Commodity 101 : สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร ลงทุนแบบไหนให้ปัง

Commodity 101
Table of Contents

สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity เป็นอีกหนึ่งประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมในการลงทุน หรือการเทรดเป็นอย่างมาก แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สินค้าโภคภัณฑ์นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้ คุณน้าพาเทรดอยากพามาทำความรู้จักว่า สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร และจะลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ได้อย่างไรบ้างค่ะ


สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คืออะไร ? 

สินค้าโภคภัณฑ์ คือ สินค้าที่สามารถหาซื้อได้ทั่วโลก ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายกันอยู่เสมอค่ะ อย่างเช่น คุณน้าอยากซื้อข้าวโพด คุณน้าก็สามารถหาซื้อข้าวโพดได้จากหลายประเทศ แต่ก็อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สินค้าโภคภัณฑ์สามารถใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ หรือทั่วโลกเราได้ด้วยค่ะ 


ประเภทของ Commodity

Type of commodities

สินค้าโภคภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของสินค้าค่ะ โดยแบ่งได้เป็น


1) Soft Commodities

ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ที่ต้องปลูกและดูแล เช่น พืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ เช่น ข้าวโพด, ข้าว, เนื้อสัตว์ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีความผันผวนมากขึ้น เนื่องจากกลไกการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลายประการ การผลิตสินค้าดังกล่าวขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2) Hard Commodities

ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่โลหะ, น้ำมันสำรอง, แร่เงิน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี้เป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถตรวจสอบความต้องการทรัพยากรดังกล่าวทั่วโลก เพื่อวัดความมั่นคงในอนาคตของเศรษฐกิจได้อีกด้วยค่ะ เพราะว่าเป็นอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ สามารถคาดการณ์ได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้รู้ว่า แต่ละประเทศ หรือทั่วโลกนั้นมีลักษณะเศรษฐกิจเป็นอย่างไรบ้าง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

Factor Commodities


ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวนได้ด้วยหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยหลัก คือ อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ดังนั้นแล้ว ถ้าหากการผลิตสามารถผลิตออกมาได้น้อยลง แต่ความต้องการยังเท่าเดิม ก็จะทำให้เกิดภาวะ Supply Shock หรืออุปทานลดลงอย่างกะทันหัน จนทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตได้น้อยราคาสูงขึ้นนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์เศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, สถานการณ์ต่าง ๆ รอบโลก, ตัวนักลงทุน, ฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยค่ะ


5 กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์

Commodity 5 types


 1) สินค้าด้านพลังงาน (Energy)

ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบ, น้ำมันเตา, ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

 2) โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals)

ตัวอย่างเช่น อลูมิเนียม, ทองแดง, ตะกั่ว เป็นต้น 

 3) โลหะมีค่า (Precious Metals)

ตัวอย่างเช่น ทองคำ และเงิน เป็นต้น

 4) สินค้าเกษตร (Agricultural)

ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, กาแฟ, น้ำตาล เป็นต้น

 5) สินค้าปศุสัตว์ (Livestock)

ตัวอย่างเช่น การเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อขายแบบให้ผู้อื่นนำไปเลี้ยงต่อ, การเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้น้ำหนักที่ต้องการแล้วนำไปขาย, การเลี้ยงสัตว์จนถึงน้ำหนักที่ต้องการแล้วนำไปแปรรูปเพื่อขาย (เช่น เนื้อหมูบด)



ลงทุนกับ Commodity ได้อย่างไรบ้าง ?

สำหรับใครที่สนใจลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้ค่ะ

How to invest in Commodity


1. ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ได้โดยตรง

โดยทำสัญญาการซื้อขายแบบที่ได้สินค้าจริง เลือกลงทุนในสิ่งที่เราต้องการ

2. ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ได้ในสัญญาล่วงหน้า (Commodities Futures)

เราจะลงทุนซื้อขายในราคาล่วงหน้า เหมือนกันการเทรด โดยเราจะไม่ได้รับสินค้าจริง แต่จะได้กำไรจากส่วนต่างของราคา

3. ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ได้ทางอ้อม

สามารถซื้อขายผ่านกองทุนรวม หรือจะซื้อขายผ่าน ETF รวมไปถึงซื้อหุ้นของทางบริษัทที่มีสินค้าโภคภัณฑ์ก็ได้เช่นกันค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : คลิกที่นี่

คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกที่นี่

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
IB Forex คืออะไร ทำกำไรจากอะไร
IB Forex คืออะไร ? ทำไมหลายคนถึงทำเป็นอาชีพเสริม

IB Forex เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เป็นที่นิยมมากในยุคนี้ เพราะเป็นอีกวิธีที่สามารถสร้างรายได้เสริมได้ จนบางคนอาจจะทำให้เป็นรายได้หลักเลยทีเดียว

ทำไม ทองคำ ถึงเป็น Safe Haven ปี 2023
ทำไมทองคำถึงเป็น Safe Haven ในปี 2023

Safe Haven ที่เรียกง่าย ๆ ว่า ที่หลบภัยของนักลงทุน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีอัตราผันผวนต่ำเมื่อเศรษฐกิจของโลกเกิดความไม่แน่นอน และสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนได้เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

Sillicon Valley Bank ล่มเพราะอะไร
สรุปง่าย ๆ ใน 5 นาที Silicon Valley Bank ล่มเพราะอะไร ?

เป็นข่าวตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วนะคะ สำหรับกรณีการล่มสลายหรือพูดง่าย ๆ ก็คือสั่งปิดจนเจ๊งอย่างธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้สาเหตุว่า Sillicon Valley Bank ล่มเพราะอะไร 

Enable Notifications OK No thanks