ไม่อยากเสียสิทธิต้องอ่าน ! ประกันสังคมมีประโยชน์อย่างไร ?

ไม่อยากเสียสิทธิต้องอ่าน ! ประกันสังคมมีประโยชน์อย่างไร ?
Table of Contents

วัยทำงานควรรู้! สิทธิประกันสังคมมีประโยชน์มาก ๆ นอกจากจะช่วยให้เราได้รับเงินชดเชยในตอนที่เจ็บป่วยแล้ว ยังสามารถใช้ทำฟัน, ฉีดวัคซีน, ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี หรือแม้แต่ได้เงินชดเชยเมื่อออกจากงานด้วยค่ะ ซึ่งนอกจากสิทธิประโยชน์ที่คุณน้าได้กล่าวไปแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น หากไม่อยากเสียสิทธิต้องอ่านบทความนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามกันค่ะ

ประกันสังคม คืออะไร ?

ประกันสังคม คือ หลักประกันสำหรับผู้มีรายได้ที่บริษัททำร่วมกับรัฐบาลค่ะ โดยจะมีการจ่ายเบี้ยประกัน หรือที่เรียกว่า “เงินสมทบ” ให้แก่กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund) เพื่อให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองในด้านการรักษาพยาบาลและทดแทนรายได้เมื่อลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้นั่นเองค่ะ

ประกันสังคมคุ้มครองกรณีไหนบ้าง ?

  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • เสียชีวิต
  • สงเคราะห์บุตร
  • ชราภาพ
  • ว่างงาน

ประกันสังคมมีกี่ประเภท ?

โดยทั่วไปแล้ว ประกันสังคมจะมีอยู่ 3 ประเภท ตามสถานะของผู้ประกันตน ดังนี้ค่ะ

1. ประกันสังคมมาตรา 33

ประกันสังคมมาตรา 33

ประกันสังคมมาตรา 33 คือ ประกันที่นายจ้างหรือบริษัทจะช่วยสมทบเงินให้กับลูกจ้างในการทำประกันสังคม โดยลูกจ้างที่สามารถทำประกันสังคม ม.33 ได้จะต้องมีอายุตั้งแต่ 15 – 60 ปีค่ะ

ประกันสังคมมาตรา 33 เหมาะกับใคร ?

  • ลูกจ้างที่ทำงานประจำในบริษัท, ห้างร้าน หรือโรงงานที่อยู่ในระบบ
  • พนักงานบริษัทเอกชน

การส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33

  • ลูกจ้าง 5% ของรายได้ต่อเดือน โดยมีขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
  • นายจ้าง 5% ของรายได้ต่อเดือน ของรายได้ต่อเดือน โดยมีขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
  • รัฐบาล 2.75% ของรายได้ต่อเดือน 


ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป กองทุนประกันสังคมจะมีการปรับขึ้นเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ดังนี้ค่ะ

ปีการปรับขึ้นเงินสมทบ ม.33
ปัจจุบันเพดานเงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 750 บาท
ช่วงที่ 1 (ปี 2567 – 2569)เพดานเงินเดือน 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 875 บาท
ช่วงที่ 2 (ปี 2570 – 2572)เพดานเงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,000 บาท
ช่วงที่ 3 (ปี 2573 เป็นต้นไป) เพดานเงินเดือน 23,000 จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,150 บาท

โดยสถานะผู้ประกันตน ม.33 จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อลูกจ้างลาออก, ถูกเลิกจ้าง, เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต ซึ่งหลังจากสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน ลูกจ้างจะยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่ออีก 6 เดือนค่ะ นั่นหมายความว่า ในช่วงดังกล่าว ทุกคนจะยังสามารถใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบนั่นเองค่ะ


2. ประกันสังคมมาตรา 39

ประกันสังคมมาตรา 39

ประกันสังคมมาตรา 39 คือ ประกันสำหรับคนที่เคยเป็นผู้ประกันตน ม.33 มาไม่ต่ำกว่า 1 ปีค่ะ ซึ่งหากต้องการคงสิทธิผู้ประกันตนก็จะต้องทำประกันสังคม ม.39 แทนภายใน 6 เดือน หลังจากสิ้นสุดสถานะลูกจ้างนั่นเองค่ะ

ประกันสังคมมาตรา 39 เหมาะกับใคร ?

  • อดีตลูกจ้างที่ว่างงานไม่เกิน 6 เดือน 
  • คนที่ต้องการคงสิทธิประกันสังคม

การส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39

ผู้ประกันตน ม.39 จะต้องส่งเงินสมทบจำนวน 432 บาท/เดือน อย่างต่อเนื่อง หากไม่ส่งเงินสมทบเกิน 3 เดือนติดต่อต่อกัน หรือส่งเงินสมทบไม่ถึง 9 เดือน จาก 12 เดือน จะสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน ม.39 ทันทีค่ะ


3. ประกันสังคมมาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40 คือ ประกันสำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระ โดยจะต้องไม่เคยเป็นผู้ประกันตน ม.33/ 39 หรือข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือผู้พิการที่ไม่สามารถรับรู้สิทธิ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 – 65 ปีค่ะ

ประกันสังคมมาตรา 40 เหมาะกับใคร ?

  • คนที่ทำอาชีพอิสระ
  • คนที่ต้องการความคุ้มครอง

การส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

ผู้ประกันตน ม.40 จะต้องส่งเงินสมทบตามแผนที่ตัวเองเลือก ได้แก่

  • แผนที่ 1 : จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
  • แผนที่ 2 : จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
  • แผนที่ 3 : จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

โดยทั้ง 3 แผนในข้างต้น นอกจากจะแตกต่างกันในด้านจำนวนเงินสมทบแล้ว ความคุ้มครองของแต่ละแผนก็จะแตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งคุณน้าจะพาไปดูในหัวข้อถัดไปค่ะ 

อย่างไรก็ดี การสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน ม.40 จะแตกต่างจากผู้ประกันตน ม.33 และ 39 คือ หากไม่ได้ส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง สถานะผู้ประกันตนก็จะไม่ได้หายไป เพียงแต่จะไม่สามารถใช้สิทธิความคุ้มครองได้เท่านั้นค่ะ ดังนั้น หากทุกคนอยากใช้สิทธิได้อย่างต่อเนื่องก็ต้องไม่ขาดส่ง ซึ่งเราสามารถนำส่งเงินสมทบล่วงหน้าเพื่อป้องกันการลืมได้ค่ะ


สิทธิประกันสังคมมีอะไรบ้าง ?

ไม่ใช่ผู้ประกันตนทุกมาตราจะได้รับสิทธิความคุ้มครองเหมือนกัน ดังนั้น คุณน้าจะพาไปดูสิทธิประกันสังคมของแต่ละมาตรากันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

1. กรณีเจ็บป่วย

สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย
ผู้ป่วยนอก (OPD)ผู้ป่วยใน (IPD)
ผู้ประกันตน ม.33 / 39สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล – เบิกค่ารักษาได้ตามจริง
สำหรับโรงพยาบาลเอกชน – เบิกค่ารักษาได้ตามจริง ไม่เกิน 1,000 บาทสำหรับโรงพยาบาลเอกชน – เบิกค่ารักษาได้ตามจริง ไม่เกิน 2,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)เงินทดแทนรายได้ 300 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน/ปี)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)เงินทดแทนรายได้ 300 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน/ปี)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)เงินทดแทนรายได้ 300 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 90 วัน/ปี)

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

เงื่อนไข

  • กรณีเข้ารักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ที่โรงพยาบาลรัฐ จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงภายใน 72 ชั่วโมง ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ
  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการ


2. กรณีคลอดบุตร

สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนหญิงผู้ประกันตนชาย
ผู้ประกันตน ม.33 / 39ค่าคลอดบุตร 15,000 บาท
ค่าตรวจและฝากครรภ์ สูงสุด 1,500 บาท
เงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน
ผู้ประกันตน ม.40 

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร
  • กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรหรือครั้งในการเบิก


3. กรณีทุพพลภาพ

สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ
ระดับเสียหายไม่รุนแรงระดับเสียหายรุนแรง
ผู้ประกันตน ม.33 / 39เงินทดแทนรายได้ 30% ไม่เกิน 180 เดือนเงินทดแทนรายได้ 50% ตลอดชีวิต
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)เงินทดแทนรายได้ 500 – 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ปี
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)เงินทดแทนรายได้ 500 – 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ปี
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)เงินทดแทนรายได้ 500 – 1,000 บาท ตลอดชีวิต

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน)
  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถรับบริการที่โรงพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง


4. กรณีเสียชีวิต

สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต
ผู้ประกันตน ม.33 / 39จ่ายเงินสมทบ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน – รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมค่าทำศพ 50,000 บาท
จ่ายเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป – รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมค่าทำศพ 50,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)ค่าทำศพ 25,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)ค่าทำศพ 25,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)ค่าทำศพ 50,000 บาท

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
  • ผู้ประกันตน ม.40 แผนที่ 1 และ 2 จะได้รับค่าทำศพเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต


5. กรณีสงเคราะห์บุตร

สิทธิประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตน ม.33 / 39เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 2 คน

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน


6. กรณีชราภาพ

สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ
เงินบำนาญชราภาพ
(ทยอยจ่ายรายเดือน)
เงินบำเหน็จชราภาพ
(จ่ายก้อนเดียว)
ผู้ประกันตน ม.33 / 39จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) – รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน – รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะในส่วนของผู้ประกันตน
จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) – รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป – รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ
กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ – จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)รับเงินบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)รับเงินบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ
  • ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3) เมื่อส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะรับได้รับเพิ่ม 10,000 บาท


7. กรณีว่างงาน

สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน
ถูกเลิกจ้างลาออก / สิ้นสุดสัญญาจ้างว่างงานจากเหตุสุดวิสัย
ผู้ประกันตน ม.33รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง (ครั้งละไม่เกิน 200 วัน)รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง (ครั้งละไม่เกิน 90 วัน)รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง (ครั้งละไม่เกิน 90 วัน)
ผู้ประกันตน ม.39
ผู้ประกันตน ม.40 
สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน
  • ต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือทำผิดกฎหมายกรณีร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร หรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ


สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 / 39 / 40 แตกต่างกันอย่างไร ?

ทุกคนน่าจะเห็นกันแล้วใช่มั้ยคะว่า สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 / 39 / 40 นั้นมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในแต่ละกรณี ทั้งในเรื่องความคุ้มครองและจำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับ ดังนั้น คุณน้าจะพาไปดูสรุปสิทธิประกันสังคมแบบภาพรวมอีกครั้งกันค่ะว่า ผู้ประกันแต่ละมาตราจะได้รับสิทธิประกันสังคมอะไรบ้าง

สิทธิประกันสังคมม.33ม.39ม.40
(แผน 1)(แผน 2)(แผน 3)
เจ็บป่วย
คลอดบุตร
ทุพพลภาพ
เสียชีวิต
สงเคราะห์บุตร
ชราภาพ
ว่างงาน


ใครมีสิทธิประกันสังคมบ้าง ?

  • ผู้ประกันตน ม.33 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชน
  • ผู้ประกันตน ม.39 ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตน ม.33 มาก่อนหน้า
  • ผู้ประกันตน ม.40 ซึ่งเป็นผู้ที่ทำอาชีพอิสระ

จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีสิทธิประกันสังคม ?

ก่อนจะใช้สิทธิประกันสังคม คุณน้าขอแนะนำให้ทุกคนตรวจสอบสิทธิของตัวเองกันก่อนค่ะ โดยสามารถทำได้ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมหรือแอปพลิเคชัน SSO Connect
  2. เลือก “เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน” เพื่อ Login โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ค่ะ
  3. เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล” เพื่อดูว่า สิทธิรักษาของเราอยู่ที่โรงพยาบาลไหน สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่
  4. เลือกหัวข้อ “ข้อมูลการส่งเงินสมทบ” เพื่อดูว่า เราส่งเงินสมทบไปแล้วกี่เดือน เข้าเกณฑ์กำหนดความคุ้มครองในแต่ละกรณีหรือไม่

ประกันสังคมมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ?

ข้อดีของประกันสังคม

  • ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง 
  • ได้รับความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
  • ทำกับหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง
  • เบี้ยประกันถูก
  • หากเป็น ม.33 นายจ้างจะช่วยสมทบเงินเบี้ยประกันครึ่งหนึ่ง
  • มีเงินได้จากบำเหน็จหรือบำนาญเมื่อเกษียณอายุ
  • ประกันสังคมสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามเบี้ยที่จ่าย

ข้อเสียของประกันสังคม

  • จำกัดการใช้สิทธิในแต่ละสถานพยาบาล
  • ยารักษาโรคสำหรับผู้ใช้สิทธิประกันสังคมอาจมีคุณภาพด้อยกว่ายารักษาโรคทั่วไปที่เสียเงินจ่ายเอง
  • สถานพยาบาลที่ใช้สิทธิได้อาจมีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องรอคิวนานค่ะ
  • สถานพยาบาลบางแห่งอาจต้องสำรองจ่ายก่อน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันสังคม

ผู้ประกันตนประกันสังคมสิ้นสุดลงยังไง ?

ตอบ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปี, เมื่อผู้ประกันตนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ และเมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิตค่ะ

เราจะได้เงินประกันสังคมตอนไหน ?

ตอบ ตอนชราภาพ (อายุมากกว่า 55 ปี), ตอนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ และตอนเสียชีวิตค่ะ ซึ่งการจะได้เงินคืนจะต้องเข้าเกณฑ์ที่กำหนดค่ะ

เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม ?

ตอบ ได้ค่ะ โดยสามารถเปลี่ยนได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) หรือแอปพลิเคชัน SSO Connect โดยเลือก “ขอเปลี่ยนสถานพยาบาล” ซึ่งสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงที่สำนักงานประกันสังคมเปิดให้ยื่นคำขอ และท่านสามารถใช้สิทธิได้ที่โรงพยาบาลได้หลังจากเปลี่ยนสิทธิประมาณ 1-2 สัปดาห์ค่ะ

ลงทะเบียนว่างงานต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ ทุกคนสามารถลงทะเบียนว่างงานได้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้เอกสารดังนี้ 
🔸แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (แบบฟอร์ม สปส.2-01/7) หรือหนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน
🔸สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
🔸สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ

ลงทะเบียนคนว่างงานได้เงินกี่บาท ?

ตอบ กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง คุณจะได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของระยะเวลาที่ได้รับเงินชดเชยค่ะ

สรุป ประกันสังคมมีประโยชน์อย่างไร

“ประกันสังคม” นับเป็นประกันที่นายจ้างส่วนใหญ่เลือกทำให้กับลูกจ้างของตัวเอง เนื่องจากเป็นประกันที่ทำร่วมกับรัฐบาลค่ะ แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่แค่พนักงานออฟฟิศเท่านั้นที่มีสิทธิ แต่ยังรวมไปถึงอดีตลูกจ้างและคนที่ทำงานอิสระด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับก็จะแตกต่างกันไปตามมาตราหรือแผนประกันที่เลือกค่ะ ดังนั้น คุณน้าจึงอยากให้ทุกคนศึกษาสิทธิประโยชน์ให้ดี เพราะมันอาจทำให้เราพลาดสิทธิได้

คุณน้าขอเพิ่มเติมข้อมูลให้นะคะ จากที่เคยทำประกันสังคมมาก่อน คุณน้าแนะนำว่า ให้ทุกคนหมั่นติดตามข่าวสารสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ที่เพจและเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม หรือกลุ่มที่ใช้ประชาสัมพันธ์ก็ได้ค่ะ เพราะสิทธิประโยชน์ในบางช่วงอาจแตกต่างกันค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Finnomena, Krungsri และ Thairath

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 2 พฤษภาคม 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,325 / 2,335 / 2,350
แนวรับ : 2,310 / 2,295 / 2,280

ส่องหุ้น HYBE ค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ในเกาหลีใต้ หุ้นจะรอดหรือร่วง! หลังปมขัดแย้งกับ ADOR
ส่องหุ้น HYBE ค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ในเกาหลีใต้ หุ้นจะรอดหรือร่วง! หลังปมขัดแย้งกับ ADOR

ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับธุรกิจ HYBE ค่ายเพลงอันดับต้นในเกาหลีใต้ ให้มากยิ่งขึ้น หุ้น HYBE จะรอดหรือจะร่วง? บทความนี้มีคำตอบค่ะ!

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 29 เมษายน 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทมรนที่ 29 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,340 / 2,355 / 2,370
แนวรับ : 2,315 / 2,295 / 2,280