Ichimoku Cloud คืออะไร? อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆสารพัดประโยชน์ กับเคล็ดลับการเทรดที่คุณควรรู้!

Ichimoku Cloud คืออะไร? อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆสารพัดประโยชน์
Table of Contents

กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับการแนะนำเครื่องมือสำหรับเทรดเดอร์ ในวันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์สารพัดประโยชน์ที่ครบจบในตัวเอง อย่าง Ichimoku Cloud หรือที่เทรดเดอร์ชาวไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆนั่นเองค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้องกับ Indicator เพิ่มเติม


Ichimoku Cloud คืออะไร?

Ichimoku Cloud หรือ Ichimoku Kinko hyo คือ อินดิเคเตอร์วิเคราะห์กราฟราคาที่เหมาะกับแนวโน้มระยะกลางและระยะยาวค่ะ ซึ่ง Ichimoku Cloud ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1930 โดยนักข่าวชาวญี่ปุ่น Goichi Hosoda ซึ่งเขาใช้เวลาพัฒนาเทคนิคนี้มานานกว่า 30 ปี จึงจะสามารถนำอินดิเคเตอร์ประเภทนี้มาเผยแพร่สู่สาธารณชนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1960 

สำหรับคุณสมบัติเด่น ๆ ของ Ichimoku Cloud คือ เป็นเครื่องมือที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการระบุแนวรับ-แนวต้าน, การหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย, ใช้ดูแนวโน้มของตลาด ตลอดจนการระบุโมเมนตัม อิชิโมกุ คลาวด์ก็สามารถทำได้ดีเช่นกันค่ะ

ด้วยเหตุนี้เอง Ichimoku Cloud จึงสามารถกรองการเทรดได้อย่างแม่นยำว่า “จุดไหนควรเข้าเทรด” และ “จุดไหนไม่ควรเข้าเทรด” ซึ่งเรียกได้ว่า Ichimoku Cloud กลายเป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์สารพัดประโยชน์ที่ครบเครื่องเป็นอย่างมากค่ะ


ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีอะไรบ้าง?

ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีอะไรบ้าง?
  • Chikou Span (เส้นสีเขียว) : เส้นราคาปิด ในระยะเวลา 26 วันที่ผ่านมา
  • Kijun-Sen (เส้นสีน้ำเงิน) : ค่าเฉลี่ย High + Low ในระยะเวลา 26 วัน 
  • Tenkan-Sen (เส้นสีแดง) : ค่าเฉลี่ย High + Low ในระยะเวลา 9 วัน
  • Senkou Span A/ Up Kumo (เส้นสีน้ำตาล) : ค่าเฉลี่ยของ Kenji และ Tenkan (โดยนำ Kenji + Tenkan / 2)
  • Senkou Span B/ Down Kumo (เส้นสีม่วง) : ค่าเฉลี่ยของ High + Low ในระยะเวลา 52 วัน

ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีทั้งหมด 5 เส้นด้วยกันค่ะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. Chikou Span

Chikou Span คือ เส้นที่แสดงราคาปิดย้อนหลังในระยะเวลา 26 วันที่ผ่านมา ซึ่งเส้น Chikou Span จะใช้บ่งบอกถึงโมเมนตัมของตลาดว่าอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Bullish) หรือแนวโน้มขาลง (Bearish) หรือไม่? 

2. Kijun-Sen

Kijun-Sen คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ระยะกลางที่ถูกคำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของช่วงราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ในระยะเวลา 26 วันค่ะ โดยเส้น Kijun-Sen จะตัดกับเส้น Tenkan-Sen เพื่อแสดงถึงสัญญาณการซื้อ-ขายค่ะ

3. Tenkan-Sen

Tenkan-Sen คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ระยะสั้นที่ถูกคำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของช่วงราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ในระยะเวลา 9 วันค่ะ

4. Senkou Span A

Senkou Span A หรือ Up Kumo คือ เส้นที่ใช้ระบุแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเทรดเดอร์สามารถสังเกตเส้นนี้ได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • หากเส้น Senkou Span A อยู่เหนือเส้น Senkou Span B แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้นนั่นเองค่ะ 
  • คำนวณจากค่าเฉลี่ยของเส้น Kenji – Sen และ Tenkan-Sen แล้วหารด้วย 2 
  • แสดงถึงแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว

5. Senkou Span B

Senkou Span B หรือ Down Kumo คือ เส้นที่ใช้ระบุแนวโน้มขาลง ซึ่งเทรดเดอร์สามารถสังเกตเส้นนี้ได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • หากเส้น Senkou Span B อยู่เหนือเส้น Senkou Span A แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาลงนั่นเองค่ะ
  • คำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของช่วงราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ในระยะเวลา 52 วัน
  • แสดงถึงแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว


Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไง?

Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไง

การตั้งค่าดั้งเดิมของ Ichimoku Cloud จะมีค่าเริ่มต้น ดังนี้

  • Tenkan-Sen : 9
  • Kijun-Sen : 26
  • Senkou Span B : 52

โดยคุณสามารถใช้การตั้งค่าดั้งเดิมได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องปรับการตั้งค่าใหม่ค่ะ ซึ่งคุณน้าขอแนะนำว่า การตั้งค่าดั้งเดิมนี้เหมาะกับกรอบเวลา 1H ขึ้นไปค่ะ ซึ่งการตั้งค่าสีแบบดั้งเดิมของ Ichimoku Cloud จะเป็นสีตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ

Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไง


ข้อดี-ข้อควรระวังของ Ichimoku Cloud

ข้อดี

  • Ichimoku Cloud สามารถใช้ได้กับสินทรัพย์ในทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็น Forex และหุ้น เพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ใช้วัดความผันผวนของราคาได้
  • ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุแนวโน้มได้แม่นยำยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถกรองสภาวะในตลาดได้จากกรอบเวลาของการเทรด
  • มีการ Set-up ที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ง่ายต่อการเทรด
  • ช่วยให้เทรดเดอร์ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง

  • ไม่เหมาะกับการเทรดในตลาดลักษณะ Sideway
  • ไม่เหมาะกับการเทรดระยะสั้น

ไขเคล็ดลับเทรดด้วย Ichimoku Cloud ใช้ยังไง? 

หลังจากที่เราได้รู้ถึงส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าแต่ละเส้นนั้นมีจุดสังเกตที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งดูเหมือนว่าเส้นของอิชิโมกุคลาวด์จะค่อนข้างเยอะและสร้างความสับสนใช่ไหมคะ ดังนั้น คุณน้าจะขอนำเสนอเคล็ดลับเทรดด้วย Ichimoku Cloud ใช้ยังไงนะ? ไปหาคำตอบกันค่ะ!

วิธีการอ่านสัญญาณ Ichimoku Cloud

เทรดเดอร์สามารถใช้อิชิโมกุในการกรองหาจังหวะที่ควรเทรดหรือไม่ควรเทรดได้ค่ะ โดยหลัก ๆ แล้วเทรดเดอร์จะใช้เส้น Kijun-Sen, Tenkan-Sen, Senkou Span B เป็นหลักค่ะ ซึ่งคุณน้าขอยกตัวอย่างตลาดในแนวโน้มขาขึ้น-ขาลงและเทคนิคการหาจุดเข้าเทรดด้วย Ichimoku Cloud เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ตลาดในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

วิธีการอ่านสัญญาณ Ichimoku Cloud : ตลาดในแนวโน้มขาขึ้น

วิธีการดู Ichimoku Cloud จะมีจุดสังเกต ดังนี้

  • เส้น Tenkan-Sen และเส้น Kijun-Sen จะอยู่เหนือเส้น Senkou Span B/Down Kumo
  • เส้น Tenkan-Sen จะตัดขึ้นมาอยู่เหนือเส้น Kijun-Sen และอยู่ใต้เส้นราคา
  • เส้น Chikou Span จะอยู่เหนือเส้นราคา

2. ตลาดในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

วิธีการอ่านสัญญาณ Ichimoku Cloud : ตลาดในแนวโน้มขาลง

วิธีการดู Ichimoku Cloud จะมีจุดสังเกต ดังนี้

  • เส้น Tenkan-Sen และเส้น Kijun-Sen จะอยู่ใต้เส้น Senkou Span B/Down Kumo
  • เส้น Tenkan-Sen จะตัดขึ้นมาอยู่ใต้เส้น Kijun-Sen และอยู่เหนือเส้นราคา
  • เส้น Chikou Span จะอยู่ใต้เส้นราคา

3. เทคนิคการหาจุดเข้าเทรดด้วย Ichimoku Cloud

เทคนิคการหาจุดเข้าเทรดด้วย Ichimoku Cloud

คุณน้าขอแนะนำจุดเข้าซื้อในตลาดขาขึ้นค่ะ โดยคุณสามารถสังเกตสัญญาณได้ว่า เมื่อราคาเกิดการ Breakout ในบริเวณเส้น Senkou Span B/Down Kumo แล้วนั้น ราคาจะมีการย่อกลับไปรีเทสที่เส้น Tenkan-Sen หรือเส้น Kijun-Sen ซึ่งราคาจะไม่สามารถลงต่ำไปกว่านั้นได้ค่ะ นั่นก็แสดงว่าราคาจะมีการกลับตัวพุ่งสูงขึ้นไปอีก ดังนั้น คุณสามารถเข้าซื้อ (Buy Entry) ได้ที่ตรงจุด “Re-Test” ตามรูปด้านบนเลยค่ะ


📢 คำแนะนำจากคุณน้า

อิชิโมกุ คลาวด์สามารถใช้ได้ดีในตลาดขาขึ้น (Uptrend) และตลาดขาลง (Downtrend) ซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับตลาด Sideway เนื่องจากตลาดนี้มีความผันผวนค่อนข้างมากค่ะ ทำให้เส้น Senkou Span A/Senkou Span B จะเป็นก้อนเมฆบาง ๆ ที่สวิงค่อนข้างมาก เป็นเหตุให้คุณเจอสัญญาณหลอกได้นั่นเองค่ะ

ดังนั้น คุณน้าขอแนะนำว่าคุณควรเลือกใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นควบคู่ไปด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น อินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator จะใช้วัดสัญญาณการกลับตัว (Divergence) ของตลาดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ยอดนิยมนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น RSI, MACD และ Stochastic Oscillator เป็นต้น


เทรดเดอร์สามารถใช้ Ichimoku Cloud ได้ที่ไหนบ้าง?

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า Ichimoku Cloud เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากค่ะ ซึ่งทุกคนสามารถใช้อิชิโมกุ คลาวด์ได้ในแพลตฟอร์มการซื้อขายส่วนใหญ่ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น MT4/MT5 หรือแม้แต่ TradingView เป็นต้น 

นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังสามารถใช้อินดิเคเตอร์ประเภทนี้ได้ผ่านโบรกเกอร์ที่ให้บริการได้ค่ะ โดยคุณน้าจะขอยกตัวอย่าง 3 โบรกเกอร์ที่สามารถใช้อินดิเคเตอร์ Ichimoku Cloud ได้ ไม่ว่าจะเป็น IUX (เปิดบัญชี), Exness (เปิดบัญชี) และ XTB (เปิดบัญชี) เป็นต้น


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Ichimoku Cloud

Ichimoku Cloud คืออะไร?

Ichimoku Cloud คือ อินดิเคเตอร์กราฟราคาที่เหมาะกับแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว โดยคุณสมบัติเด่น ๆ ของอิชิโมกุ คลาวด์ คือ เป็นเครื่องมือที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการระบุแนวรับ-แนวต้าน และ การหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย เป็นต้น

Ichimoku Cloud ตั้งค่าดั้งเดิมอยู่ที่เท่าไหร่?

Ichimoku Cloud มีการตั้งค่าดั้งเดิม ดังนี้

1. Tenkan-Sen : 9

2. Kijun-Sen : 26

3. Senkou Span B : 52

Ichimoku Cloud ข้อเสียมีอะไรบ้าง?

1. ไม่เหมาะกับการเทรดในตลาดลักษณะ Sideway

2. ไม่เหมาะกับการเทรดระยะสั้น


สรุป Ichimoku Cloud (อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆ)

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า Ichimoku Cloud เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่างค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการระบุแนวรับ-แนวต้าน, การหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย และการระบุแนวโน้มในตลาด เป็นต้น ทำให้อินดิเคเตอร์ประเภทนี้เหมาะกับการเทรดในระยะกลางและระยะยาว เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย

อย่างไรก็ดี Ichimoku Cloud ก็มีข้อควรระวังเช่นกันค่ะ ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาข้อมูลของอินดิเคเตอร์ให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกใช้ เพราะอินดิเคเตอร์แต่ละตัวก็มีจุดเด่น-จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไปค่ะ

อีกทั้งอย่าลืมเช็กสัญญาณหลอกของตลาดและอย่าลืมตั้งจุด Stop Loss – Take Profit ด้วยนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากคุณน้าพาเทรด และในบทความหน้า คุณน้าจะพาไปรู้จักกับอินดิเคเตอร์ตัวไหนอีก? อย่าลืมติดตามกันให้ดีค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ThaiForexReview และ Admirals


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post