คุณน้าพาส่อง 101 : Gas fee หรือ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม Blockchain

gas fee
Table of Contents

เมื่อคุณเข้ามาในตลาด Cryptocurrency คงเคยได้ยินคำว่า Gas fee หรือ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม Blockchain ซึ่งใบทความนี้คุณน้าพาเทรดอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักความหมายค่าธรรมเนียม รวมถึงสูตรการคำนวณและเราจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับใคร เรามาหาคำตอบพร้อมกับคุณน้าเลยค่ะ

Gas Fee คือ อะไร ?

อันดับแรกทุกคนต้องเข้าใจถึง Blockchain Network ต่าง ๆ จะมี Miner เพื่อคอยตรวจสอบข้อมูลของแต่ละ Transaction เพื่อนำ Transaction เหล่านั้นเข้า Block แล้วไปต่อกับ Block ก่อนหน้าจึงกลายเป็น Blockchain ซึ่งการทำหน้าที่ตรงนี้มีต้นทุนเกิดขึ้นจากการทำสิ่งที่เรียกว่า Proof of work (POW) โดยการใช้คอมพิวเตอร์มาคำนวนเพื่อแก้สมการบางอย่างแข่งกับเหล่า Miner ทั่วโลกเพื่อหาว่าใครจะได้เป็นผู้สร้าง Block นั้น

เมื่อเกิดการแข่งขันที่มีต้นทุน แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ “ค่าธรรมเนียม” โดยผู้ใช้ในระบบ Ethereum หรือ Blockchain อื่น ๆ จะต้องเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ Miner ที่ทำการตรวจสอบ Transaction ของตัวเองและนำ Transaction นั้นเข้า Block ในระบบของ Blockchain จะค่อนข้างเป็นทุนนิยมเพราะ Miner มักจะทำการเลือก Transaction ที่ให้ค่าธรรมเนียมเยอะ ๆ มาทำก่อน แปลว่าใครจ่ายเยอะก็จะได้ตรวจสอบก่อน ซึ่งใน Ethereum Network เรียกค่าธรรมเนียมนี้ว่า “Gas”

ดังนั้น Gas Fee ก็คือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม Blockchain หรือ คือค่าธรรมเนียมในโลกของ Cryptocurrency นั่นเองค่ะ 

Gas fee คือ

ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ?

สำหรับค่าธรรมเนียมไม่มีกำหนดแน่ชัดค่ะ แต่มีสูตรคำนวน ดังนี้ โดยการคำนวน Gas ของ Ethereum หรือ Blockchain จะประกอบไปด้วย 2 ตัวแปร คือ

Gas Limit คือ จำนวน Gas สูงสุดที่ผู้ใช้ยอมรับได้ในการประมวลผล Transaction นั้น ๆ ซึ่งการคิด Gas จะคิดจาก EVM Operations ที่เกิดขึ้นจริง

Gas Price คือ ราคาของ Gas ต่อหน่วยที่ผู้ใช้ยอมจ่ายให้กับ Miner ในการประมวลผล Transaction นั้นๆ โดยมีหน่วยเป็น gwei (Giga wei) 

ซึ่ง 1 wei มีค่าเท่ากับ 1 wei = 1 ETH / 10 ^ 18 ดังนั้น gwei ก็คือ 1 gwei = 1 ETH / 10 ^ 9

หรือ 1 gwei = 1 wei * 10 ^ 9 นั่นเอง

โดยจำนวน Gas ที่ใช้จะคิดตามความซับซ้อนของแต่ละ Transaction ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้เท่ากับ Gas Limit เสมอไป เช่น เราใส่ Gas Limit ไว้ 21000 แต่ใช้จริง ๆ แค่ 12000 (Gas Used) เราก็จะจ่ายค่าธรรมเนียมที่ 12000 คูณกับ Gas Price การคำนวนค่า Gas ของแต่ละ Transaction จะเป็นดังนี้

Fee = GasUsed * GasPrice

เราจ่าย Gas fee ให้ใคร

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าจะมี Miner หรือนักขุดที่ทำหน้าที่แก้สมการ ซึ่งค่าธรรมเนียมส่วนหนึ่งก็จะถูกนำไปให้กับ Miner ค่ะ และอีกส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งไปที่นักพัฒนา Cryptocurrency เหรียญนั้นๆ นั่นเองค่ะ ซึ่งเราสามารถเช็คราคาได้ที่ GASNOW เลยค่ะ อัพเดตเร็วทันใจ สามารถเข้าไปทดลองใช้กันได้นะคะ 

สรุป

กล่าวโดยสรุปคือ หากไม่มี Gas fee เราก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมบน Ethereum blockchain ได้ ไม่ว่าทุกคนกำลังวางแผนทำธุรกรรมอะไรก็ตามผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ อย่าลืมคำนวณและเตรียมค่าธรรรมเนียมด้วยนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังด้วยนะคะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
กองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? ปี 2024
กองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? ผลตอบแทนสูง ปี 2024

คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับกองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับกองทุนประเภทนี้ดียิ่งขึ้น

ทำความรู้จัก “4 เครื่องหมายหุ้นใหม่” เตือนนักลงทุน หุ้นเสี่ยงมีปัญหา
ทำความรู้จัก “4 เครื่องหมายหุ้นใหม่” เตือนนักลงทุน หุ้นเสี่ยงมีปัญหา

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการจัดตั้ง “เครื่องหมายหุ้น” เพื่อต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ของนักลงทุนให้ได้มากที่สุดผ่านการแจ้งข้อมูลสำคัญหรือเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อบริษัทที่ออกหุ้นโดยใช้เครื่องหมายหุ้นแต่ละสัญลักษณ์เป็นตัวกำหนด และวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “4 เครื่องหมายหุ้นใหม่” ที่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มีนาคม 2567

รวมทุกขั้นตอน เริ่มต้นเทรด Forex ไปกับ IUX อ่านจบเทรดเป็นแน่นอน
รวมทุกขั้นตอน เริ่มต้นเทรด Forex ไปกับ IUX ทำได้อย่างไร? อ่านจบเทรดเป็นแน่นอน!

ในบทความนี้คุณน้าได้ทำการรวบรวมขั้นตอนการเปิดบัญชีและการฝากเงิน สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นเทรด Forex ไปกับ IUX