEC สามารถก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดราคาน้ำมันได้ค่ะ

OPEC คืออะไร ?


OPEC คืออะไร

OPEC หรือที่คนไทยเรียกกันโดยทั่วไปว่าโอเปก มีชื่อเต็มในภาษาอังกฤษคือ Organization of the Petroleum Exporting Countries ซึ่ง OPEC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2503 มีประเทศก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ ซาอุดิอาระเบีย, อิรัก, อิหร่าน, คูเวต และเวเนซุเอลา

OPEC แปลตรงตัวเลยก็คือ “องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก” เป็นองค์การนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นความร่วมมือในด้านนโยบายเกี่ยวกับน้ำมัน รวมทั้งเพื่อรักษาระดับมาตรฐานราคาน้ำมันเพื่อให้มีความเป็นธรรม ทั้งยังช่วยส่งเสริมด้านเทคนิคเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ คือ

  • อัลจีเรีย
  • แองโกล่า
  • คองโก
  • อิเควทอเรียลกินี
  • กาบอง
  • อิหร่าน
  • อิรัก
  • คูเวต
  • ลิเบีย
  • ไนจีเรีย
  • ซาอุดิ อาระเบีย
  • สหรัฐอาหรับอิมิเรต
  • เวเนซูเอล่า

OPEC มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบันถือน้ำมันดิบสำรองมากกว่า 70% ส่วนผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่ไม่เข้าร่วม OPEC เช่น สหรัฐอเมริกากับจีน เป็นต้น


OPEC+ คืออะไร ?

OPEC+ คืออะไร ?


OPEC Plus หรือ OPEC+ คือกลุ่มประเทศที่มีการผลิตและส่งออกน้ำมันด้วยเหมือนกันค่ะ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ โดยจะมี 13 ประเทศที่เป็นสมาชิก OPEC และไม่ใช่สมาชิก OPEC อีก 10 ประเทศ ดังนี้

  • อาเซอร์ไบจาน
  • บาห์เรน
  • บรูไน
  • คาซัคสถาน
  • มาเลเซีย
  • เม็กซิโก
  • โอมาน
  • รัสเซีย
  • ซูดานใต้
  • ซูดาน

ทำไม OPEC Plus ถึงถือว่ามีอิทธิพลมากกว่า OPEC ?

OPEC plus คือ

สมาชิกทั้ง 13 นั้นควบคุม 35% ของอุปทานน้ำมันทั่วโลก นอกเหนือจาก 82 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วการเพิ่ม 10 ประเทศนอกกลุ่มโอเปกเป็น OPEC+ เข้ามาซึ่งรวมถึงประเทศสำคัญต่างๆ เช่น รัสเซีย เม็กซิโก และคาซัคสถาน สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55 และร้อยละ 90 ตามลำดับ สิ่งนี้ทำให้ OPEC+ มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ โลกในระดับที่มากกว่าประเทศในกลุ่ม OPEC

วัตถุประสงค์การก่อตั้ง OPEC

วัตถุประสงค์การก่อตั้ง OPEC


1. การรักษามาตรฐานราคาน้ำมัน เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนที่สูงมากเกินไป

2. การประสานงานและการรวมนโยบายของประเทศสมาชิกเพื่อแสดงความคิดเห็น ให้รักษาอุปทานของน้ำมันเพื่อประสิทธิภาพของตลาดน้ำมัน

สรุป

OPEC เป็นองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก เพื่อรักษาระดับมาตรฐานของราคาน้ำมัน ส่วน OPEC+ เป็นการเพิ่มประเทศนอกเหนือจากกลุ่ม OPEC เข้ามา ทำให้มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งการประชุมโอเปกช่วยรักษาราคาน้ำมันมาตรฐานรวมถึงการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศสมาชิกค่ะ อีกทั้งยังส่งผลให้ราคาน้ำมันมีความผันผวน ดังนั้นเราซึ่งต้องใช้น้ำมันเดินทางในชีวิตประจำวัน การติดตามการประชุมโอเปกก็เป็นการอัปเดตความรู้ไปในตัวค่ะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : คลิกที่นี่

คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์โดยตรง

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 18 เมษายน 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,380 / 2400 / 2,430
แนวรับ : 2,365 / 2,345 / 2,325

รีวิว NordFX
NordFX ฝากขั้นต่ำสูง ถอนยาก ? รีวิวฉบับอัปเดตปี 2024

โบรกเกอร์ที่คุณน้าจะพาไปทำความรู้จักในวันนี้ก็คือ ‘โบรกเกอร์ NordFX’ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อหรือบางคนอาจจะได้ยินชื่อผ่านหูมาบ้าง ดังนั้น หากใครที่กำลังสนใจโบรกเกอร์นี้อยู่ คุณน้าขอบอกว่าห้ามพลาดบทความนี้เลยนะคะ เพราะคุณน้าได้เตรียมข้อมูลมาให้คุณพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสีย รวมทั้งรีวิวจากผู้ใช้จริงมาไว้ในท้ายบทความให้แล้วค่ะ

รีวิว LIRUNEX
Lirunex บริการไม่ดี สเปรดสูง ? รีวิวฉบับอัปเดตปี 2024

โบรกเกอร์ที่คุณน้าจะพาไปทำความรู้จักในวันนี้ก็คือ ‘โบรกเกอร์ Lirunex’ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อหรือบางคนอาจจะได้ยินชื่อผ่านหูมาบ้าง ดังนั้น หากใครที่กำลังสนใจโบรกเกอร์นี้อยู่ คุณน้าขอบอกว่าห้ามพลาดบทความนี้เลยนะคะ เพราะคุณน้าได้เตรียมข้อมูลมาให้คุณพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสีย รวมทั้งรีวิวจากผู้ใช้จริงมาไว้ในท้ายบทความให้แล้วค่ะ