ทำความรู้จัก แนวคิด Dovish และ แนวคิด Hawkish

ทำความรู้จัก แนวคิด Dovish และ แนวคิด Hawkish
Table of Contents

ในสถานการณ์ช่วงนี้คงเคยเห็นผ่านตากันบ่อยกับคำว่า Dovish และ Hawkish เวลาอ่านข่าวหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากกำลังเป็นประเด็นที่กำลังร้อนแรงเลยค่ะ เพราะฉนั้นวันนี้คุณน้าพาเทรดเลยจะพาทุกคนมาดูคำศัพท์ที่สำคัญในการลงทุนกันค่ะ

Dovish และ Hawkish

นักลงทุนที่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมาซักระยะ จะรู้ว่าสิ่งที่มีผลกับการไหลเข้าออกของเงินทุนในแต่ละประเทศ ก็คือ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางแต่ละแห่ง คราวนี้ พอพูดถึงวิธีการดำเนินนโยบายการเงิน (Monetary Polcity) จริง ๆ ตามหลักแล้ว หน้าที่ของธนาคารกลาง หรือ แบงก์ชาติ ก็จะเป็นเรื่องของการดูแล และกำกับ 3 สิ่งควบคู่กันไป นั่นก็คือ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) โดยใช้กฎหมายบังคับ และ ดูแลด้วยการปรับ ลด/เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า ควบคู่ไปกับ การปรับ ลด/เพิ่ม อัตราดอกเบี้ย ผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

แนวคิดแบบ Hawkish 

ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางมองว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต ก็จะทำการออกมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary Monetary Policy) ผ่านแนวคิดแบบ Hawkish  มาจากคำว่า Hawk หรือ เหยี่ยว ซึ่งแสดงถึงความดุดัน ก้าวร้าว และไม่ประนีประนอม

แนวคิดแบบ Dovish

ในทางตรงกันข้าม หากคณะกรรมการนโยบายการเงินมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เร่งตัวหรือจะหดตัวลงในอนาคตก็จะทำการลงมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary Monetary Policy) ผ่านแนวคิดแบบ Dovish มาจากคำว่า Dove นกพิราบ สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ซึ่งแสดงถึงความประนีประนอม ยืดหยุ่น อะลุ่มอล่วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่สวนทางกันกับ Hawkish นั่นเอง

หากเราวิเคราะห์ว่าธนาคารกลางน่าจะมีแนวคิดแบบ Hawkish นั่นหมายถึง ธนาคารกลางคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต จึงทำการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเพราะธุรกิจจะกู้เงินน้อยลงเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น และธนาคารกลางยังทำการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเพื่อดูดเงินในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้สูงขึ้นตามไปด้วย  ซึ่งจะไม่ดีต่อการถือครองตราสารหนี้ในพอร์ตการลงทุน เพราะเวลาคำนวณราคาตลาด หรือที่เรียกว่า Mark to Market แล้วราคาก็จะลดลง 

ในทางกลับกันหากเรามีมุมมองว่าธนาคารกลางน่าจะมีแนวคิดแบบ Dovish นั่นก็คือธนาคารกลางคิดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวหรือหดตัวในอนาคตและเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะเงินฝืด ธนาคารกลางก็จะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งก็จะเป็นแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจและประชาชนกู้เงินมาทำธุรกิจหรือกู้เงินมาใช้จ่ายอุปโภคบริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เพื่อเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกครั้ง ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องพร้อมแก่การเติบโตในอนาคต ในเมื่อต้นทุนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจต่ำลง ผลตอบแทนตราสารหนี้ก็จะต่ำลง ทำให้ราคาตลาด Mark to Market ของตราสารหนี้ที่นักลงทุนถืออยู่มีราคาที่สูงขึ้นนั่นเองค่ะ

สรุป

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเรียนรู้เรื่อง Dovish และ Hawkish แล้ว การติดตามผลการประชุมนโยบายการเงิน และมุมมองจากธนาคารกลาง ก็เป็นอีกอย่างที่นักลงทุนอย่างเรา ๆ ควรทำอยู่เสมอ สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ Fund Flow ได้ ว่ามีแนวโน้มจะเป็นไปในทิศทางใดในอนาคตค่ะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
โบรกเกอร์ Forex ของคนไทย
เปรียบเทียบ 3 โบรกเกอร์ Forex ยอดนิยมของคนไทยในปี 2023

3 โบรกเกอร์ Forex ที่คุณน้าหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบในวันนี้ ก็มีความปลอดภัยและมีจุดเด่นที่เข้าตาเทรดเดอร์ชาวไทยเป็นอย่างมากค่ะ จนขึ้นชื่อว่าเป็นโบรกเกอร์ Forex ยอดนิยมของคนไทยในปี 2023

อัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อสกุลเงินอย่างไร
อัตราดอกเบี้ย คืออะไร ? ส่งผลต่อสกุลเงินอย่างไร ?

อัตราดอกเบี้ยถือเป็นเครื่องมือในการกำหนดแนวโน้มนโยบายทางการเงิน การลงทุน และเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางทำหน้าที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศดำเนินการอย่างเหมาะสม