Stock101 : หุ้นต่างประเทศ คืออะไร ? รวมทั้งข้อดีและข้อเสีย

หุ้นต่างประเทศ
Table of Contents

สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะกับคุณน้าพาเทรด วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมาเตรียมตัวเข้าสู่ตลาด หุ้นต่างประเทศ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วตามมาได้เลยค่ะ

สำหรับการเล่นหุ้นต่างประเทศนี้ แน่นอนที่สุดว่ามันมีความยากอีกระดับหนึ่งเลยล่ะค่ะ เนื่องจากเราต้องรอบรู้เศรษฐกิจรอบด้าน ไม่เพียงแต่เพียงในประเทศเท่านั้น เรียกได้ว่างานนี้ไม่ใช่งานหมู ๆ เลยนะคะ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ สมัยนี้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายมาก ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารก็ติดตามเพจคุณน้าพาเทรดได้เช่นกันค่ะ

และถ้าให้พูดถึงหุ้นต่างประเทศที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้น “ตลาดหุ้นอเมริกา และตลาดหุ้นญี่ปุ่น” แต่ถ้าเรามองให้ใกล้เข้ามาอีกนิด “ตลาดหุ้นเวียดนาม” ก็ถือเป็นตลาดหุ้นที่น่าสนใจไม่แพ้ตลาดหุ้นไทยเลยค่ะ เป็นหนึ่งในเป้าหมายของนักลงทุนรุ่นใหม่ และมีอนาคตเติบโตสูง

ทำไมต้องลงทุนกับ หุ้นต่างประเทศ ?

เป็นอีกคำถามยอดฮิตที่พบกันบ่อยเลยค่ะ ส่วนตัวคุณน้าว่าหุ้นต่างประเทศมีความน่าสนใจ และคุ้มค่าที่จะลงทุนมากค่ะ เพราะในชีวิตประจำวันของเราล้วนแล้วแต่มีผลิตภัณฑ์จากหุ้นต่างประเทศทั้งนั้น เช่น ในชีวิตประจำวันของเราตื่นเช้ามาหลายๆ คนก็คงเข้าเช็ค Facebook อัพเดตข่าวสารกันเป็นอันดับแรก ผ่านมือถือ iPhone อาบน้ำผ่านฝักบัว Kohler ทาครีม Maybelline สวมเสื้อ American Eagle แวะซื้อกาแฟ Starbucks แค่นี้ก็เห็นได้แล้วว่าหุ้นต่างประเทศมีอิทธิพลกับชีวิตเรามากขนาดไหน

ดังนั้น จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมนักลงทุนหลาย ๆ คนจึงกล้าที่จะลงทุนในหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นต่างประเทศ เพราะพวกเราคุ้นชิน และก็รู้สึก “อิน” ที่ได้ลงทุนในหุ้นของสินค้า และแบรนด์ที่เราชื่นชอบนั่นเอง

ลงทุนกับ หุ้นต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

หุ้นต่างประเทศ

หาที่เปิดบัญชีลงทุน หุ้นต่างประเทศ

ขั้นตอนแรก ในการที่เราจะทำการลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้นั้น เราต้องมีแหล่งที่เราจะลงทุนก่อน หรือเรียกว่า โบรกเกอร์ นั่นเอง ณ ปัจจุบันมีหลากหลายโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อหุ้นต่างประเทศ ซึ่งแต่ล่ะที่ก็มีความแตกต่างกัน ข้อดี-ข้อเสีย ดังนั้น ลองหาโบรกเกอร์ที่เหมาะกับเราที่สุดดูก่อนนะคะ

หาที่ดูกราฟ ดูงบการเงิน

มีหลายเว็บไซต์ให้เราเลือกดูค่ะ เช่น Investing, TradingView ซึ่งเป็นเว็บไซต์ฟรีที่สามารถเข้าถึงตลาดหุ้นได้ทั่วโลก และสามารถเซ็ทค่าไว้ได้ด้วย ถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียวครับ แต่ถ้าหากใครมีเงินมากหน่อยก็สามารถใช้โปรแกรมเสียเงินได้นะคะ เพราะ ดูกราฟง่ายกว่า ถือว่าซื้อความสะดวกสบายค่ะ

ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยงของค่าเงิน

ข้อนี้สำคัญมากๆ ค่ะ เนื่องจากการที่เราจะไปลงทุนหุ้นต่างประเทศได้เราต้องมีการแลกเงินให้ไปเป็นสกุลเงินนั้น ๆ เช่น หากเราสนใจลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เราก็ต้องแลกเงินดอลลาร์ก่อนถึงจะลงทุนได้ ซึ่งแน่นอนว่า มันมีเรื่องความเสี่ยงของค่าเงินเข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน หากใครรู้สึกว่าไม่อยากเสี่ยง ก็สามารถทำการ Hedge ค่าเงินไว้ก่อนได้ค่ะ แต่อาจจะต้องเสียค่าสัญญานิดหน่อย

เปิดบัญชีซื้อหุ้นต่างประเทศอย่างไร ?

  1. เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ : ค่าคอมมิชชันและค่าธรรมเนียมการซื้อขายถูกกว่าช่องทางอื่น แต่ต้องสื่อสาร และกรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาที่โบรกเกอร์นั้น ๆ ใช้
  2. เปิดบัญชี และทำธุรกรรม กับโบรกเกอร์ในไทย : สะดวกในการใช้บริการ ติดต่อสื่อสารง่าย แต่ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายแพงกว่าโบรกเกอร์ต่างประเทศ
  3. ใช้บริการจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนของต่างประเทศ : ไม่ต้องใช้เงินมากในการซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละครั้ง แต่เนื่องจากอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานต่างประเทศ หากมีอะไรผิดปกติที่เสี่ยงกระทบกับการลงทุนอาจจัดการได้ยาก

ข้อดี-ข้อเสีย หุ้นต่างประเทศ

การซื้อหุ้นต่างประเทศมีข้อดีมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป ยังมีข้อเสียที่นักลงทุนต้องระมัดระวังอีกด้วย จะมีอะไรบ้าง วันนี้คุณน้าได้รวบรวมมาให้ ไปดูกันเลยค่ะ

ข้อดี

  • มีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลก : แน่นอนว่าซื้อหุ้นต่างประเทศในบริษัทมีชื่อเสียง ดัง ๆ ส่วนใหญ่ทำกำไรได้สูง แน่นอนว่าผลตอบแทนดีไปตามด้วย ยิ่งในช่วงค่าเงินอ่อน สามารถแลกเงินต่างประเทศเป็นเงินบาทได้มากขึ้นอีกด้วยค่ะ
  • ช่วยกระจายความเสี่ยง : ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตได้ แน่นอนว่าการลงทุนในประเทศเดียว ย่อมมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่แบ่งไปลงทุนหุ้นต่างประเทศบ้างอยู่แล้ว
  • มีหุ้นดี ๆ ที่มีโอกาสเติบโตสูง : หุ้นต่างประเทศจะมีโอกาสลงทุนในหุ้นใหม่ ๆ ที่ไทยไม่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม New Economy ขณะที่หุ้นไทยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่ม Old Economy
  • กำไรจากการขายหุ้นได้รับการยกเว้นภาษี : เมื่อซื้อหุ้นต่างประเทศกำไรที่ได้มาจะไม่เสียภาษี ยกเว้น เงินปันผลจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หรือบางประเทศไม่หักเลยอย่าง เวียดนาม นอกจากนี้อาจมีการเรียกเก็บภาษีขาซื้อและขาย โดยเฉลี่ยไม่ถึง 1%

ข้อเสีย

  • ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง : บางตัวหุ้นขั้นต่ำอยู่ที่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน นับว่าใช้เงินลงทุนขั้นต่ำค่อนข้างมาก
  • เสียค่าธรรมเนียมการโอน : ปกติการซื้อขายหุ้นต่างประเทศมีการโอนเงินเข้า-ออกประเทสอยู่บ่อย ๆ โดยแต่ล่ะโบรกเกอร์จะมีค่าธรรมเนียมไม่เท่ากัน
  • ยอมรับความเสี่ยงเมื่อค่าเงินผันผวน : ยกตัวอย่างเช่น ได้กำไรจากหุ้นสหรัฐฯ แต่ช่วงนั้นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงมาก ๆ เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาทกลับกลายเป็นว่าเราขาดทุน นี่ถือเป็นความเสี่ยงอันดับต้น ๆ ของการลงทุนในต่างประเทศที่เทรดเดอร์ต้องยอมรับ
  • ด้านการสื่อสาร และข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ : หากใครมีความชำนาญอยู่แล้วก็ไม่มีอะไรต้องเป็นกังวลมากนักค่ะ แต่สำหรับคนที่สนใจลงทุนในหุ้นที่ไม่มีข้อมูลภาษาอังกฤษให้ เพราะส่วนใหญ่จะใช้ภาษาถิ่นของประเทศนั้น ๆ นับว่าเป็นอุปสรรคเมื่อต้องตามข่าวสารค่ะ

สรุป

จะเห็นได้ว่าหุ้นบางประเภทในตลาดหุ้นไทยไม่มี เช่นหุ้น Technology ทั้งหลาย คุณน้าคิดว่า การซื้อหุ้นต่างประเทศถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงได้ดี นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เราได้เจอพบหุ้นใหม่ ๆ นอกเหนือจากในประเทศไทย อีกด้วยค่ะ แต่ด้วยข้อจำกัดที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง นักลงทุนจึงต้องคำนึ่งถึงข้อดี-ข้อเสีย และประเมินความเสี่ยงก่อนลงทุนทุกครั้งนะคะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post