ลงทุนหุ้นควรรู้ ROA คืออะไร ? เกณฑ์การเลือกหุ้นที่น่าสนใจเข้าพอร์ต

ลงทุนหุ้นควรรู้ ROA คืออะไร ? เกณฑ์การเลือกหุ้นที่น่าสนใจเข้าพอร์ต
Table of Contents

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หุ้นตัวไหนน่าลงทุน แล้วหุ้นตัวไหนน่าซื้อเก็บไว้? ทุกคนมีเกณฑ์ในการเลือกหุ้นยังไงกันบ้างคะ? ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จัก ROA อัตราส่วนทางการเงินที่ช่วยให้เราสามารถเลือกซื้อหุ้นได้ง่ายขึ้นค่ะ มันคืออะไร, มีความสำคัญอย่างไร, หาได้จากที่ไหน และมีข้อจำกัดหรือไม่ ไปติดตามพร้อมกันค่ะ!

ROA คืออะไร?

ROA ย่อมาจาก Return On Asset คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ โดยการนำสินทรัพย์ทั้งหมดและกำไรสุทธิมาประเมินความสามารถในการทำกำไรโดยรวมของบริษัทหนึ่ง ๆ ค่ะ หากพูดง่าย ๆ ก็คือ การหาว่าบริษัทหนึ่ง ๆ จะสามารถนำสินทรัพย์ทั้งหมดของตัวเองไปต่อยอดเพื่อทำกำไรได้เท่าไหร่นั่นเองค่ะ

โดยค่า ROA จะถูกคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความแตกต่างกัน เพราะมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ, การสร้างรายได้ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันค่ะ

ROA คืออะไร

สูตรวิธีการคำนวณ ROA คิดยังไง?

ในการจะหาค่า ROA มีสูตรวิธีการคำนวณ 2 แบบ ดังนี้ค่ะ

สูตรวิธีการคำนวณ ROA ที่ 1
ROA = (รายได้สุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100

สูตรวิธีการคำนวณ ROA ที่ 2
ROA = (รายได้สุทธิ / สินทรัพย์เฉลี่ยรวม)

โดยตัวแปรแต่ละตัว คือ

  • รายได้สุทธิ (Net Income) คือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว
  • สินทรัพย์รวม (Total Assets) คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าและสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดทั้งหมดของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ก็ตาม โดยสามารถคำนวณสินทรัพย์รวมของบริษัทได้จากรายการในงบดุล ซึ่งจะมีการเปิดเผยผ่านงบการเงินในแต่ละงวดค่ะ 

สูตรในการคำนวณสินทรัพย์รวมของบริษัท 

สินทรัพย์รวม (Total Assets) = หนี้สินทั้งหมด (Total Liabilities) + ส่วนของเจ้าของ (Shareholders Equity) + (รายได้สุทธิ) – งวด

สูตรในการคำนวณสินทรัพย์เฉลี่ยรวมของบริษัท

สินทรัพย์เฉลี่ยรวม (Average Asset) = (สินทรัพย์ต้นงวด + สินทรัพย์ปลายงวด) / 2

ตัวอย่างการคำนวณ ROA

ตัวอย่างเช่น หุ้นของบริษัท A มีงบการเงินที่ชี้ให้เห็นว่า สินทรัพย์รวมของบริษัทมีทั้งหมด 2,300 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิในปีดังกล่าว อยู่ที่ 145 ล้านบาท ดังนั้น หากต้องการคำนวณ ROA ของหุ้น A จะได้ดังนี้ค่ะ

ROA = (รายได้สุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100

หากใช้สูตรในการคำนวณดังกล่าว ROA จะเท่ากับ (145 ล้านบาท / 2,300 ล้านบาท) x 100 = 6.3%

จากผลลัพธ์แสดงว่า หุ้นบริษัท A จะมีค่า ROA อยู่ที่ 6.3% ซึ่งหมายความว่า บริษัทดังกล่าวมีความสามารถในการสร้างรายได้และบริหารเงินอยู่ค่ะ

ROA เท่าไหร่ถึงจะดี?

ROA จะถูกคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาผลลัพธ์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเลข ROA เท่าไหร่ถึงจะดีนะ เรามาดูกันค่ะ

ROA สูง

หากตัวเลข ROA สูง (ROA > 0) แสดงว่า บริษัทนั้นมีความสามารถในการทำกำไรสูง การบริหารจัดการเงินและผลประกอบการเป็นไปได้ด้วยดี ดังนั้น จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการเข้าไปลงทุน

ROA ต่ำ

หากตัวเลข ROA ต่ำ (ROA < 0) แสดงว่า บริษัทนั้นมีความสามารถในการทำกำไรต่ำ การบริหารจัดการเงินและผลประกอบการยังไม่ดีพอ ดังนั้น จึงอาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีนักในการเข้าไปลงทุนกับบริษัทดังกล่าวค่ะ

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้!

หากทุกคนเห็นตัวเลขต่าง ๆ แล้วท้อแท้หรือยอมแพ้ คุณน้าขอร้องว่าอย่าเพิ่งค่ะ เพราะความจริงแล้วเราสามารถหาค่า ROA ได้ง่าย ๆ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ที่มีการสรุปให้ตั้งแต่สินทรัพย์รวม, หนี้สิน, กำไร, รายได้สุทธิ ตลอดจนค่า ROA หรือแม้แต่อัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ด้วยเช่นกันค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 เข้าไปที่เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้

ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาชื่อหุ้นที่สนใจใน “ช่องค้นหาหลักทรัพย์, ข่าว, เนื้อหา”

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้
ในตัวอย่าง คุณน้าลองค้นหาหุ้น SIRI ของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) ค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 กดเลือก “งบการเงิน” เพื่อดูข้อมูล

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้น เราก็รู้ตัวเลข ROA รวมถึงตัวเลขสำคัญทางการเงินอื่น ๆ ของแต่ละบริษัทแล้วค่ะ แถมยังมีย้อนหลัง 4 ปี ให้เปรียบเทียบด้วย สะดวกและง่ายมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ? เพราะฉะนั้น อย่าลืมดูงบการเงินก่อนซื้อขายหุ้นกันด้วยนะคะ!

ประโยชน์และข้อจำกัดของ ROA

โดยสรุปแล้ว ROA มีประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้งาน ดังนี้ค่ะ

ประโยชน์

  • ประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ ว่า มีการบริหารจัดการเงินอย่างไร สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทได้มากน้อยแค่ไหน
  • ประเมินสินทรัพย์ที่บริษัทนั้น ๆ ถือครองอยู่ว่า มีจำนวนมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • ประเมินความสามารถในการทำกำไรของบริษัทนั้น ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อหาตัวเลือกที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจในการลงทุน

ข้อจำกัด

  • ไม่สามารถนำไปเทียบนอกกลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้ เพราะสินทรัพย์รวมและแนวทางการหารายได้แตกต่างกัน
  • สูตรในการคำนวณมีข้อจำกัด เพราะมีการนับรวมถึงหนี้สินภายในด้วย

สรุป ROA คืออะไร

ROA ถือเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่มีความน่าสนใจมากเลยใช่ไหมล่ะคะ? เพราะมันทำให้เราสามารถประเมินได้ว่า หุ้นตัวนี้น่าลงทุนหรือไม่ แถมยังทำให้เราเห็นถึงศักยภาพในการบริหารงานและเงินของบริษัทนั้น ๆ ได้ด้วย เนื่องจากแต่ละบริษัทมีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น การหาค่า ROA จึงสามารถช่วยให้เรารู้ว่า บริษัทไหนกันแน่ที่มีความสามารถในการต่อยอดเพื่อสร้างเงิน เหมาะที่จะลงทุนและฝากฝังเงินของเราไว้ด้วยนั่นเองค่ะ และแม้ทุกคนจะไม่เก่งคำนวณแต่ก็ยังสามารถดูค่า ROA รวมถึงงบการเงินได้ง่าย ๆ จากช่องทางที่คุณน้าได้สอนไปค่ะ

อย่างไรก็ดี ความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุน ดังนั้น อย่าลืมศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนทักษะเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนกันด้วยนะคะ วิธีที่คุณน้านำมาเสนอครั้งนี้ง่ายมาก ๆ ด้วย หวังว่าเมื่ออ่านจบแล้ว ทุกคนจะสามารถเลือกหุ้นดี ๆ ที่น่าลงทุนได้ด้วยตัวเองค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Mtrading และหลักทรัพย์บัวหลวง

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
Moving Average คืออะไร? Indicator ตัวดังของเหล่าเทรดเดอร์สายเทคนิค
Moving Average คืออะไร? Indicator ตัวดังของเหล่าเทรดเดอร์สายเทคนิค ห้ามพลาด!

ในวันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่ได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Moving Average (MA)

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 9 พฤษภาคม 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,320 / 2,325 / 2,345
แนวรับ : 2,307 / 2,290 / 2,275

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 2 พฤษภาคม 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,325 / 2,335 / 2,350
แนวรับ : 2,310 / 2,295 / 2,280