Crypto101: อย่าหาว่าไม่เตือน! 3 ความเสี่ยงจาก Yield Farming

ความเสี่ยงจาก Yield Farming
Table of Contents

การทำฟาร์มนี่ถือว่าเป็นการธุรกิจที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายตลอดเวลาเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการทำฟาร์มจริงๆ หรือการทำฟาร์มบนโลกดิจิทัล (DeFi Yield Farming) สำหรับชาวนาดิจิทัลแล้วก็เหมือนกับชาวนาทั่วๆ ไป นั่นก็คือควรคำนึงถึง “ความเสี่ยงจาก Yield Farming” ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกวาดผลประกอบการของเราหายไปได้ในพริบตา

โดยความเสี่ยงจาก Yield Farming ที่คุณน้าจะกล่าวถึงก็มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทค่ะนั่นก็คือ ความเสี่ยงจาก Smart Contract, Impermanent loss risk, และ Liquidation risk

ความเสี่ยงจาก Smart Contract

Smart Contract นั้นจะได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมมาก ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์

แต่อย่างไรก็ตาม Smart Contract เองก็เป็นเพียงโค้ดคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดบั๊กได้เช่นเดียวกันค่ะ โดยตรงนี้เราก็ไม่สามารถโทษใครได้ค่ะ เพราะนักพัฒนาก็จะพยายามเต็มที่เพื่อที่จะให้ผลงานของตัวเองออกมาดี แต่ในทุกๆอย่างก็มีข้อผิดพลาดได้เสมอค่ะ ซึ่งช่องโหว่ตรงนี้ก็สามารถเป็นช่องที่ทำให้แฮ็กเกอร์มาขโมยเงินของเราไปได้ค่ะ 

วิธีป้องกันตัว ?

ตรงนี้คุณน้าบอกเลยว่าค่อนข้างยากนะคะ แต่เราก็สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการใช้บริการแพลทฟอร์มที่ได้รับการ Audit ค่ะ ซึ่งการ Audit ก็คือการตรวจสอบโค้ดนั่นเองค่ะ ก็จะช่วยแบ่งเบาความเสี่ยงไปได้บ้างค่ะ

Impermanent loss

หลาย ๆ โปรเจ็กต์อย่าง UniSwap หรือโปรเจ็กต์ AMMs อื่นๆที่คล้ายกันมักจะให้ผู้ใช้เก็บเงินไว้ใน liquidity pool เพื่อรับผลตอบแทนและเก็บค่าธรรมเนียมการเทรดผ่านผู้ใช้ ซึ่งก็ถือเป็น Passive Income ที่ดีที่ไม่สนใจความเชื่อมั่นของตลาด

อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาเหรียญในตลาดก็สามารถทำให้เราเจ็บตัวได้เช่นกันค่ะ อย่างที่ทุกคนทราบว่าตลาดคริปโตมีความอ่อนไหวค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆแล้ว หากเหรียญคริปโตที่นำไปทำ Yield Farming มีราคาในตลาดที่ลดลง เช่น ตอนนำ BTC ไปทำฟาร์มราคาอยู่ที่ 50,000 ดอลลาร์ แต่ต่อมาราคาลดลงเหลือ 40,000 ดอลลาร์ ทำให้ผลตอบแทนจากการทำฟาร์มลดลง ซึ่งตรงนี้ก็เรียกว่า Impermanent loss นั่นเองค่ะ

Liquidation risk

ในระบบการเงินแบบดั้งเดิม สถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร จัดให้มีสภาพคล่องโดยใช้เงินฝากจากลูกค้า โดยธนาคารได้รับประโยชน์จากการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้กู้หรือลงทุนในสินทรัพย์ แต่อุตสาหกรรม DeFi เลิกใช้ตัวกลางและอนุญาตทุกคนสามารถทำธุรกรรมระหว่างกันโดยตรง ทำให้กระบวนการทั้งหมดง่ายขึ้น ถูกลง และโปร่งใสมากขึ้น

สรุป

อย่างไรก็ตาม ข้อดีเหล่านี้มาพร้อมกับความเสี่ยงในการชำระบัญชีหากราคาของหลักประกันลดลงต่ำกว่าราคาเงินกู้ ในกรณีนี้ไม่เพียงพอต่อยอดเงินกู้อีกต่อไป จึงมีการชำระบัญชี ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องแบกรับความสูญเสียเอาไว้เอง ตรงนี้อาจจะงงๆกันใช่ไหมนะ เดี๋ยวคุณน้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆค่ะ สมมติว่าเราได้ทำการกู้ BTC ผ่าน AAVE และใช้ ETH เป็นหลักประกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะของ BTC จะสร้าง Liquidation risk ให้กับ ETH เพราะว่าค้ำประกันเราจะน้อยกว่ามูลค่าของ BTC ที่เรากู้มา และนี้ก็คือความเสี่ยงจาก Yield Farming ที่คุณน้าได้รวบรวมมาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่เทรดเดอร์ทุกคนนะคะ สำหรับวันนี้ ขอบคุณและสวัสดีค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก : Finxpd

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
แนะนำ 4 ประกันสัตว์เลี้ยง
4 ประกันสัตว์เลี้ยงแนะนำ สำหรับคนรักสัตว์โดยเฉพาะ!!

ประกันสัตว์เลี้ยงถือเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับคนรักสุนัขรักแมว เชื่อว่าใครหลายคนอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดกับคนที่เรารักไม่เว้นแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงค่ะ ซึ่งการทำประกันสัตว์เลี้ยงจะช่วยในเรื่องของการดูแลค่ารักษาและยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงอีกด้วย วันนี้คุณน้าอยากจะมาแนะนำ “ประกันสัตว์เลี้ยง” อีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง ทำไมถึงควรทำ ? ติดตามได้ในบทความนี้เลยค่ะ   Pet

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร ? เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ไว้ ใครต้องจ่ายบ้าง ?
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร ? เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ไว้ ใครต้องจ่ายบ้าง ?

ภาษีธุรกิจเฉพาะถือเป็นเรื่องใกล้ตัวกับทุกคนในวัยทำงาน คุณน้าจะมาไขข้อสงสัยและทำความรู้จักกับภาษีธุรกิจเฉพาะ ติดตามกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ