พบกับวิเคราะห์ USDJPY ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค อีกทั้งแนวทางในการเข้าออกออเดอร์ ไปจนถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการเทรดคู่เงินแบบละเอียด เรียกได้ว่าครบจบในบทความเดียว!
บทวิเคราะห์ Forex วันนี้ : คู่เงิน USDJPY
บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน
ปริมาณการซื้อขายในเอเชียอยู่ในระดับเบาบางเนื่องจากวันหยุดในจีนและญี่ปุ่น แม้ว่าความเคลื่อนไหวของค่าเงินและท่าทีของธนาคารกลางจะยังทำให้นักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิดค่ะ เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลังจากอ่อนค่ามาหลายวัน โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง 0.4% เมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นออกมาชี้แจงว่าไม่มีแผนที่จะใช้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจาการค้ากับวอชิงตันค่ะ
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% แต่ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงอย่างมากสำหรับปีงบประมาณ 2025 และ 2026 เนื่องจากความไม่แน่นอนจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ และอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว ซึ่งทำให้ธนาคารกลางออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจพร้อมเงินเฟ้อ (stagflation) ผู้ว่าการ BOJ คุณคาซึโอะ อูเอดะ ยอมรับว่าการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ล่าช้ากว่าคาด แต่ยังเชื่อว่าเงื่อนไขสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแรงกดดันด้านค่าแรงที่ยังเติบโตและเงินเฟ้อจากราคาสินค้าอาหารยังเป็นปัจจัยสนับสนุนมุมมองนี้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นดูเหมือนจะหดตัวในไตรมาสแรก เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอและการส่งออกที่ซบเซา โดยเดือนเมษายนยังนับเป็นเดือนที่สิบติดต่อกันที่กิจกรรมในภาคโรงงานหดตัว โดยผู้ผลิตรายงานคำสั่งซื้อที่ลดลงและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น มาตรการภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็ยิ่งซ้ำเติมความเชื่อมั่นทางธุรกิจในญี่ปุ่น
ด้านดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากระดับสูงของสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนเริ่มประเมินข้อมูลเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านการค้าใหม่อีกครั้ง แม้ว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในวันศุกร์จะออกมาดีกว่าคาด โดยเพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่ง เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ 138,000 ตำแหน่ง แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังไม่มีความคืบหน้าก็เป็นปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นของตลาดค่ะ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่ายังไม่มีแผนจะหารือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในเร็ว ๆ นี้ แม้จะมีการพูดถึงความคืบหน้าในการทำข้อตกลงการค้ากับประเทศอื่น ๆ ก็ตามค่ะ
อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ที่ 4.2% และค่าจ้างรายชั่วโมงเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน
จากรายงานจ้างงานที่แข็งแกร่งในเดือนเมษายน ทำให้นักลงทุนเริ่มปรับความคาดหวังในการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ออกไปจากเดือนมิถุนายนไปเป็นเดือนกรกฎาคมค่ะ โดยโอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 31.8% ลดลงจากระดับ 50.4% ก่อนหน้าที่จะมีข้อมูลแรงงาน ขณะที่ความน่าจะเป็นในการลดดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเป็น 57% โดยตลาดคาดว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งถัดไปจะอยู่ที่ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเป้าหมายลดลงมาอยู่ในช่วง 4.0%–4.25% ค่ะ
ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมตลาดแรงงานจะดูดี แต่ก็มีสัญญาณอื่นที่น่าเป็นห่วง เช่น จำนวนตำแหน่งงานว่างในเดือนมีนาคมที่ลดลงมาก ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP ที่ออกมาต่ำกว่าคาด การขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และ GDP ไตรมาสแรกของสหรัฐฯ ที่หดตัวลง 0.3% ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ช่วงต้นปีค่ะ สัญญาณที่หลากหลายเช่นนี้ทำให้ Fed ยังคงท่าทีระมัดระวัง โดยเฉพาะเมื่อเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมาย 2% และยังมีความเสี่ยงจากนโยบายภาษีของทรัมป์ที่อาจส่งผลต่อทั้งแรงกดดันด้านราคาและการเติบโตของเศรษฐกิจในวงกว้างค่ะ
บทวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค

ในส่วนของแนวโน้มค่าเงิน USD/JPY เผชิญแรงกดดันขาลงอีกครั้ง เนื่องจากบรรยากาศตลาดที่เปลี่ยนไปจากความไม่แน่นอนด้านการค้า แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่ยังไม่ชัดเจน และจุดยืนที่ระมัดระวังของ BOJ โดยหลังจากที่ USD/JPY ดีดตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อสัปดาห์ก่อน ตอนนี้ได้อ่อนค่าลงต่ำกว่า 145 ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเงินเยนและแรงหนุนของดอลลาร์ที่เริ่มอ่อนตัวลง
ในเชิงเทคนิค ระดับ 145.00 กลายเป็นแนวต้านระยะสั้นที่แข็งแกร่ง การหลุดแนวรับที่ 143.80 (ซึ่งอยู่ใกล้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน) จะเปิดโอกาสให้ USD/JPY อ่อนค่าลงไปที่ 142.50 โดยเฉพาะหากทางการญี่ปุ่นออกมาส่งสัญญาณหรือหากค่าเงินในเอเชียยังคงแข็งค่าต่อเนื่องค่ะ ส่วนทางด้านแนวต้าน หากราคาสามารถทะลุขึ้นไปเหนือ 145.50 ได้ ก็อาจเปลี่ยนแนวโน้มกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง และมีโอกาสทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 147.00 แต่จะต้องมีปัจจัยหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นหรือมีสัญญาณ risk-on ในตลาดค่ะ
ถึงแม้ว่า BOJ จะยังไม่มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววัน ซึ่งในระยะกลางถือว่าเป็นปัจจัยเชิงลบต่อเงินเยน แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในตลาดและการส่งสัญญาณที่ชัดเจนจากญี่ปุ่นว่าจะไม่ใช้พันธบัตรสหรัฐฯ เป็นเครื่องต่อรอง อาจช่วยหนุนเงินเยนได้ในระยะสั้นค่ะ โดยรวมแล้ว คุณน้ามองว่า USD/JPY น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 142.50–145.50 ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า เว้นแต่ว่าจะมีความเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดจากธนาคารกลางทั้งสองแห่งหรือสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นค่ะ
📍ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- แนวรับสำคัญ : 142.77, 141.83, 140.32
- แนวต้านสำคัญ : 145.79, 146.73, 148.24
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญที่ส่งผลต่อคู่เงิน USDJPY

ที่มา : Forexfactory

⭐ คุณน้าแนะนำโบรกเกอร์คุณสมบัติเด่น!
การเลือกโบรกเกอร์ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ สำหรับการเทรด Forex ค่ะ
เพราะโบรกเกอร์จะพัฒนาระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเทรดของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นให้ได้มากที่สุด
สำหรับเทรดเดอร์ที่ยังไม่มั่นใจว่า โบรกเกอร์ Forex แบบไหนดี?
คุณน้าได้รวบรวมการจัดอันดับของโบรกเกอร์ในทุกคุณสมบัติ เช่น สเปรดต่ำ, เทรดทอง หรือโบนัสฟรี

💡 คัมภีร์เริ่มต้น มือใหม่หัดเทรด
มือใหม่หัดเทรดที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? คุณน้าได้รวบรวมเนื้อหาสำคัญที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น สำหรับการเทรด Forex มาไว้ให้แล้วที่นี่!
🔍 ตัวอย่างเนื้อหา มือใหม่หัดเทรดต้องรู้!
สรุปวิเคราะห์ USDJPY
จุดน่าเข้า Buy
Buy | แนวรับ | แนวต้าน |
TP | 146.59 | 151.21 |
SL | 138.27 | 141.27 |
- Buy/ Long 1 : หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 139.77 – 142.77 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 142.77 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.59 และ SL ที่ประมาณ 138.27 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
- Buy/ Long 2 : หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 145.79 – 148.79 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.21 และ SL ที่ประมาณ 141.27 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดน่าเข้า Sell
Sell | แนวรับ | แนวต้าน |
TP | 142.63 | 138.67 |
SL | 150.29 | 147.29 |
- Sell/ Short 1 : หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.79 – 148.79 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 145.79 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.63 และ SL ที่ประมาณ 150.29 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
- Sell/ Short 2 : หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 139.77 – 142.77 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 138.67 และ SL ที่ประมาณ 147.29 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
คำเตือน
การให้ข้อมูลการวิเคราะห์คู่เงิน Forex ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค เป็นเพียงการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาชักชวนในการลงทุนแต่อย่างใด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจการลงทุน
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge