เผยข้อมูลใหม่ การขุด Bitcoin เริ่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว

Table of Contents

มีข้อมูลใหม่จาก “มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์” เผยข้อมูลให้เห็นว่า

“ภูมิศาสตร์ของการขุด Bitcoin มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการปราบปรามครั้งใหญ่ของรัฐบาลจีน”

CNBC (Consumer News and Business Channel) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิลที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับตลาดหุ้นทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง นั้น ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลของการอพยพของนักขุดรายใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม โดยพวกเขาเห็นพ้องต้องกันว่า การขุดคริปโตนั้นเริ่มเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าตอนที่จีนครองส่วนแบ่งกำลังขุดทั่วโลก

การขุด Bitcoin ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากการปราบปรามการขุดคริปโตของจีน ได้ส่งผลให้นักขุด Bitcoin จำนวนมากอพยพไปยังประเทศต่าง ๆ และส่วนใหญ่ย้ายไปสู่เขตอำนาจศาลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่น รัฐเท็กซัส ซึ่งมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีต้นทุนต่ำ

นาย Mike Colyer ซีอีโอของบริษัทด้านคริปโต Foundry

กล่าวยืนยันว่า นี่เรื่องที่ดีสำหรับ Bitcoin

“นักขุดทั่วโลกต่างมองหาแหล่งพลังงาน ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และมีต้นทุนต่ำ ซึ่งนี่จะเป็นชัยชนะครั้งสำคัญครั้งใหญ่ที่สุดของ Bitcoin ในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลก”

ข้อมูลของเคมบริดจ์พบว่า

เกือบ 17% ของเหมืองขุด BTC ทั้งหมดทั่วโลกได้เริ่มดำเนินการในทวีปอเมริกาเหนือแล้ว และอย่างน้อย 50% ของเหมืองขุด Bitcoin ทั้งหมดได้เลือกใช้พลังงานหมุนเวียน ส่วนแบ่งกำลังขุดของจีนก่อนหน้านี้ได้ลดลงจากระดับ 65% เหลือเพียง 46% ตามข้อมูลที่เผยแพร่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แหล่งพลังงานทางเลือกดังกล่าวนั้น ประกอบไปด้วย ไฟฟ้าพลังน้ำ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังงานนิวเคลียร์ หรือแม้แต่พลังงานจากเปลวไฟในขณะที่เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

และที่ผ่านมาเร็วๆนี้ Viridi ก็เพิ่งเปิดตัวกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนการขุด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (EFT) ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก โดยผลิตภัณฑ์ใหม่นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดนักลงทุนสถาบัน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขุดคริปโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นค่ะ

ที่มา : ลิงก์

คุณอา
คุณอา
Recent Post