ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คืออะไร? โอนเงินกี่ครั้งเสียภาษี

ภาษี e-Payment ค้าขายออนไลน์ต้องรู้
Table of Contents

ในยุคที่การขายของออนไลน์กำลังเฟื่องฟู ใคร ๆ ก็สามารถเป็นพ่อค้าแม่ค้าได้ง่าย ๆ เพียงแค่มีมือถือและบัญชีธนาคารค่ะ แต่คุณน้าคิดว่ามีสิ่งหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนอาจจะยังไม่รู้ หรืออาจจะยังเข้าใจไม่ลึกมากพอ นั่นก็คือ ภาษี e-Payment ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนที่มีรายได้ผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น โอนเงิน, ขายของออนไลน์ หรือรับเงินผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ

สำหรับบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คืออะไร? มีเกณฑ์ในการเสียภาษีอย่างไรบ้าง? รวมถึงวิธีการเตรียมตัวเพื่อให้สามารถยื่นภาษี e-Payment ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ห้ามพลาดบทความนี้เลยค่ะ!

คุณน้าส่องแว่นขยาย

ภาษีคืออะไร?

ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment)

ภาษี คือ เงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนหรือนิติบุคคล เพื่อจุดประสงค์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน, สาธารณสุข, การศึกษา และความมั่นคง ซึ่งภาษีนับเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ประชาชนและนิติบุคคลมีพันธะต้องชำระ เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนนั่นเองค่ะ

เตรียมความพร้อมก่อนยื่นภาษีบุคคลเงินได้ธรรมดาออนไลน์

  1. คุณต้องยื่นภาษีประเภทใด?
  2. วิธียื่นภาษีแต่ละแบบทำอย่างไร?
  3. ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่? มีกำหนดระยะเวลาไหม?
  4. ถ้าไม่ยื่นภาษี จะเกิดอะไรขึ้น?

  1. รายได้ของคุณ เข้าข่ายเงินได้ประเภทใด?
  2. สำรวจสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คุณสามารถใช้ได้ ทั้งลดหย่อนส่วนตัว ครอบครัว ประกัน หรือกองทุนต่าง ๆ
  3. เรียนรู้หลักการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได พร้อมเทคนิคช่วยให้คำนวณภาษีได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

  1. วิธีลดการจ่ายภาษีที่อาจสูงเกินจำเป็น
  2. เคล็ดลับการใช้สิทธิลดหย่อนได้อย่างเต็มที่ ตามกฎหมาย
  3. การวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือภาระภาษีล่วงหน้าอย่างไม่สะดุด

  1. ไฟล์ Excel สำหรับคำนวณภาษี ตัวช่วยเบื้องต้นที่หลายคนคุ้นเคย
  2. เว็บไซต์คำนวณภาษี ระบบจะคำนวณภาษีให้โดยอัตโนมัติ
  3. แอปพลิเคชันคำนวณภาษี สำหรับคนยุคใหม่ที่ต้องการความคล่องตัวในการวางแผนภาษี

ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คืออะไร?

ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) หรือ Electronic Payment Tax คือ กฎหมายที่กรมสรรพากรใช้ในการตรวจสอบและติดตามรายได้ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ผ่านธุรกรรมการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร, Mobile Banking, พร้อมเพย์, QR Code และแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีและติดตามรายได้จากธุรกรรมทางดิจิทัล เช่น การโอนเงินหรือรับเงินจากการค้าขายออนไลน์

📢 เป้าหมายของภาษี e-Payment คือ ลดการเลี่ยงภาษีจากรายได้ที่ไม่ได้ถูกนำมายื่นภาษี โดยเฉพาะจากอาชีพอิสระหรือผู้ค้าขายออนไลน์ที่ไม่มีใบกำกับภาษีหรือหลักฐานรายได้แบบเป็นทางการนั่นเองค่ะ

ภาษีอีเพย์เมนต์เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่?

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์นี้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 21 มีนาคม 2562 ค่ะ ถือว่าไม่เก่ามากนัก แต่หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะคนที่รับโอนถี่ เพราะนี่คือกลุ่มที่อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูก “รายงานข้อมูล” ไปยังกรมสรรพากร โดยสถาบันการเงินจะต้องเริ่มรายงานข้อมูลธุรกรรมที่เข้าเกณฑ์ให้กรมสรรพากรตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

โดยธุรกรรมที่ต้องรายงานไม่ใช่แค่การฝากหรือรับโอนเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรับเงินปันผล, ดอกเบี้ย หรือกำไรจากการขายสินทรัพย์อื่น ๆ อาทิ ทองคำ ทุกรายการเหล่านี้จะถือเป็นรายได้ของเจ้าของบัญชี และต้องถูกรายงานข้อมูลไปยังกรมสรรพากรนั่นเองค่ะ


ใครบ้างที่เข้าเกณฑ์ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment)?

ถ้ามีบัญชีธนาคารหรือมีหลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน แล้วมีการทำธุรกรรมตามเงื่อนไขต่อไปนี้ สถาบันการเงินจะต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยเกณฑ์มีดังนี้

  1. รับฝากหรือรับโอนเงินเข้ารวมทุกบัญชีในธนาคารเดียวกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่จำกัดจำนวนเงินต่อครั้ง
  2. หรือรับฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้งและยอดเงินค่ะ

หมายเหตุ: หากเราเปิดบัญชีกับธนาคารเดียวกันไว้หลายบัญชี เช่น 5 บัญชี จะมีการนับจำนวนครั้งและยอดเงินจะนำของทุกบัญชีที่ชื่อเดียวกันในธนาคารนั้นมารวมกันเลย แต่ถ้าเป็นบัญชีคนละธนาคารยอดจะไม่ถูกนำไปรวมกันค่ะ

ตารางสรุปเกณฑ์ที่ธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากร พร้อมตัวอย่าง

ตามข้อมูลข้างต้นเกณฑ์ในการส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรแบ่งเป็น 2 กรณีหลัก ๆ แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น คุณน้าจะขออธิบายพร้อมตัวอย่าง ดังนี้

กรณีที่ 1ธนาคาร A มีการฝากและรับโอน 2,900 ครั้งต่อปี
และธนาคาร B มีการทำธุรกรรมฝากและรับโอน 1,000 ครั้งต่อปี
ธนาคาร A และธนาคาร B ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อสรรพากร เพราะจำนวนครั้งที่เงินเข้า ไม่เข้าเกณฑ์และไม่สามารถนำมารวมกันได้
กรณีที่ 2ธนาคาร A มีการทำธุรกรรมการฝากและรับโอนผ่านบัญชีที่ 1 จำนวน 500 ครั้งและบัญชีที่ 2 จำนวน 2,500 ครั้ง
รวมเป็น 3,000 ครั้งต่อปี

ธนาคาร B มีการทำธุรกรรมการฝากและรับโอนผ่านบัญชีที่ 1 จำนวน 500 ครั้งและบัญชีที่ 2 จำนวน 2,000 ครั้ง
รวมเป็น 2,500 ครั้งต่อปี
ธนาคาร A จำเป็นต้องรายงานต่อสรรพากร เพราะจำนวนครั้งเข้าเกณฑ์



แต่ธนาคาร B ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อสรรพากร เพราะจำนวนครั้งที่เงินเข้า ไม่เข้าเกณฑ์

จะเห็นได้ว่าการนำส่งข้อมูลจะถูกนับเฉพาะธนาคารที่เข้าเกณฑ์ที่จำนวนครั้งและยอดเงินรวม หากเข้าเกณฑ์เพียงอย่างใดอย่างนึงจะไม่ถูกนำส่งข้อมูลค่ะ


หากเข้าเกณฑ์จะต้องเสียภาษีเลยไหม?

การเข้าเกณฑ์ที่ต้องรายงานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าต้องเสียภาษีทันทีนะคะ แต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบเท่านั้น หากรายได้ที่ได้รับจากธุรกรรมเหล่านี้เป็นรายได้ตามกฎหมาย เช่น รายได้จากการขายของออนไลน์ รับเงินค่าบริการ ฯลฯ ผู้มีรายได้ต้องนำไปรายงานและยื่นภาษีประจำปีให้ถูกต้องด้วยตนเองค่ะ

📌 หมายเหตุ : หากคุณไม่ได้เข้าเกณฑ์นี้ ธนาคารจะไม่ส่งข้อมูลของคุณให้สรรพากร แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ต้องยื่นภาษี หากมีรายได้เกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดตามกฎหมาย


เอกสารที่ต้องส่งให้กรมสรรพากรมีอะไรบ้าง?

สำหรับข้อมูลและเอกสารในส่วนนี้ พ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องทำการส่งเอกสารด้วยตนเองค่ะ สถาบันการเงินและผู้ให้บริการ e-Wallet ที่เราใช้บริการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการนำส่งข้อมูลให้สรรพากรเอง แต่เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนตัวของเรา จึงควรทราบว่าเอกสารหรือข้อมูลใดบ้างที่สถาบันการเงินจะต้องรายงานให้สรรพากรค่ะ

ข้อมูลที่สถาบันการเงินต้องนำส่งสรรพากร มีดังนี้

  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ชื่อ-นามสกุล
  • จำนวนครั้งที่มีการฝากหรือรับโอนเงินในแต่ละปี
  • ยอดรวมของเงินฝากหรือรับโอนทั้งหมดในปีนั้น
  • เลขที่บัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม

หลังจากที่ข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งไปยังกรมสรรพากรแล้ว หากพบว่าพ่อค้าแม่ค้ามีลักษณะเข้าข่ายต้องเสียภาษีเพิ่มเติม กรมสรรพากรจะติดต่อเพื่อขอให้จัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาภาษีอย่างถูกต้องค่ะ

📢 ข้อควรรู้ : พ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องส่งเอกสารเอง แต่ควรเก็บรักษาหลักฐานทางการเงินให้เป็นระเบียบ เพื่อพร้อมสำหรับการวางแผนภาษีและการตรวจสอบจากกรมสรรพากรในอนาคตด้วยนะคะ


ค่าปรับเกี่ยวกับ e-Payment ที่ควรรู้

ค่าปรับสำหรับธนาคาร, สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการ e-Wallet ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ส่งข้อมูลธุรกรรมให้กรมสรรพากรนั้น มีความผิดตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมาย e-Payment โดยมีบทลงโทษดังนี้

บทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ส่งข้อมูลธุรกรรมให้กรมสรรพากร

  • ปรับไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการไม่ส่งข้อมูลตามกำหนด
  • ปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะส่งข้อมูลครบถ้วน

บทลงโทษกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลผู้เสียภาษีโดยไม่ได้รับอนุญาต

ในกรณีเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษทางอาญา ดังนี้

  • จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับของข้อมูลผู้เสียภาษีค่ะ


ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับ e-Payment

1. ภาษีเงินได้

สำหรับบุคคลธรรมดา

  • รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์และรับชำระผ่านระบบ e-Payment ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ผู้มีรายได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น YouTube, TikTok หรือ Facebook ที่รับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องนำรายได้เหล่านี้มารวมเพื่อคำนวณภาษี
  • การขายสินค้าออนไลน์ผ่าน e-Marketplace และรับเงินผ่าน e-Payment ก็อยู่ในข่ายต้องยื่นภาษีเช่นกัน

สำหรับนิติบุคคล

  • บริษัทที่มีรายได้จากช่องทาง e-Payment ต้องบันทึกรายได้เหล่านี้ในระบบบัญชีและนำมาคำนวณเป็นรายได้ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • กำไรจากธุรกรรม e-Payment ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ต้องถูกนำมาคำนวณในงบการเงินเพื่อยื่นภาษี

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการผ่านระบบ e-Payment เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • การขายสินค้าหรือบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และรับชำระเงินผ่านระบบ e-Payment ต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าและนำส่งกรมสรรพากร
  • แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศไทย เช่น Netflix หรือ Spotify ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในไทยและเรียกเก็บ VAT จากผู้ใช้บริการ

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

  • การจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านระบบ e-Payment ในบางกรณียังคงต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • นิติบุคคลที่จ่ายเงินให้กับผู้ขายหรือผู้ให้บริการผ่านระบบ e-Payment มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
  • การจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Influencer หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่านระบบ e-Payment ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 2-3% ตามประเภทของผู้รับเงิน

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรเตรียมตัวยื่นภาษีขายของออนไลน์อย่างไร?

1. เริ่มต้นจากการจดทะเบียนธุรกิจ

หากคุณขายของเป็นประจำและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ควรดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อให้กิจการมีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน และสามารถดำเนินการด้านภาษีได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ

2. แยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีธุรกิจ

การแยกบัญชีของกิจการออกจากบัญชีส่วนตัวอย่างชัดเจน จะช่วยให้คุณสามารถติดตามรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลประกอบการของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังลดความสับสนในกรณีที่ต้องยื่นภาษีหรือถูกตรวจสอบ

3. เก็บบันทึกรายรับรายจ่าย

ไม่ว่าจะใช้แอปพลิเคชันบัญชีหรือบันทึกด้วยมือ การจัดเก็บข้อมูลรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณคำนวณภาษีปลายปีได้ง่ายขึ้น พร้อมหลักฐานประกอบหากมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐ

4. ยื่นภาษีให้ถูกต้อง

  • บุคคลธรรมดา: ยื่นภาษีผ่านแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
  • นิติบุคคล: ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และเสียภาษีตามรอบบัญชี

ข้อควรระวังเกี่ยวกับภาษีขายของออนไลน์สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

  • อย่าคิดว่า “ยอดโอนน้อย ๆ หลบได้” เพราะระบบดิจิทัลสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งหมด
  • ถ้าถูกตรวจสอบย้อนหลังแล้วพบว่าไม่ได้ยื่นภาษี อาจถูกเรียกเก็บย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับ
  • หากจัดการภาษีถูกต้องตั้งแต่แรก คุณจะไม่มีอะไรต้องกังวลเลย
คุณน้ารีวิวโบรกเกอร์

ตัวอย่างสถานการณ์ของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนต์

คุณน้าขอยกสถานการณ์ตัวอย่างมาให้ดูกันนะคะ ว่าเข้าข่ายยื่นภาษี e-Payment หรือไม่? และต้องดำเนินการอย่างไร?

สถานการณ์เข้าข่ายภาษี e-Payment หรือไม่?ต้องทำอย่างไร
ขายของผ่าน Facebook Live และรับโอนเงินเข้าแอปธนาคารวันละ 10 ครั้งถ้าเกิน 3,000 ครั้ง/ปี → ใช่ควรเริ่มต้นบันทึกรายรับ และยื่นภาษีอย่างถูกต้อง
ขายของเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ รายได้รวมปีละ 200,000 บาทไม่เข้าเกณฑ์ e-Payment เนื่องจากรายได้รวมต่ำกว่า 400,000 บาทต่อปี และรับเงินไม่เกิน 3,000 ครั้งแต่หากรายได้รวมเกิน 60,000 บาท/ปียังคงต้องยื่นภาษี
ใช้บัญชีเดียวกันทั้งรับเงินจากงานประจำและขายของออนไลน์มีโอกาสถูกเข้าใจผิดว่าเป็นรายได้จากแหล่งเดียวควรแยกบัญชีเพื่อความชัดเจนและลดความเสี่ยง

ไขทุกข้อข้องใจเกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment)

Q1: ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คือการเสียภาษีใหม่หรือไม่?

ภาษีอีเพย์เมนต์ไม่ใช่ภาษีใหม่ แต่เป็นระบบการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินที่สถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เพื่อใช้ในการตรวจสอบการเสียภาษีตามกฎหมายเดิม ไม่ได้เก็บภาษีเพิ่มจากที่กฎหมายกำหนดไว้


Q2: เงินหมุนเวียนในบัญชีเท่าไหร่ต้องเสียภาษี? ถ้าโอนเงินให้เพื่อนบ่อย ๆ จะโดนเรียกเก็บภาษีด้วยไหม?

หากบัญชีมีการฝากหรือโอนเงินเข้าครบ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมีการฝากหรือโอนเงินเข้าตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมเกิน 2,000,000 บาทต่อปี จะถูกส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบ แต่ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ใช่ลักษณะการค้าขาย จะไม่ถูกเรียกเก็บภาษี


Q3: ใช้บัญชีเดียวกันทั้งส่วนตัวและขายของ จะมีปัญหาไหม?

หากใช้บัญชีเดียวกันก็มีโอกาสสับสนและถูกเข้าใจผิดได้ค่ะ ควรแยกบัญชีเพื่อลดความเสี่ยงในการตรวจสอบย้อนหลังนะคะ


Q4: ถ้ารายได้ไม่ถึง 60,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีไหม?

ไม่ต้องเสียภาษี แต่อาจต้องยื่นแบบภาษีเพื่อแสดงตัวว่าไม่มีรายได้เกินเกณฑ์ เพื่อความโปร่งใส


Q5: ถ้าไม่เคยยื่นภาษีเลย จะเริ่มอย่างไร?

  • สมัครบัญชีผู้เสียภาษีผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
  • เก็บข้อมูลรายรับรายจ่ายให้พร้อม
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่สรรพากรได้ฟรี

Q6: โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม? โอนเงินเข้าออกกี่ครั้งถึงต้องเสียภาษี?

หากมีการโอนเงินเข้าออกเกิน 3,000 ครั้งต่อปี ธนาคารจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบ และหากเข้าเงื่อนไขจำนวนครั้งและยอดเงินที่กำหนด ก็อาจต้องเสียภาษีตามกฎหมายค่ะ


Q7: มียอดเงินเข้าบัญชีเกิน 2 ล้าน แต่ไม่ถึง 400 ครั้ง ต้องยื่นภาษีไหม?

ถ้าจำนวนครั้งโอนเงินไม่ถึง 400 ครั้งต่อปี แม้ยอดเงินจะเกิน 2,000,000 บาท ธนาคารจะไม่ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร แต่อาจต้องยื่นแบบภาษีเพื่อแสดงตัวว่าไม่มีรายได้ค่ะ


Q8: ขายของออนไลน์ จ่ายภาษีอย่างไร หากมียอดโอนเข้าเกิน 400 ครั้ง?

ต้องเตรียมเอกสารรายได้และยื่นภาษีตามปกติ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  • จำนวนครั้งเกิน 400 ครั้งและยอดเงินเกิน 2,000,000 บาท จะถูกส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
  • จำนวนครั้งเกิน 400 ครั้งแต่ยอดเงินไม่เกิน 2,000,000 บาท จะไม่ถูกส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

Q9: ห้ามโอนเงินเกินกี่ครั้งต่อปี จึงจะไม่ถูกนำส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากร?

ธนาคารจะไม่ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรหากมีการโอนเงินไม่เกิน 3,000 ครั้งต่อปี หรือหากยอดเงินเกิน 2,000,000 บาท ต้องโอนต่ำกว่า 400 ครั้งต่อปีเพื่อไม่ให้ถูกส่งข้อมูลค่ะ


📌 บทความเกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม


3 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment)

📢 ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง?

ตอบ ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คือ กฎหมายที่กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการ e-Wallet ต้องรายงานข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของผู้มีบัญชีที่เข้าข่ายธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร เช่น ผู้ที่มียอดฝากหรือรับโอนเงินเข้าบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี หรือมียอดฝากหรือรับโอนตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีพร้อมยอดเงินรวมเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป กฎหมายนี้ครอบคลุมทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ใช้บัญชีธนาคารหรือ e-Wallet ในการทำธุรกรรม

📢 พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่?

ตอบ การเสียภาษีของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. มีรายได้ 60,000 ขึ้นไป ต้องยื่นภาษี
  2. มีรายได้สุทธิ 150,000 บาทขึ้นไป เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี

โดยรายได้จากการขายของออนไลน์จะถูกจัดอยู่ในประเภทเงินได้ 40(8) ซึ่งต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนด้วย

📢 พ่อค้าแม่ค้าควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อยื่นภาษีให้ถูกต้อง?

ตอบ 1. ควรจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบและเก็บหลักฐานการเงินให้ครบถ้วน

2. เลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักแบบเหมาร้อยละ 60 ของรายได้ หรือหักตามค่าใช้จ่ายจริงพร้อมหลักฐาน

3. รู้เวลายื่นภาษีที่ถูกต้อง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นปีละครั้งในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม และถ้ามีรายได้จากหลายแหล่ง อาจต้องยื่นภาษีกลางปีด้วย

4. หากรายได้เกินเกณฑ์ ต้องจดทะเบียน VAT และออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า

5. ควรแยกบัญชีธนาคารส่วนตัวกับธุรกิจ เพื่อความสะดวกในการจัดทำบัญชีและตรวจสอบภาษี


สรุป ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คืออะไร?

ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) คือ กฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้จากการทำธุรกรรมออนไลน์ทุกประเภท ไม่ว่าจะรับเงินผ่านช่องทางใด หากรายได้ถึงเกณฑ์ก็ต้องยื่นภาษีตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ค้าออนไลน์มือใหม่ควรจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้อง ยื่นภาษีให้ครบถ้วน และชำระภาษีผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อความสะดวกและถูกต้องตามกฎหมายนะคะ คุณน้าหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ เพราะเรื่องภาษีถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
บทวิเคราะห์คู่เงิน USDCHF 30 มิถุนายน 2025
บทวิเคราะห์ USDCHF วันที่ 30 มิถุนายน 2025

พบกับวิเคราะห์ USDCHF ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค

บทวิเคราะห์คู่เงิน EURUSD 29 มิถุนายน 2025
บทวิเคราะห์ EURUSD วันที่ 29 มิถุนายน 2025

พบกับวิเคราะห์ EURUSD ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค

บทวิเคราะห์คู่เงิน AUDUSD 28 มิถุนายน 2025
บทวิเคราะห์ AUDUSD วันที่ 28 มิถุนายน 2025

พบกับวิเคราะห์ AUDUSD ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค

บทวิเคราะห์ทองคำ 26 มิถุนายน 2025
บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 26 มิถุนายน 2025

ในบทวิเคราะห์นี้ จะศึกษาภาพรวมปัจจัยพื้นฐานและภาพรวมทางเทคนิคของราคาทองคำ จะมีจุดน่าเข้าซื้อหรือน่าขายจุดไหนบ้าง? บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้มีคำตอบ!

ทางเว็บไซต์ คุณน้าพาเทรด
ได้มีการใช้คุกกี้เพื่อช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ของเราดียิ่งขึ้น


Privacy Policy