Stock 101 : Defensive Stock คืออะไร? รองรับทุกภาวะตลาดจริงหรือ?

Defensive Stock คืออะไร? รองรับทุกภาวะตลาดจริงหรือ?
Table of Contents


อยากลงทุนในหุ้น แต่ไม่รู้จะเลือกหุ้นกลุ่มไหนดี? มีใครเกิดอาการนี้บ้างคะ เมื่อลงทุนหุ้นครั้งแรก ไม่ต้องกังวลไปค่ะ คุณน้าก็เคยผ่านมาเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้หาคำตอบตายตัวสำหรับคำถามข้างต้นก็คงตอบไม่ได้ เพราะการเลือกหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับความถนัด หรือการมองการณ์ไกลของแต่ละคนค่ะ อย่างไรก็ดี หากใครไม่รู้ว่าจะลงทุนในหุ้นอะไร Defensive Stock อาจจะเป็นคำตอบค่ะ

อย่าเพิ่งเชื่อคุณน้านะคะ เราลองมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Defensive Stock คืออะไร? ทำไมถึงได้ชื่อว่า “หุ้นตั้งรับ” ที่รองรับการกระแทกของแต่ละภาวะตลาด


Defensive Stock คืออะไร ?


Defensive Stock คืออะไร


Defensive Stock หรือที่เราเรียกกันว่า “หุ้นตั้งรับ” ถือเป็นหนึ่งในหลุมหลบภัยของนักลงค่ะ เพราะมันเป็นหุ้นที่มีความทนทานในทุกสภาพตลาด ทั้งขาขึ้นและขาลง จากพื้นฐานหุ้นที่ค่อนข้างแข็งแรง ความเสี่ยงต่ำ และมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ดี มันเป็นหุ้นที่มีการเติบโตไม่หวือหวานัก รวมทั้งไม่ค่อยมีจุดขายเท่าไหร่ ดังนั้น มันจึงอาจจะไม่ค่อยถูกใจนักลงทุนที่ต้องการทำกำไรจำนวนมากค่ะ 

พูดง่าย ๆ ก็คือ หุ้นในกลุ่มของ Defensive Stock คือสินค้าจำเป็นที่มีความต้องการใช้อยู่เสมอ ๆ ขาดไม่ได้ เช่น อาหาร ยา โรงพยาบาล ไฟฟ้า และประปา เป็นต้น ดังนั้น ราคาหุ้นกลุ่มนี้จึงร่วงน้อยกว่าหุ้นทั่วไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว ก็จะไม่โดดเด่นเท่ากับกลุ่มอื่น ๆ ค่ะ


ตัวอย่าง Defensive Stock


Defensive Stock คือ ตัวอย่าง


1.หุ้นกลุ่มสินค้าจำเป็น

สินค้าจำเป็น คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำ และเมื่อซื้อแล้วก็ต้องกลับมาซื้อใหม่อีก เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล ยังไงมนุษย์เราก็ต้องกินและดื่มเป็นประจำอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะคะ


2. หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค

สาธารณูปโภค คือ บริการของผู้ให้บริการน้ำและพลังงาน รวมถึงพลังงานทดแทน ถือเป็นอีกสิ่งจำเป็นที่มนุษย์เราใช้บริการเป็นประจำทุกวัน และแทบจะขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้านึกไม่ออกก็ลองนึกถึงเวลาเราชาร์จโทรศัพท์ก็ได้ค่ะ


3. หุ้นกลุ่มสุขภาพ

เมื่อเราเกิดมา เติบโต ไปจนถึงแก่ชรา สถานที่ที่ทุกคนมักจะเข้าอยู่บ่อย ๆ เลยก็คือ โรงพยาบาลค่ะ ดังนั้น หุ้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งหมด อย่างเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีความสำคัญ และได้รับความสนใจมากค่ะ


4. หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

แน่นอนว่า เมื่อมีอาหาร ไฟฟ้า และยาแล้ว จะขาดที่พักไปได้อย่างไร ดังนั้น มันจึงมีการลงทุนที่เรียกว่า REITs ที่สร้างผลตอบแทนจากการให้เช่า โดยมีบริษัทที่ใช้เงินทุนของนักลงทุนเพื่อซื้อและจัดการพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ค่ะ


การเลือก Defensive Stock


Defensive Stock คืออะไร


1. การเลือกหุ้นจากขนาด

หากต้องการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มี Market Cap เล็กเกินไปค่ะ ซึ่งอาจเลือกจากหุ้นที่ติดอันดับตลาดหุ้น เช่น SET50 เป็นต้น เพราะหุ้นขนาดเล็กส่วนมากต้องการเงินหมุนเวียนเพื่อบริหารงาน ทำให้อาจไม่มีการจ่ายปันผลค่ะ ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่จะมีฐานะแข็งแกร่ง ผลประกอบการคงที่ ก็จะมีการจ่ายปันผลค่ะ


2. ภาระหนี้สินน้อย

สิ่งที่ใช้พิจารณาว่า หุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงต่ำ คือ ภาระหนี้สินค่ะ ดังนั้น เราจึงควรเลือกหุ้นที่มีหนี้สินน้อย ต่ำกว่าต้นทุนเป็นหลัก เพราะภาระหนี้สินนอกจากจะแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำแล้ว ยังสื่อถึงความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหาร และการเติบโตในอนาคตด้วยค่ะ


3. กำไรสม่ำเสมอ

แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านี้จะเป็นสินค้าจำเป็นและต้องบริโภคอยู่เสมอ ๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะประทับใจจนกลับมาซื้อซ้ำเรื่อย ๆ ดังนั้น ผลประกอบการและกำไรของบริษัทจึงถือเป็นสิ่งที่ใช้วัดความสามารถของผู้บริหาร โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่ค่ะ เพราะฉะนั้น อย่าลืมดูผลประกอบการของบริษัทย้อนหลังกันด้วยนะคะ


4. จ่ายปันผลสม่ำเสมอ

หนึ่งในเกณฑ์ที่นักลงทุนส่วนมากใช้พิจารณาหุ้นกลุ่มนี้ คือ การจ่ายเงินปันผลค่ะ เพราะคนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ส่วนมากไม่ต้องการความเสี่ยง มีรายได้จากเงินปันผลที่ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้น นักลงทุนจึงควรดูการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย้อนหลัง 10 ปีประกอบด้วยค่ะ เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรก็ควรจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ


5. ราคาหุ้นไม่แพง

นอกจากเกณฑ์ข้างต้นแล้ว อีกสิ่งสำคัญเลย คือ หุ้นดีราคาถูก ซึ่งดูได้จากราคาเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) หรือราคาเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio) ค่ะ


กลยุทธ์การลงทุน Defensive Stock


Defensive Stock


นอกจากจะดูว่าหุ้นไหนเข้าเกณฑ์แล้ว กลยุทธ์ก็สำคัญเช่นกันค่ะ เพราะไม่ใช่ทุกช่วงที่เหมาะสำหรับลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ นั่นเพราะว่า หากเราลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ในช่วงตลาดกำลังจะเข้าสู่ช่วงขาลง ก็จะทำให้เราได้หุ้นที่มีราคาต่ำกว่าตลาดค่ะ ดังนั้น อย่าลืมดูช่วงเวลาที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ


ความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญเมื่อลงทุน Defensive Stock


1) ความเสี่ยงเป็นระบบ

ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนที่กระทบทั้งตลาด ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้ เช่น การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง หรือราคาน้ำมัน เป็นต้น


2) ความเสี่ยงไม่เป็นระบบ

ความเสี่ยงที่กระทบหุ้นโดยตรง ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนต่าง ๆ จากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุ อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ เป็นต้น


Defensive Stock เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน ?


Defensive Stock


Defensive Stock คือหุ้นตั้งรับที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความแน่นอน ความเสี่ยงต่ำ มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ เพราะรายได้และกำไรของหุ้นกลุ่มนี้ค่อนข้างมั่งคง ไม่ต้องเสียเวลามาตามข่าวสาร หรือปรับพอร์ตบ่อย ๆ ค่ะ


ข้อดี-ข้อเสียของ Defensive Stock


ข้อดี

  • ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นอื่น ๆ
  • มีอัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเกินต่อส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Sharpe Ratio สูงกว่าตลาดหุ้นโดยรวม
  • จำกัดการขาดทุน
  • รองรับทุกสภาวะตลาด


ข้อเสีย


สรุป

Defensive Stock คือ หุ้นที่มีความคงทนต่อวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าจำเป็น ผู้บริโภคมีการซื้ออยู่บ่อยครั้ง ทำให้ราคาหุ้นกลุ่มนี้ร่วงน้อยกว่าหุ้นทั่วไป มันจึงเหมาะกับการเป็นหลุมหลบภัยแก่นักลงทุนแต่ถ้าหากเศรษฐกิจขยายตัว ก็จะไม่โดดเด่นเท่ากับหุ้นตัวอื่น นักลงทุนจึงไม่ค่อยลงทุนกับ Defensive Stock แต่หันไปลงทุนกับหุ้นที่สามารถทำกำไรได้มากกว่า ซึ่งคุณน้ามีวิธีการเลือกหุ้น Defensive Stock จากบทความ รวมไปถึงกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามการลงทุนใน Defensive Stock ยังมีความเสี่ยง ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องศึกษาข้อมูลหุ้นที่สนใจและเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกันด้วยนะคะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก :  SET Invest Now, Investopedia

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
5 โบรกเกอร์ Forex ไม่มีค่า Swap 2024
โบรกเกอร์ Forex ไม่มีค่า Swap (Free Swap) แห่งปี 2024

โบรกเกอร์ Forex ไม่มี ค่า Swap (Free Swap) แห่งปี 2024 จะมีโบรกเกอร์ไหนที่น่าสนใจบ้างนะ? ในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จัก 5 โบรกเกอร์ Forex Free Swap  ได้แก่ IUX, Octa, GMI Markets, FBS และ XM