Quantitative Easing : QE คืออะไร ? ทำไมถึงสำคัญต่อเศรษฐกิจ

QE
Table of Contents

กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้เลยนะคะสำหรับประเด็นการทำ QE แต่คุณน้าพาเทรดเชื่อว่าหลายๆ คนก็กำลังเกิดข้อสงสัยกันใช่ไหมคะว่า มาตรการ QE คือ อะไร แล้วส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ? วันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมๆ กันค่ะ

มาตรการ Quantitative Easing หรือ มาตรการ QE คืออะไร

มาตรการ QE เป็นรูปแบบหนึ่งนโยบายทางการเงินที่ไม่เป็นทางการ ที่ซึ่งธนาคารกลางได้ทำการซื้อหลักทรัพย์ระยะยาว (Long-term Securities) จากตลาดการค้าเสรี (Open Market) โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณเงิน และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนและการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งการซื้อหลักทรัพย์เหล่านี้ก็จะถือว่าเป็นการเพิ่มเงินเข้ามาในเศรษฐกิจนั่นเองค่ะ และยังเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยโดยการประมูลตราสารหนี้ นอกจากนี้ยังขยายงบดุลของธนาคารกลาง

What is QE or Quantitative Easing

หลักการ

ธนาคารกลางจะทำการเพิ่มปริมาณเงินในระบบโดยจัดซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ และพันธบัตรรัฐบาล อีกทั้งยังทำการลดดอกเบี้ย และเมื่อดอกเบี้ยลดลง ธนาคารก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

สรุปง่ายๆ คือ มาตรการ QE มีจุดประสงค์ที่จะกระตุ้นการไหลเวียนของเงินในระบบ โดยทำอย่างไรก็ได้ให้เงินในระบบมีมากขึ้นนั่นเอง

ทุกประเทศสามารถทำ Quantitative Easing ได้ไหม?

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประเทศเล็กๆ จะออกมาตรการนี้ได้ค่ะ โดยการทำ QE สามารถเป็นกรณีที่ใช้เงินที่มีอยู่แล้วเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่ต้องการสนับสนุน แต่ในหลายกรณี เช่น มาตรการ QE สหรัฐ มีการ “พิมพ์เงิน” เพิ่มเข้าไปในระบบด้วย

การพิมพ์เงินทำให้สมดุลของปริมาณเงินในระบบเปลี่ยนไป ถ้าไม่ใช่ประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งจะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะทั่วโลกจะไม่ยอมรับหรือไม่ให้ความเชื่อถือต่อสกุลเงินของประเทศดังกล่าว แต่กรณีของสหรัฐ ได้ “บุญเก่า” จากการที่ U.S. Dollar ถูกใช้เป็นเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ การซื้อขาย สินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก (Commodity) โดยเฉพาะสินค้าที่มีฟันเฟืองของโลกอุตสาหกรรมอย่าง “น้ำมันดิบ” ก็ยังต้องซื้อขายกันเป็น U.S. Dollar ทำให้แม้ว่าสหรัฐฯ จะยังพิมพ์เงิน QE อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าทั่วโลกเชื่อมั่นในดอลลาร์ (ไม่ว่าจะเชื่อมั่นอย่างเต็มใจหรือไม่ก็ตาม) สหรัฐฯ ก็ยังสามารถทำ QE ได้โดยไม่มีปัญหา

ข้อดี

จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้คนหรือบริษัทเริ่มรู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจ และเริ่มรู้สึกว่าการกู้ยืมเงินหรือการไปเป็นหนี้คนอื่นเป็นสิ่งที่อาจจะส่งผลอันตรายของสถานภาพทางการเงินของพวกเขา?

เหตุผลที่มาตรการนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในสภาวะแบบนี้ ย้ำอีกครั้งว่า เพราะนโยบายนี้มีผลกระทบต่อปริมาณเงินในระบบ มันจะกระตุ้นการไหลเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลในเชิงจิตวิทยาทางเศรษฐกิจด้วย เพราะหากธุรกิจเริ่มใช้จ่าย คนเริ่มรู้สึกว่า “รัฐกำลังอัดเงิน” มีเงินไหลเวียนเยอะ คนจะกล้าใช้จ่าย และทำให้เงินมีการไหลเวียนมากขึ้นจริงๆ ตามที่รู้สึก

ข้อเสีย

แน่นอนว่าในเมื่อมีข้อดีแล้วก็ย่อมมีข้อเสียเช่นเดียวกัน ในเมื่อเงินมีปริมาณเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลงนั่นเอง หรือที่เราเรียกว่าการเกิดภาวะ “เงินเฟ้อ” ดังนั้น การทำ QE ต้องพิมพ์เงินอัดเงินในระดับที่ไม่เร็วเกินไป, ช้าเกินไป หรือมากเกินไป โดยธนาคารกลางจะใช้ CPI หรือดัชนีเงินเฟ้อเป็นมาตรวัดว่า ควรจะทำ QE ต่อไปดีหรือไม่ ควรจะทำในปริมาณเท่าใด โดยทั่วไปมักคุมเงินเฟ้อไว้ในกรอบ 2% ถึง 5% ต่อปี

สรุป

จากที่คุณน้าได้กล่าวไปข้างต้น มาตรการ Quantitative Easing หรือมาตรการ QE คือ นโยบายการเงินที่มีจุดประสงค์ทำให้เงินไหลเวียนในระบบมากขึ้น หลายประเทศจึงได้นำมาตรการ QE ไปใช้เมื่อเจอสถานการณ์ที่อยากเพิ่มเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ทำให้คนในประเทศกล้าจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น แต่มาตรการ QE ก็ยังมีข้อเสีย คือเมื่อปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น ทำให้มูลค่าของเงินลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นการใช้มาตรการ QE ควบคุมปริมาณการเงิน ควรทำในอัตราที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไปค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกอ่านได้เลยที่นี่

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
IB Forex คืออะไร ทำกำไรจากอะไร
IB Forex คืออะไร ? ทำไมหลายคนถึงทำเป็นอาชีพเสริม

IB Forex เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เป็นที่นิยมมากในยุคนี้ เพราะเป็นอีกวิธีที่สามารถสร้างรายได้เสริมได้ จนบางคนอาจจะทำให้เป็นรายได้หลักเลยทีเดียว

ทำไม ทองคำ ถึงเป็น Safe Haven ปี 2023
ทำไมทองคำถึงเป็น Safe Haven ในปี 2023

Safe Haven ที่เรียกง่าย ๆ ว่า ที่หลบภัยของนักลงทุน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีอัตราผันผวนต่ำเมื่อเศรษฐกิจของโลกเกิดความไม่แน่นอน และสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนได้เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

Sillicon Valley Bank ล่มเพราะอะไร
สรุปง่าย ๆ ใน 5 นาที Silicon Valley Bank ล่มเพราะอะไร ?

เป็นข่าวตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วนะคะ สำหรับกรณีการล่มสลายหรือพูดง่าย ๆ ก็คือสั่งปิดจนเจ๊งอย่างธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้สาเหตุว่า Sillicon Valley Bank ล่มเพราะอะไร 

Enable Notifications OK No thanks