ในยุคที่การทำธุรกรรมทางการเงินพัฒนาแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ทุกคนสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่คลิกเดียว การทำธุรกรรมของคุณก็เป็นอันสำเร็จ ด้วยเหตุนี้เอง ก็เหมือนการเปิดโอกาสให้อาชญากรไซเบอร์อาศัยช่องว่างบนโลกอินเทอร์เน็ตเข้ามาหลอกลวงทุกคนได้เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นข่าวการโกงเงินที่อ้างถึงการลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Forex 3D และโบรกเกอร์ WCF เป็นต้น ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะมาเตือนภัยทุกคนด้วย 7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex โกงดูอย่างไร? ไม่ให้ถูกหลอก เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถรู้เท่าทันกลโกงและป้องกันการตกเป็นเหยื่อได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ใช่บทความชักชวนลงทุนแต่อย่างใด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและระมัดระวังการลงทุนทุกรูปแบบ
โบรกเกอร์ Forex โกง คืออะไร?
โบรกเกอร์ Forex โกง คือ นายหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขาย Forex แต่มีเจตนาในการหลอกลวงอย่างชัดเจน ซึ่งการหลอกลวงลักษณะนี้ เราจะเรียกกันว่า โบรกเกอร์เถื่อนนั่นเองค่ะ โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์เถื่อนจะไม่มีใบอนุญาตและหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างถูกกฎหมายหรือโบรกเกอร์บางรายก็ไม่มีความรู้ที่เกี่ยวกับ Forex เลย อาศัยเพียงแต่การสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาพร้อมกับการโฆษณาชวนเชื่อที่ล่อตาล่อใจ อย่างการการันตีกำไร 100% หรือเปิดออเดอร์ได้ทันที เพียงคลิกลิงก์นี้ แล้วคุณจะได้ผลตอบแทนทันที เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เอง เทรดเดอร์มือใหม่หรือนักลงทุนที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Forex อย่างละเอียดและรอบคอบ จึงตกเป็นเหยื่อให้กับโฆษณาชวนเชื่อได้อย่างง่ายดายค่ะ ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะมาเตือนภัยเกี่ยวกับโบรกเกอร์ Forex โกงดูอย่างไร? พร้อมกับ 7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex ที่คุณควรระมัดระวังมีอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้ทุกคนถูกหลอกได้นั่นเองค่ะ
7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex ที่ควรระมัดระวัง มีอะไรบ้าง?
1. โบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มีการจดทะเบียน
อันดับแรกที่เทรดเดอร์ควรระวัง คือ โบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือจะต้องเป็นโบรกเกอร์ที่สามารถตรวจสอบได้และมีหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลอย่างชัดเจนค่ะ เพราะการได้รับใบอนุญาตไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากโบรกเกอร์ต้องวางหลักประกันตามที่หน่วยงานแต่ละแห่งกำหนด ต้องพัฒนาระบบเทรดให้มีเสถียรภาพ และที่สำคัญต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการทุจริตและเป็นการรักษาเงินทุนให้กับเทรดเดอร์อีกด้วยค่ะ
เทรดเดอร์สามารถเช็กความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ที่เว็บไซต์ของโบรกเกอร์หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่กำกับดูแลได้เลย
2. การโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง
อันดับต่อมา คือ การโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง โดยเฉพาะการการันตีกำไร 100% โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์ Forex จะไม่การันตีผลตอบแทน เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยงค่ะ อีกทั้งตลาด Forex ยังมีความผันผวนค่อนข้างมาก ทำให้เทรดเดอร์ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ในการเทรดพอสมควร ซึ่งหากโบรกเกอร์รายไหนมีการการันตีผลกำไร นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า โบรกเกอร์นั้นอาจเป็นมิจฉาชีพ
3. ไม่สามารถถอนเงินได้
เมื่อเทรดเดอร์ต้องการถอนเงิน แล้วไม่สามารถถอนเงินออกมาได้หรือมีข้อบังคับเกี่ยวกับการถอนเงินต่าง ๆ นานา นั่นอาจจะทำให้เทรดเดอร์เสี่ยงต่อการโดนโกงได้ค่ะ โดยเฉพาะเมื่อมีการทำกำไรหรือมีการถอนเงินในจำนวนมาก โดยโบรกเกอร์ที่ส่อแววโกงจะเข้าควบคุมบัญชีเทรดของคุณ โดยไม่ได้รับอนุญาตและปรับเปลี่ยนบัญชีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองค่ะ หลังจากนั้น จะล็อกบัญชีและเชิดเงินหนีไปในที่สุด
ดังนั้น เทรดเดอร์ควรตรวจสอบเงื่อนไขการถอนเงินของโบรกเกอร์ให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีเทรด โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือจะมีนโยบายป้องกันเงินทุนของลูกค้า เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมของลูกค้า รวมถึงการป้องกันไม่ให้คุณขาดทุนจนเกินไปนั่นเองค่ะ
4. สัญญาณการซื้อขายมีความผิดพลาด
สัญญาณการซื้อขายถือว่า มีความสำคัญต่อตลาด Forex เป็นอย่างมากค่ะ เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น ซึ่งโบรกเกอร์เถื่อนจะใช้วิธีการปรับค่า Spread ให้กว้างขึ้นแบบผิดปกติ (สเปรดถ่าง) เมื่อเทรดเดอร์เทรดในช่วงที่มีข่าวสำคัญก็อาจทำให้ลดโอกาสในการทำกำไร โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่มีต้นทุนจำกัดก็อาจเสี่ยงขาดทุนได้เช่นเดียวกัน
นอกจากการปรับสเปรดถ่างแล้ว บางโบรกเกอร์ก็มีความตั้งใจในการทำ Slippage เพื่อทำให้การเปิดออเดอร์คลาดเคลื่อนออกไปและเทรดเดอร์ไม่สามารถเปิดออเดอร์ได้ในราคาที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้ว การเกิด Slippage ถือเป็นความผิดพลาดทางระบบที่โบรกเกอร์ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งปกติแล้ว การเกิด Slippage สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ
อย่างไรก็ดี การเกิด Slippage ควรเกิดให้น้อยที่สุด เพราะเป็นการบ่งบอกว่า ระบบเทรดไม่มีเสถียรภาพและหากโบรกเกอร์ตั้งใจให้เกิด Slippage ในทุก ๆ ครั้ง นั่นแสดงให้เห็นว่า โบรกเกอร์เข้าข่ายหลอกลวง
5. ไม่มีข้อบังคับและกฎระเบียบที่ชัดเจน
กลโกงที่โบรกเกอร์เถื่อนชอบใช้ก็คือ การไม่มีข้อบังคับและกฎระเบียบที่ชัดเจนประกอบกับไม่มีคำเตือนถึงความเสี่ยงของการลงทุน ซึ่งโบรกเกอร์จะอาศัยการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับข้อบังคับและกฎระเบียบ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเทรดเดอร์เพิ่มเติม โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ซึ่งเรียกว่า เป็นค่าธรรมเนียมแอบแฝงหรือบางโบรกอาจจะให้จ่ายภาษี Forex ก่อนการเปิดบัญชีเทรด ซึ่งลักษณะนี้ก็ถือว่า เข้าข่ายหลอกลวงเช่นกันค่ะ
6. นำเสนอกลยุทธ์น่าสงสัย
โบรกเกอร์ที่มีการฉ้อโกงจะนำเสนอกลยุทธ์น่าสงสัย โดยจะมาในรูปแบบของเครื่องมือช่วยเทรด อย่างแพลตฟอร์มการเทรดที่ไม่ได้มาจาก Terminal ที่น่าเชื่อถือ หรือแนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่อยู่ใน App Store และ Play Store เป็นต้น
นอกจากนี้ บางโบรกยังมีกลยุทธ์ที่น่าสงสัย อย่างการการันตีกำไรหรือการระดมทุนเพื่อชักชวนการลงทุนจำนวนมาก เมื่อเทรดเดอร์หลงเชื่อก็ปรากฏว่า ไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่คิด หรือขาดทุนจนทำให้พอร์ตแตกและสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก
7. การปลอมแปลงรีวิวและคะแนน (IO)
โบรกเกอร์เถื่อนจะมีการปลอมแปลงรีวิวของลูกค้าและตกแต่งบัญชีให้มีความน่าเชื่อถือด้วยการสร้าง IO เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ ซึ่งการปลอมแปลงรีวิวจะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ ทำให้เทรดเดอร์เสี่ยงต่อการถูกหลอกได้ง่าย ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาการรีวิวคะแนนและความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์จากหลาย ๆ เว็บไซต์ เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมและป้องกันความเสี่ยงจากมิจฉาชีพได้ค่ะ
หากโดนโบรกเกอร์ Forex โกง แจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง?
อย่างที่เรารู้กันดีว่า โบรกเกอร์ Forex ยังไม่ได้ถูกรับรองจากก.ล.ต. ในประเทศไทย แต่โบรกเกอร์ Forex ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายนะคะ เพราะเทรดเดอร์สามารถเทรด Forex กับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากต่างประเทศได้ แต่หากเกิดคดีฉ้อโกงขึ้นมา เทรดเดอร์จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นเอง เพราะถือว่าอยู่นอกเหนือการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั่นเองค่ะ
📢 แล้วอย่างนี้ หากโดนโบรกเกอร์ Forex โกง แจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง คุณน้าขอบอกว่าสามารถทำได้ 2 กรณีหลัก ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. กรณีโบรกเกอร์ที่มีหน่วยงานในการกำกับดูแล
ผู้เสียหายสามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานทุกชิ้นจากการโดนโกง แล้วส่งอีเมลไปที่หน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลของโบรกเกอร์ได้เลยค่ะ หลังจากนั้น ทางหน่วยงานจะทำการตรวจสอบข้อมูล หากโบรกเกอร์ทำผิดจริง โบรกเกอร์นั้นจะถูกตรวจสอบพร้อมกับชดเชยค่าเสียหาย และอาจจะโดนยึดใบอนุญาตได้ในท้ายที่สุด
📢 สามารถตรวจสอบหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินที่มีการจัดอันดับได้ที่ TrustFinance
2. กรณีโบรกเกอร์ไม่มีหน่วยงานในการกำกับดูแล
หากโบรกเกอร์ที่โกงไม่มีหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างถูกต้อง วิธีที่กล่าวไปข้างต้น จะไม่สามารถใช้ได้นะคะ โดยผู้เสียหายสามารถรวบรวมหลักฐานให้ครบถ้วน แล้วแจ้งไปที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โดยมีรายละเอียดการแจ้งความ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
2. ลงทะเบียนผู้ใช้งาน โดยการยืนยันตัวตน OTP ผ่านอีเมลที่ใช้ลงทะเบียน
3. เข้าสู่ระบบอีกครั้ง เพื่อแจ้งความออนไลน์
4. กรอกข้อมูลผู้เสียหายให้ครบถ้วน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับคนร้าย
5. จากนั้น จะได้รับเลขรับแจ้งมาจากระบบ ภายใน 3 ชั่วโมง
6. Admin ตำรวจไซเบอร์จะติดต่อกลับไปและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
7. สุดท้าย คือ ผู้เสียหายรอติดตามข้อมูลในลำดับต่อไป
Tip! บช.สอท. เตือนภัยและประชาสัมพันธ์การถูกหลอกลงทุนเพิ่มเติม
นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น บช.สอท. ยังมีการเตือนภัยและประชาสัมพันธ์ เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกหลอกลงทุนเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
- สามารถตรวจสอบรายชื่อการโอนเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ Chaladohn.com (ฉลาดโอน)
- การทำธุรกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศจะต้องทำกับผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเท่านั้น นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ และในปัจจุบันยังไม่มีนิติบุคคลใดที่มีใบอนุญาตเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินจากต่างประเทศ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศ www.bot.or.th
คุณน้าแนะนำ : โบรกเกอร์ Forex ที่มีความน่าเชื่อถือ
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า โบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ทุกคนควรเฝ้าระวังเป็นอย่างมากค่ะ เพราะโบรกเกอร์เถื่อนเหล่านี้จะอาศัยการชักชวนการระดมทุนที่ล่อตาล่อใจ ส่งผลให้มีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงจากโบรกเกอร์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ คุณน้าขอแนะนำ 5 โบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือจากการตรวจสอบและหาข้อมูลเพิ่มเติมของคุณน้า โดยมีรายชื่อโบรกเกอร์ ดังนี้ค่ะ
ชื่อโบรกเกอร์ | ใบอนุญาตและหน่วยงานที่กำกับดูแล |
Swissquote | FCA, CSSF, FINMA, DFSA, SFC และ MAS |
SAXO Bank | FSA, FINMA และ ASIC |
IUX | SVGFSA, FSCA และ FSC Mauritius |
Pepperstone | ASIC, CySEC, DFSA, BaFin, FCA และ CMA |
IC Markets | FSA, ASIC, CySEC และ SCB |
สำหรับใครที่สนใจอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ 5 โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
🔍 นอกจากโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว คุณน้ายังได้รวบรวมประเภทโบรกเกอร์ที่มีคุณสมบัติเด่นในด้านต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย โดยเทรดเดอร์สามารถเลือกประเภทโบรกเกอร์ที่สนใจได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
▶️ 5 โบรกเกอร์ Forex สเปรดต่ำที่สุด
▶️ 5 โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง
▶️ 5 โบรกเกอร์ Forex ถอนเงินเร็ว ฝากเงินไว
▶️ เทรด Forex โบรกไหนดี อัปเดตการจัดอันดับทุก Rank
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเตือนภัยโบรกเกอร์ Forex
เทรด Forex โบรกไหนดี?
เทรด Forex กับ 5 โบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือต้องมีใบอนุญาตและหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแล โดยคุณน้าแนะนำ 5 โบรกเกอร์ ได้แก่ Swissquote, SAXO Bank, IUX, Pepperstone และ IC Markets
โดนโบรกเกอร์หลอก ทำอย่างไรดี?
หากโดนโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง เทรดเดอร์สามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานและส่งอีเมลไปที่หน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลได้ แต่หากโบรกเกอร์นั้นไม่มีหน่วยงานให้การกำกับดูแลผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้กับ บช.สอท. ผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com
เทรด Forex ได้เงินจริงไหม?
เทรด Forex มีโอกาสทำกำไรและได้เงินจริง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณจะไม่ได้เงินกลับมา หรือเสี่ยงขาดทุน เนื่องจากตลาด Forex มีความผันผวนสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการวิเคราะห์ ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างรวดเร็ว เพราะเทรดเดอร์ต้องอาศัยประสบการณ์ เพื่อให้สามารถเอาชนะตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
สรุปเตือนภัยโบรกเกอร์ Forex โกง
สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่วงการเทรด Forex โปรดระมัดระวังโบรกเกอร์ Forex ที่เข้าข่ายหลอกลวง โดยสามารถนำ 7 เช็กลิสต์ ที่คุณน้ารวบรวมไว้ให้ไปประกอบการตัดสินใจเลือกโบรก ก่อนเปิดบัญชีเทรดจริงนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณสูญเสียเงินลงทุนโดยใช่เหตุ ซึ่งการเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่มีใบอนุญาตและหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเทรด Forex ค่ะ
อย่างไรก็ดี ในบทความนี้เป็นเพียงบทความที่ให้ความเท่านั้น ไม่ได้ชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด และสุดท้ายนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : RTP Cyber Vaccinated และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge