ทำไม “งบการเงิน” ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

ทำไม "งบการเงิน" ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน
Table of Contents

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปีแล้ว หลาย ๆ คนอาจคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากหุ้นของบริษัทที่ลงทุนไป ซึ่งก็ต้องมีทั้งที่ดีใจและเสียใจเป็นธรรมดาค่ะ แต่ก็อย่าลืมกันนะคะว่า ในช่วงต้นปีหน้า งบการเงินจะทยอยออกมาให้เราได้เชยชมกันแล้ว และสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า “งบการเงิน” คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อนักลงทุน? วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันค่ะ


งบการเงิน คืออะไร ?

งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินและบัญชีที่มีแบบแผน ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานรัฐบาล นักบัญชี บริษัท และภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อแสดงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการนั้น ๆ ในแต่ละรอบบัญชี

หากให้อธิบายง่าย ๆ งบการเงินก็เหมือน Statement ของบัญชีธนาคารที่เราใช้เพื่อบอกถึงฐานะของคนที่ถือ รายรับ รายจ่าย ตลอดจนการบริหารจัดการเงินในบัญชี ซึ่งทำให้เรารู้ถึงนิสัยใจคอของคน ๆ นั้น 

เช่น เขามีรายรับเข้ามาจากทางไหนบ้าง แล้วนำเงินนั้นไปต่อยอดอย่างไร สิ่งที่นำไปต่อยอดมีผลตอบแทนดีหรือไม่ หรือเขาสร้างแต่หนี้สิน? ทั้งหมดนี้จะทำให้เราคาดการณ์การบริหารเงินในอนาคตของคน ๆ นั้นได้นั่นเองค่ะ


ทำไม "งบการเงิน" ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

องค์ประกอบของงบการเงิน

กว่าจะมาเป็นงบการเงินที่สรุปภาพรวมทั้งหมดให้ทุกคนเข้าใจได้ แน่นอนว่า มันต้องมีหลายองค์ประกอบค่ะ โดยจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

1) งบดุล

งบดุลจะทำหน้าที่ในการแสดงฐานะทางการเงินของบริษัท ณ วันสิ้นงวดบัญชี ประกอบด้วยสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งหากจะให้พูดเข้าใจง่าย ๆ มันก็คือ “สินทรัพย์ทุกอย่างที่เรามี” แบบแยกส่วน ทั้งที่เป็นส่วนของเรา ผู้ร่วมลงทุน และส่วนที่ยังชำระหนี้หรือยังผ่อนไม่หมดค่ะ

2) งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน หรืองบกำไรสุทธิ จะทำหน้าที่ในการแสดงกิจกรรมจากการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่าย โดยงบกำไรขาดทุนจะแสดงให้เห็นว่า เราใช้สินทรัพย์ที่ซื้อมาสร้างกำไรให้เราได้เท่าไหร่ หรือหากอธิบายอย่างง่ายก็คือ “เงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ” ค่ะ

3) งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสดจะทำหน้าที่ในการแสดงกระแสเงินสดเข้า – ออก ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน พูดง่าย ๆ มันก็เหมือน “เงินสดที่มีอยู่ในกระเป๋าเงินของเรา” นั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ดี นอกจากองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อมูลสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ นั่นก็คือ “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” ซึ่งเป็นส่วนอธิบายภาพรวม ที่มาที่ไปของตัวเลข และรายละเอียดต่าง ๆ ในงบการเงินทั้งหมดค่ะ


ทำไม "งบการเงิน" ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

งบการเงินประกาศตอนไหน ?

โดยปกติแล้ว งบการเงินจะถูกประกาศออกมาทุกไตรมาส หรือทุก ๆ 3 เดือนนั่นเองค่ะ ซึ่งบริษัทจะต้องส่งงบการเงินให้ ก.ล.ต. ภายใน 45 วันหลังจบไตรมาส หรือหลังปิดงบ ดังนั้น ช่วงเวลาที่เราจะได้เห็นการประกาศงบการเงินของแต่ละบริษัทจึงอยู่ระหว่างนี้ คือ

  • ไตรมาส 1 (Q1) ออกประมาณเดือนเมษายน – กลางพฤษภาคม
  • ไตรมาส 2 (Q2) ออกประมาณเดือนกรกฎาคม – กลางสิงหาคม
  • ไตรมาส 3 (Q3) ออกประมาณเดือนตุลาคม – กลางพฤศจิกายน
  • ไตรมาส 4 (Q4) ออกประมาณเดือนมกราคาคม – กลางกุมภาพันธ์ของปีถัดไป


ทำไมต้องดูงบการเงินประกอบการลงทุน ?

งบการเงินมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนอย่างไร? หากอ่านมาตั้งแต่ต้น เราจะเห็นได้ว่า งบการเงินนี้เป็นตัวชี้ให้เห็นถึง “ศักยภาพของกิจการนั้น ๆ” ค่ะ แต่หากให้ขยายความมากขึ้น คุณน้าก็ขอชี้แจงเป็นรายข้อดังนี้ค่ะ

1) สภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

งบการเงิน แน่นอนว่า ต้องชี้ให้เห็นถึงข้อมูลสำคัญทางการเงิน ทั้งรายรับ-รายจ่าย ภาระหนี้สิน และยอดเงินในส่วนต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเห็นว่า บริษัทนั้นมีสภาพคล่องทางการเงินและความมั่งคั่งของกิจการเป็นอย่างไร รวมถึงจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดจากงบการเงินเหล่านี้ค่ะ

2) ผลการดำเนินงาน

นอกจากรายรับ-รายจ่าย และภาระหนี้สินที่เราเห็นในงบการเงินแล้ว เรายังสามารถสังเกตผลการดำเนินงานของกิจการนั้น ๆ ได้จากงบการเงินผ่านงบกำไรสุทธิ ซึ่งหากกิจการนั้นบริหารงานได้ไม่ดี มันก็อาจทำให้ภาระหนี้สินมากกว่ากำไร หรือได้กำไรน้อยหากเทียบกับกิจการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อันจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับค่ะ

3) การบริหารจัดการ

งบการเงินนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของกิจการนั้น ๆ แล้ว ความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงินยังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการภายในองค์กร ทั้งในแง่การบริหารงาน เงิน ผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาองค์กรในอนาคตค่ะ ซึ่งหากการบริหารจัดการภายในเป็นไปได้ด้วยดี มีศักยภาพ ก็จะทำให้กิจการนั้นมีโอกาสเติบโตในระยะยาว และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่สูงขึ้นนั่นเองค่ะ


ข้อดี-ข้อเสียของงบการเงิน

ข้อดีของงบการเงิน

  • แสดงกิจกรรมและธุรกรรมทางการเงินของกิจการ
  • บ่งบอกถึงสภาพและความสามารถของกิจการ
  • กำหนดความสามารถในการชำระหนี้
  • ใช้เป็นข้อมูลย้อนหลังในการประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน

ข้อเสียของงบการเงิน

  • งบการเงินเป็นข้อมูลย้อนหลัง ไม่สามารถตัดสินอนาคตของกิจการนั้น ๆ อย่างแน่ชัดได้
  • การปิดบังข้อมูล หรือรายงานเท็จในงบการเงิน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนเกิดความสูญเสีย


สรุปรวม งบการเงิน คืออะไร ?

โดยสรุป งบการเงิน ก็คือ ข้อมูลสำคัญทางการเงินที่ทำให้นักลงทุนรู้ว่า การดำเนินธุรกิจในอดีตที่ผ่านมาของบริษัทนั้นเป็นอย่างไร ส่วนผลประกอบการจะแสดงให้เห็นถึงตัวเลขต่าง ๆ ที่ทำให้เราทราบถึงความสามารถในการบริหาร ตลอดจนการเติบโตในอนาคตของบริษัทนั่นเองค่ะ ดังนั้น ทุกคนอย่าลืมดูงบการเงินของบริษัทที่สนใจประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วยนะคะ และอย่าลืมศึกษาข้อมูลในส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงจากมิจฉาชีพค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia, SET Invest Now 1, SET Invest Now 2, Accounting Tools

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
ทำความรู้จัก “4 เครื่องหมายหุ้นใหม่” เตือนนักลงทุน หุ้นเสี่ยงมีปัญหา
ทำความรู้จัก “4 เครื่องหมายหุ้นใหม่” เตือนนักลงทุน หุ้นเสี่ยงมีปัญหา

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการจัดตั้ง “เครื่องหมายหุ้น” เพื่อต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ของนักลงทุนให้ได้มากที่สุดผ่านการแจ้งข้อมูลสำคัญหรือเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อบริษัทที่ออกหุ้นโดยใช้เครื่องหมายหุ้นแต่ละสัญลักษณ์เป็นตัวกำหนด และวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “4 เครื่องหมายหุ้นใหม่” ที่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มีนาคม 2567

รวมทุกขั้นตอน เริ่มต้นเทรด Forex ไปกับ IUX อ่านจบเทรดเป็นแน่นอน
รวมทุกขั้นตอน เริ่มต้นเทรด Forex ไปกับ IUX ทำได้อย่างไร? อ่านจบเทรดเป็นแน่นอน!

ในบทความนี้คุณน้าได้ทำการรวบรวมขั้นตอนการเปิดบัญชีและการฝากเงิน สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นเทรด Forex ไปกับ IUX

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 18 เมษายน 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,380 / 2400 / 2,430
แนวรับ : 2,365 / 2,345 / 2,325