พบกับวิเคราะห์ GBPUSD ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค อีกทั้งแนวทางในการเข้าออกออเดอร์ ไปจนถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการเทรดคู่เงินแบบละเอียด เรียกได้ว่าครบจบในบทความเดียว!
บทวิเคราะห์ Forex วันนี้ : คู่เงิน GBPUSD
บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน
ในเดือนมิถุนายน อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิด ขึ้นมาอยู่ที่ 3.6% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2024 โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเดินทาง และค่าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวเลขนี้สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ 3.4% และสร้างความยุ่งยากให้กับแผนการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ค่ะ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ แอนดรูว์ เบลีย์ ยังยืนยันแนวทางการลดดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอ้างถึงสัญญาณการชะลอตัวของตลาดแรงงานและเศรษฐกิจที่เริ่มแผ่วลงเป็นเหตุผลสนับสนุนค่ะ
แม้ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 1.7% เมื่อเดือนกันยายน แต่เงินเฟ้อพื้นฐานและราคาบริการก็ยังคงอยู่ในระดับสูง จนเกินกว่าเป้าหมาย 2% ของ BoE ซึ่งสูงกว่าทั้งในสหรัฐฯ และยูโรโซน ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่า GDP ของสหราชอาณาจักรหดตัวลงในเดือนพฤษภาคม และคาดว่าอัตราการเติบโตของค่าจ้างจะชะลอลงเช่นกัน ขณะที่ดัชนีตลาดแรงงาน เช่น แรงงานว่างงานที่เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งสนับสนุนแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มขึ้นค่ะ โดยตลาดคาดว่า BoE จะประกาศลดดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีก่อน ในการประชุมเดือนสิงหาคม 2025 ที่จะถึงนี้
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของตลาดต่อข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดก็มีทั้งขึ้นและลง โดยค่าเงินปอนด์ขยับขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น และความคาดหวังว่าธนาคารกลางจะลดดอกเบี้ยในทันทีถูกปรับลดลงเล็กน้อย นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank, Capital Economics และคณะกรรมการนโยบายการเงินอย่าง แคทเธอรีน แมนน์ ชี้ว่า การลดดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมยังคงมีความเป็นไปได้สูง แต่ทิศทางของนโยบายการเงินในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดแรงงานและการเติบโตของค่าจ้างค่ะ
ในขณะเดียวกัน พฤติกรรมผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรก็สะท้อนถึงแรงกดดันจากเงินเฟ้อรวมถึงสภาพอากาศ โดยยอดขายปลีกในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 3.1% จากสภาพอากาศที่ร้อนและกิจกรรมอย่างการแข่งขันวิมเบิลดัน ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น แต่อุปสงค์ยังคงอ่อนแอเนื่องจากราคาอาหารที่ยังสูง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงระมัดระวัง และนักวิเคราะห์คาดว่าการฟื้นตัวของภาคค้าปลีกอย่างชัดเจนอาจต้องรอจนกว่าดอกเบี้ยจะเริ่มลดลงอย่างจริงจัง ซึ่งน่าจะไม่เกิดขึ้นก่อนปี 2026 ค่ะ
ในอีกด้านนั้น เพื่อรับมือกับปัญหาความสามารถในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่ลดลง รัฐมนตรีการคลัง เรเชล รีฟส์ ได้ประกาศมาตรการใหม่เพื่อช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านครั้งแรกและผ่อนคลายข้อจำกัดในการขอสินเชื่อ ขณะที่ข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยของสหราชอาณาจักรก็พบสัญญาณที่หลากหลาย โดยราคาบ้านเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 3.9% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าการเพิ่มขึ้น 3.6% ของเดือนเมษายนเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของค่าเช่าภาคเอกชนต่อปีเริ่มชะลอลงจาก 7.0% มาอยู่ที่ 6.7% บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อในภาคที่อยู่อาศัยอาจเริ่มคลายตัวลงค่ะ
ข้ามฟากไปยังสหรัฐอเมริกา ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากความกังวลว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจปลดประธานธนาคารกลาง เจอโรม พาวเวลล์ออกจากตำแหน่ง ก่อนที่ทรัมป์จะออกมาปฏิเสธข่าวลือนี้ในภายหลัง โดยทรัมป์เคยวิจารณ์พาวเวลล์อย่างเปิดเผยหลายครั้งเรื่องไม่ยอมลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 1% หรือต่ำกว่า ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงความเป็นอิสระของ Fed และส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินปลอดภัยค่ะ นักวิเคราะห์เตือนว่า หากเกิดการบ่อนทำลายความเป็นอิสระของ Fed ขึ้นจริง อาจทำให้ตลาดการเงินเกิดความผันผวนและกดดันค่าเงินดอลลาร์ให้ร่วงลงได้ค่ะ
ถึงแม้จะมีแรงกดดันทางการเมืองเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ Fed อย่างจอห์น วิลเลียมส์ ประธาน Fed สาขานิวยอร์ก และซูซาน คอลลินส์ ประธาน Fed สาขาบอสตัน ยังคงเน้นย้ำถึงความไม่แน่นอนของเงินเฟ้อ โดยเฉพาะจากผลกระทบของการขึ้นภาษีนำเข้า โดยวิลเลียมส์คาดว่า ภาษีอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นประมาณ 1% ภายในปีหน้า ขณะที่คอลลินส์ระบุว่า งบดุลของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่แข็งแรงจะช่วยดูดซับผลกระทบจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ค่ะ
ด้านสัญญาณของเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เริ่มปรากฏให้เห็น โดยราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดในรอบ 5 เดือน นำโดยสินค้านำเข้า เช่น เฟอร์นิเจอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้า นักเศรษฐศาสตร์มองว่านี่เป็นสัญญาณว่าผลกระทบจากภาษีกำลังเริ่มส่งผ่านมาถึงผู้บริโภคแล้วค่ะ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลผู้ผลิตมีความหลากหลาย โดยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) แทบไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีแรงหนุนจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น แม้จะถูกหักล้างบางส่วนจากราคาบริการที่ลดลง ซึ่งภาคการผลิตของสหรัฐฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า แม้ว่าการผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมในเดือนมิถุนายนจะขยับขึ้น แต่การผลิตยานยนต์กลับลดลงอย่างหนัก ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงขึ้นจากการบังคับใช้นโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรค ทำให้หลายบริษัทชะลอการจ้างงานหรือเลื่อนการปรับราคาออกไปจนกว่าสถานการณ์แรงงานและการค้าจะเริ่มชัดเจนขึ้นค่ะ
ถึงแม้ Fed จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25%–4.50% มาตั้งแต่เดือนธันวาคม แต่ทิศทางในอนาคตก็ยังไม่แน่นอนค่ะ ตลาดขณะนี้กำลังคาดการณ์ว่าการลดดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นในเดือนกันยายน และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดขึ้นในการประชุมวันที่ 29–30 กรกฎาคม จากรายงาน Beige Book ล่าสุดของ Fed กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่มุมมองของภาคธุรกิจยังคงเป็นกลางถึงค่อนไปทางลบ โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดและผู้กำหนดนโยบายยังอยู่ในโหมดรอดูสถานการณ์ต่อไปค่ะ
ในเชิงปัจจัยพื้นฐาน คุณน้าเห็นว่า ฝั่งอังกฤษยังได้เปรียบในเชิงนโยบายการเงินค่ะ อัตราเงินเฟ้อที่ยังยืนสูงทำให้ตลาดต้องทบทวนมุมมองเดิมที่คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย แม้ตลาดยังคงคาดการณ์โอกาสลดดอกเบี้ยอยู่ แต่ความเป็นไปได้ในการลดดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ก็ลดน้อยลง ซึ่งทำให้กระแสเงินทุนไหลกลับเข้าสู่พันธบัตรและตลาดทุนของอังกฤษมากขึ้น ในขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งจากด้านนโยบายการค้าและการเมืองค่ะ
บทวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค

ในด้านเทคนิคตอนนี้ ค่าเงิน GBPUSD กำลังแสดงสัญญาณขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกราฟราคาได้ทะลุแนวต้านสำคัญ และเป้าหมายถัดไปอยู่ที่บริเวณ 1.3480 ค่ะ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันและ 200 วัน ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและเริ่มแยกออกจากกันมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงแรงโมเมนตัมเชิงบวกอย่างชัดเจนค่ะ ขณะที่ค่า RSI อยู่ใกล้ระดับ 68 ซึ่งแม้จะเข้าใกล้โซน Overbought แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นตึงตัวมากนัก หมายความว่ายังมีโอกาสปรับขึ้นต่อได้ แม้อาจมีการพักฐานระยะสั้นเป็นระยะ ๆ ค่ะ
ในกรณีเชิงบวก (Bullish case) ถ้า BoE ลดดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียว และฝั่งสหรัฐฯ เผชิญเงินเฟ้อที่กลับมาสูงอีกครั้ง GBPUSD อาจพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 1.3550–1.3600 ภายในไตรมาส 3 ได้ค่ะ แต่ในกรณีฐาน (Base case) ที่ทั้ง BoE และ Fed ต่างลดดอกเบี้ยคนละหนึ่งครั้งภายในเดือนกันยายน ก็มีแนวโน้มที่ค่าเงินจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1.3350–1.3450 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงสะสมพลังเพื่อเลือกทิศทางในระยะถัดไปค่ะ
ในทางกลับกัน หากตลาดแรงงานอังกฤษเริ่มอ่อนแอลงกว่าคาด หรืออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจทำให้ Fed ชะลอการลดดอกเบี้ย GBPUSD ก็อาจอ่อนค่าลงมาได้ถึงบริเวณ 1.3250 ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญในเชิงเทคนิคค่ะ
โดยรวมแล้วคุณน้ามองว่าทิศทางของ GBPUSD ในระยะใกล้นี้ยังเป็นขาขึ้นอยู่นะคะ ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากความแตกต่างในนโยบายการเงิน ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจอังกฤษ และความไม่แน่นอนของฝั่งสหรัฐฯ แม้อาจมีการปรับฐานเล็กน้อยลงมาที่ระดับ 1.3300 จากแรงขายทำกำไรหรือข้อมูลระยะสั้น แต่ตราบใดที่ยังไม่มีปัจจัยลบใหม่ ๆ เข้ามาแรง ๆ คุณน้าคิดว่านักลงทุนก็จะถือว่าการอ่อนค่าชั่วคราวเป็นโอกาสในการเข้าซื้อเพิ่มค่ะ
📍ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- แนวรับสำคัญ : 1.3391, 1.3387, 1.3382
- แนวต้านสำคัญ : 1.3401, 1.3405, 1.3410
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญที่ส่งผลต่อคู่เงิน GBPUSD

ที่มา : Forexfactory

⭐ คุณน้าแนะนำโบรกเกอร์คุณสมบัติเด่น!
การเลือกโบรกเกอร์ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ สำหรับการเทรด Forex ค่ะ
เพราะโบรกเกอร์จะพัฒนาระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเทรดของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นให้ได้มากที่สุด
สำหรับเทรดเดอร์ที่ยังไม่มั่นใจว่า โบรกเกอร์ Forex แบบไหนดี?
คุณน้าได้รวบรวมการจัดอันดับของโบรกเกอร์ในทุกคุณสมบัติ เช่น สเปรดต่ำ, เทรดทอง หรือโบนัสฟรี

💡 คัมภีร์เริ่มต้น มือใหม่หัดเทรด
มือใหม่หัดเทรดที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? คุณน้าได้รวบรวมเนื้อหาสำคัญที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น สำหรับการเทรด Forex มาไว้ให้แล้วที่นี่!
🔍 ตัวอย่างเนื้อหา มือใหม่หัดเทรดต้องรู้!
สรุปวิเคราะห์ GBPUSD
จุดน่าเข้า Buy
- Buy/ Long 1 : หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3383 – 1.3391 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.3391 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3402 และ SL ที่ประมาณ 1.3379 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
- Buy/ Long 2 : หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3401 – 1.3409 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3416 และ SL ที่ประมาณ 1.3387 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดน่าเข้า Sell
- Sell/ Short 1 : หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3401 – 1.3409 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้าน 1.3401 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3388 และ SL ที่ประมาณ 1.3413 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
- Sell/ Short 2 : หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.3383 – 1.3391 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3374 และ SL ที่ประมาณ 1.3405 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
คำเตือน
การให้ข้อมูลการวิเคราะห์คู่เงิน Forex ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค เป็นเพียงการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาชักชวนในการลงทุนแต่อย่างใด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจการลงทุน
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge