ตลาด Forex หรือตลาดการแลกเปลี่ยนสกุลเงินนั้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาและได้รับความนิยมจากนักเทรดทั่วโลก ทำให้ตลาดนี้มีมูลค่าสูงมาก เรียกได้ว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้
แล้วปัจจัยอะไรบ้างนะ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อตลาด Forex จนเกิดการปรับตัวขึ้นลงและการผันผวนของค่าเงินได้ เพื่อที่ใช้เป็นตัวชี้วัดและใช้ในการศึกษาหากเราต้องการที่จะเทรดในตลาด Forex
วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับปัจจัยต่าง ๆ กันดูค่ะ
1. อัตราดอกเบี้ย
หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น การถือครองสกุลเงินของประเทศนั้นจะทำให้การจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้เกิดโอกาสในการเติบโตผลกำไรมากขึ้น จึงทำให้เทรดเดอร์มักเข้ามาซื้อสกุลเงินนั้น ๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพราะมีแนวโน้มที่สกุลเงินนั้นจะแข็งค่าขึ้น
ในทางกลับกันหากอัตราลดลง โอกาสในการทำกำไรจะลดลงและสกุลเงินก็ถือว่ามีค่าน้อยกว่า ทำให้ผู้คนพยายามขายมันออกไปแทนค่ะ
2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจที่มั่นคงถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่ำและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ความต้องการนี้จะเพิ่มราคาของสกุลเงินทำให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
แต่ในทางตรงกันข้าม เศรษฐกิจที่อ่อนแอทำให้นักลงทุนสูญเสียความมั่นใจและจะเกิดการถอนการลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้สกุลเงินอ่อนค่าลง
3. ดัชนีถ่วงน้ำหนักการค้า
ดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนที่ถ่วงน้ำหนักตามการค้า (ตัวย่อTWI) คือดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนพหุภาคี ที่รวบรวมค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศหลักเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ โดยน้ำหนักสำหรับต่างประเทศแต่ละประเทศเท่ากับส่วนแบ่งในการค้า
เมื่อการส่งออกมีมากกว่าการนำเข้า จะเรียกกันว่า ‘การเกินดุลการค้า’ ซึ่งทำให้เสถียรภาพของเศรษฐกิจประเทศดังกล่าวแข็งแกร่งขึ้น มูลค่าสกุลเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคต่างชาติซื้อสกุลเงินเพื่อซื้อสินค้าส่งออกนั่นเอง
แต่ในทางกลับกัน เมื่อการนำเข้ามากกว่าการส่งออก เศรษฐกิจจะประสบกับภาวะ ‘การขาดดุลการค้า’ ทำให้ประเทศต้องขายสกุลเงินของตนเองเพื่อซื้อสินค้านำเข้าซึ่งส่งผลให้มูลค่าสกุลเงินลดลง
4. เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นบนโลก
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์, หรือการเมือง, วิกฤต รวมไปถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ล้วนส่งผลต่อความแข็งแกร่งของสกุลเงิน โดยพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อความมั่นคงของประเทศแต่ละประเทศที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
เหตุการณ์เชิงบวกสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติด้วยการเพิ่มขึ้นของเงินทุนต่างประเทศทำให้มูลค่าของสกุลเงินเพิ่มขึ้น ประเทศที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤตอาจนำไปสู่การสูญเสียความมั่นใจและจนส่งผลให้ค่าเงินอ่อนตัวลง