Market Sentiment คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ

Sentiment ของตลาดคืออะไร
Table of Contents

สำหรับโลกแห่งการลงทุนของเรา คงปฏิเสธไม่ได้กันนะคะว่า มีหลายเหตุผลและปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาแต่ละตราสาร ไม่ว่าจะเป็น นโยบายทางการเงิน, ข่าว, เศรษฐกิจ รวมไปถึงด้านการเมือง และการนำเข้าส่งออก วันนี้คุณน้าอยากจะพาทุกคนมารู้จักอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อราคาตราสารในทุกตลาดได้ นั่นก็คือ Market Sentiment นั่นเองค่ะ

ว่าแต่เจ้า Market Sentiment นี้คืออะไร ? มีผลอย่างไรต่อตลาดการลงทุน ? เราควรจะให้ความสนใจกับ Market Sentiment มากน้อยแค่ไหน ? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

คุณน้าพาหาคำตอบเรื่อง Sentiment ของตลาด

คำนิยามของคำว่า Sentiment

ในบริบทของตลาดการลงทุนนั้น “Sentiment” หมายถึงแนวทางความคิด และความรู้สึกของนักลงทุนในตลาด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหรือขายสินทรัพย์ทางการเงินค่ะ เป็นความรู้สึกหรืออารมณ์โดยรวมที่นักลงทุนและเทรดเดอร์มีต่อตลาดนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นตราสารบางอย่าง ซึ่งก็จะมีมุมมองแตกต่างออกไป

Market Sentiment สามารถบ่งบอกได้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มองทิศทางตลาดไปในเทรนด์ใด

เชื่อว่าตลาดอยู่ในภาวะขาขึ้น : หากราคาไปในแนวโน้มขาขึ้น นั่นแปลว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนที่มีทัศนคติเชิงบวกคาดว่าราคาจะสูงขึ้นตามค่ะ (อย่างในตลาดหุ้น เป็นต้น)

เชื่อว่าตลาดอยู่ในภาวะน่ากังวล : สิ่งนี้จะสะท้อนถึงความกังวลในตลาดค่ะ เพราะหากขาดความเชื่อมั่น อาจทำให้ตราสารราคาลดลงก็ได้เช่นกัน (แต่เมื่อตลาดมีความกังวล ส่วนใหญ่สินทรัพย์ปลอดภัยจะราคาขึ้นนะคะ)

ตลาดยังหาทิศทางไม่ได้ : ในกรณีนี้ เราจะเห็นได้เลยว่ากราฟจะไหลในแบบ Sideway ที่ค่อนข้างจะอึดอัดหัวใจสำหรับเทรดเดอร์หน่อย ๆ เพราะราคาจะวิ่งน้อยมาก ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า Sentiment ของตลาดจะยังคงหาทิศทางไปไม่ได้ ซึ่งอาจกำลังรอข้อมูลเพิ่มเติมหรือสัญญาณที่ชัดเจนก่อน (อย่างเช่น ข่าว นั่นเอง) ที่จะตัดสินใจว่าตลาดไปในเทรนด์ไหนค่ะ

Market Sentiment คือ

เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์มักจะใช้เครื่องมือและตัวบ่งชี้ต่าง ๆ เพื่อวัดความเชื่อมั่นของตลาด เช่น แบบสำรวจ, ดัชนีความเชื่อมั่น, ข้อมูลการซื้อขาย Options และการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาช่วยเพื่อตัดสินใจว่า ทิศทางตลาดควรเป็นยังไง

*คำเตือน : ความเชื่อมั่นของตลาด หรือ Market Sentiment อาจไม่แน่นอนและผันผวนค่อนข้างมาก ซึ่งบางครั้งก็นำไปสู่ความสวิงของกราฟราคา ดังนั้น เทรดเดอร์อย่าลืมตั้ง TP และ SL อยู่เสมอนะคะ

แล้วปกติ Market Sentiment มีผลมากน้อยแค่ไหน

ต้องบอกเลยค่ะว่า ปกติแล้วเราก็มักจะเจอกับ Market Sentiment อยู่แล้ว เพราะเมื่อมีปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารใด ๆ เข้ามา ตลาดก็มักจะมองไปในทิศทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่

แต่สิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์พึงระวัง Market Sentiment ไว้ให้ดีก็คือ วันที่ไม่มีข่าวสำคัญ

ทำไมวันที่ไม่มีข่าวสำคัญเราควรระวัง Market Sentiment เป็นพิเศษ ?

เหตุผลที่ Market Sentiment จะมีผลมากในวันที่ไม่มีข่าว นั่นก็เป็นเพราะว่าเราต้องมาเดาทิศทางอารมณ์ของตลาดด้วยตัวเอง โดยที่ไม่มีข่าวชี้นำนั่นเองค่ะ

เราคงจะพอเห็นภาพว่า โดยปกติหากตัวเลขว่างงานออกมาสูง นั่นแปลว่าเศรษฐกิจอาจจะย่ำแย่กว่าเดิมเพราะมีคนว่างงานมากขึ้นใช่มั้ยล่ะคะ นั่นแปลว่าสินทรัพย์ปลอดภัยอาจจะมั่นคงกว่าในแง่ของการลงทุน ซึ่งก็จะทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างของการที่เรามองทิศทางจากข่าวและเศรษฐกิจค่ะ

ลองนึกภาพช่วงหรือวันที่ไม่มีข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นสิคะ นั่นแปลว่าเราไม่มีปัจจัยสำคัญชี้นำ และเราต้องมาเดาอารมณ์หรือความคิดของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดล้วน ๆ เลย

เหตุการณ์ควรระวังสำหรับ Market Sentiment

Market Sentiment คือ

การเทขายเพราะความกังวลของตลาด หรือ Panic Sell

หมายถึงสถานการณ์ที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเกิดความกลัวและทัศนคติเชิงลบเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้น ๆ ค่ะ พฤติกรรมนี้ได้รับแรงผลักดันจากความเชื่อที่ว่าตลาดกำลังมุ่งหน้าไปสู่การลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือมูลค่าของสินทรัพย์กำลังจะดิ่งลงนั่นเอง การขายแบบตื่นตระหนกมักเกิดจากเหตุการณ์ที่ผิดคาด จนทำให้สินทรัพย์ที่เราถืออยู่นั้นดูไม่มีความน่าเชื่อถือ และต้องรีบเทขายเพื่อทำกำไร จนราคาลดต่ำลงค่ะ

การเข้าซื้อเพราะมีอุปทานสูง หรือ Serious Buy

คำนี้หมายถึงสถานการณ์ที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนแสดงพฤติกรรมการซื้ออย่างรุนแรงเพราะว่ามั่นใจในสินทรัพย์นั้น ๆ ค่ะ ซึ่งก็เกิดจากความเชื่อว่า ตลาดหรือสินทรัพย์เฉพาะเจาะจงถูกประเมินต่ำเกินไปหรือเป็นโอกาสที่น่าสนใจในการรีบเข้าซื้อ เพราะราคาจะขึ้นสูงกว่านี้แน่นอน เราเลยเห็นแท่งสีเขียวยาว 8 เมตรอยู่เป็นประจำในช่วง Serious Buy ค่ะ

Market Sentiment มีในทุกตลาด

Market Sentiment มีในทุกตลาดเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

ตลาดหุ้น : Market Sentiment เป็นปัจจัยสำคัญในตลาดหุ้นเลยค่ะ ซึ่งเทรดเดอร์และนักลงทุนจะตัดสินใจโดยพิจารณาจากแนวโน้มหุ้นรายตัว, ภาคส่วน หรือตลาดโดยรวม ข่าวเชิงบวก รายงานผลประกอบการ เป็นต้น

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ : สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ, น้ำมัน และสินค้าเกษตรก็ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อมั่นของตลาดเช่นกัน ปัจจัยต่าง ๆ เช่น พลวัตของอุปสงค์และอุปทาน, เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ก็เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ตลาดส่วนใหญ่จะเอนเอียงตามค่ะ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ : ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ Sentiment ของตลาด มีอิทธิพลต่อราคาและอุปสงค์ของอสังหาริมทรัพย์ได้ อย่างเช่นความเชื่อมั่นในโครงการ หรืออสังหานั้น ๆ นั่นเองค่ะ ถ้าหากมีความเชื่อมั่นสูง แน่นอนว่าราคาก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ตลาดสกุลเงินดิจิทัล : ตลาดสกุลเงินดิจิทัลได้รับอิทธิพลจาก Sentiment ของตลาดค่อนข้างมากค่ะ เพราะเป็นตลาดที่มีปัจจัยต่อราคาแบบไม่แน่นอนมาก ๆ (บางทีก็ขึ้นอยู่กับบุคคลทรงอิทธิพลก็มี อย่าง Elon Musk)

ตลาด Forex : หนึ่งในไฮไลต์ของตลาดเลยค่ะ เพราะว่า Forex เป็นอีกหนึ่งตลาดที่ Market Sentiment มีผลมาก อย่างที่เรารู้กันว่า ตลาด Forex เป็นตลาดที่ไหลตามข่าวค่อนข้างมาก และวันไหนที่เป็นวันที่ธนาคารหยุดทำการ หรือไม่ค่อยมีข่าวสำคัญ ก็จะทำให้ตลาดอิงตาม Sentiment ส่วนใหญ่ของนักลงทุนค่ะ

ตลาดตราสารหนี้ : แม้แต่ในตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนมักให้ความสำคัญกับผลตอบแทนและความเสี่ยงมากกว่า Sentiment ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย, ความคาดหวังทางเศรษฐกิจ และการรับรู้ความน่าเชื่อถือทางเครดิตสามารถส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาดตราสารหนี้ได้เหมือนกัน

สรุป

คุณน้าต้องขอบอกเลยว่า Market Sentiment เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนควรรู้จักไว้และไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะสามารถกำหนดทิศทางราคาหรือตลาดได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นเทรนด์ใหญ่หรือเทรนด์เล็กก็ได้

และ Market Sentiment จะมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในวันที่ไม่มีข่าวหรือปัจจัยสำคัญชี้นำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสวิงของราคาขึ้นได้ ทุกคนอย่าลืมกำหนดจุด TP และ SL ในการเปิดออเดอร์อยู่เสมอนะคะ

คุณน้าพาเทรด

ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
ส่องเทรนด์ Pop Mart คืออะไร ลงทุนหุ้นของเล่น Art toy น่าสนใจปี 2024
ส่องเทรนด์ Pop Mart คืออะไร ลงทุนหุ้นของเล่น Art toy น่าสนใจปี 2024

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า “กล่องสุ่ม” “Art toy” หรือ “Pop Mart” กระแสที่กำลังในประเทศไทย วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จักกับเทรนด์กล่องสุ่มของ Pop Mart ค่ะ

กองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? ปี 2024
กองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? ผลตอบแทนสูง ปี 2024

คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับกองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับกองทุนประเภทนี้ดียิ่งขึ้น