ประชุม FED คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ควรจับตามอง

ประชุม FED คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ควรจับตามอง
Table of Contents

เทรดเดอร์ที่เข้ามาทำการซื้อขายในตลาด Forex ได้ให้ความสำคัญกับ FED หรือการประชุม FED ( Federal Reserve ) เนื่องจากเป็นการประกาศของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ดังนั้น บทความคุณน้าจึงได้เขียนบทความเรื่องการประชุม FED ขึ้นมาเพื่อที่จะให้เทรดเดอร์ได้ทำความเข้าใจถึงเหตุผลการประชุม และเข้าใจเหตุผลว่าทำไมเราควรติดตามการประชุม FED ทั้ง 8 ครั้งที่ประชุมทุกปี

การประชุม FED ส่งผลกระทบต่อตลาด Forex โดยเฉพาะคู่สกุลเงิน USD หรือดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทรดเดอร์ที่ทำการเทรดคู่สกุลเงิน USD จึงต้องให้ความสำคัญกับการประชุม FED ค่ะ

FED คืออะไร ? 


ประชุม FED คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ควรจับตามอง


Federal Reserve System หรือเรียกง่าย ๆ ว่า FED ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 1913 หลังจากการเกิดวิกฤตการเงินหลายครั้ง ทำให้เกิดความต้องการควบคุมระบบการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตทางการเงิน

FED เป็นธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาและสถาบันการเงินที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ซึ่งการก่อตั้ง FED ขึ้นมาทำให้ระบบการเงินมีความปลอดภัย ยืดหยุ่น และมีเสถียรภาพ โดยมีคณะกรรมการตลาดเสรีกลาง (Federal Open Market Committee หรือ FOMC) เป็นผู้กำหนดนโยบายทางการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าอัตราดอกเบี้ย (Policy Rate) ที่ธนาคารกลางมีการปรับขึ้นและปรับลดอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันค่ะ

FOMC คือ ?


ประชุม FED คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ควรจับตามอง
ขอขอบคุณรูปภาพจาก Wikipedia


FOMC (Federal Open Market Committee) เป็นคณะกรรมการนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีหน้าที่ทำการควบคุมนโยบายทางการเงินภายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการประชุม 8 ครั้งต่อปี หลังจากนั้นจึงออกมาประกาศถึงรายละเอียดของการประชุม

ประชุม FED ในปี 2023

การประชุม FED จะจัดขึ้นทุกปี ปีละ 8 ครั้งด้วยกัน โดยการประชุมในปี 2023 จะจัดขึ้นในวันที่ดังนี้ 

  • ครั้งที่ 1 วันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.
  • ครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 มี.ค.
  • ครั้งที่ 3 วันที่ 2-3 พ.ค.
  • ครั้งที่ 4 วันที่ 13-14 มิ.ย.
  • ครั้งที่ 5 วันที่ 25-26 ก.ค.
  • ครั้งที่ 6 วันที่ 19-20 ก.ย.
  • ครั้งที่ 7 วันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย.
  • ครั้งที่ 8 วันที่ 12-13 ธ.ค.

ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสนใจ

เทรดเดอร์ให้ความสนใจกับการประชุมของ FED เนื่องจากการประชุมแต่ละครั้งมีการประกาศอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อค่าเงิน ซึ่งถ้าหากธนาคารกลางประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น แต่ถ้าธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้สกุลเงินอ่อนค่าลง โดยเฉพาะค่าเงิน USD ซึ่งเป็นสกุลเงินที่เทรดเดอร์นิยมเทรด ดังนั้น การให้ความสนใจการประชุมเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน ทำให้เทรดเดอร์สามารถวางแผนการเทรดได้จากการคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ค่ะ

สรุป

จากที่คุณน้าได้กล่าวไปข้างต้น ทุกคนคงทราบแล้วว่า FED คือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ซึ่งมีการประชุมปละออกนโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานกำกับดูแลหลักของสถาบันการเงินของประเทศ ธนาคารต่าง ๆ จึงมักหันไปพึ่งพาการยืมเงินจาก FED ดังนั้นเทรดเดอร์อย่างเราจึงต้องติดตามการประชุม FED เพื่อวางแผนการการเทรดค่ะ


บทความในการเทรดที่น่าสนใจ : มือใหม่หัดเทรด

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
ซิกทอง บทวิเคราะห์ทองคำ 28 พฤศจิกายน 2566 สำหรับคนเทรดทอง
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 กันค่า

แนวต้าน : 2018 / 2023 / 2027 / 2034
แนวรับ : 2009 / 2003 / 1995 / 1987 / 1980

หนี้เสีย (NPL) คืออะไร
หนี้เสีย (NPL) คืออะไร ? แก้ได้ไหม มีทางด่วนหรือเปล่า !?

Gen Y และ Gen X เป็นวัยที่สร้างหนี้เสียและเสี่ยงติดเครดิตบูโรสูงสุด! บริหารเงินผิด นอกจากชีวิตจะเปลี่ยนแล้ว อาจทำให้เสียประวัติด้วย มันคืออะไร มีวิธีแก้หรือไม่

ซิกทอง วิเคราะห์ทองคำ 24 พฤศจิกายน 2566 สำหรับคนเทรดทอง
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 กันค่า

แนวต้าน : 1998 / 2004 / 2008 / 2013
แนวรับ : 1990 / 1985 / 1980 / 1975 / 1968

ซิกทอง วิเคราะห์ทอง 23 สำหรับคนเทรดทอง
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสที่ 23 พฤศจิกายน 2566 กันค่า

แนวต้าน : 2000 / 2005 / 2010 / 2014
แนวรับ : 1990 / 1985 / 1981 / 1975 / 1968