DCA และ Lumpsum คืออะไร ? ลงทุนแบบไหนเหมาะกับเรา

Dollar Cost Averaging DCA Lumpsum คืออะไร
Table of Contents

การลงทุนมีหลากหลายรูปแบบให้เราได้เลือกในสิ่งที่เหมาะกับเราค่ะ ไม่ว่าจะใช้รูปแบบไหน เป้าหมายสูงสุดก็คงหนีไม่พ้นการทำกำไรจากการลงทุนใช่ไหมคะ? วันนี้คุณน้าเลยอยากหยิบยกการลงทุนแบบ DCA และ Lumpsum มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ แต่หลาย ๆ คนคงสงสัยกันใช่ไหมคะ? ว่าจริง ๆ แล้ว DCA และ Lumpsum คืออะไร บทความวันนี้จะคลายข้อสงสัยของทุกคนเองค่ะ



DCA และ Lumpsum คืออะไร ? 

หลาย ๆ คนก็คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่า DCA และ Lumpsum คืออะไร ทั้งสองอย่างต่างก็เป็นทางเลือกในการลงทุนทั้งคู่ค่ะ เพราะโดยพื้นฐานทั่วไปที่คนส่วนใหญ่รู้ หากเรามีเงินเก็บแล้วต้องการสร้างกำไรจากมันก็มักจะนำไปฝากแบบออมทรัพย์เพื่อรับดอกเบี้ยใช่มั้ยคะ แต่เราต่างก็รู้กันอยู่ว่า ดอกเบี้ย หรือกำไรจากเงินฝากนั้นน้อยมาก ๆ ก็เลยมีรูปแบบการลงทุนทั้งสองแบบนี้ออกมาสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้น หรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ 

การลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging หรือ DCA คืออะไร ? 

Dollar Cost Averaging DCA คืออะไร

มาที่คำตอบของคำถามแรกกันค่ะ การลงทุนรูปแบบ DCA คืออะไร ง่าย ๆ ก็คือ DCA หรือ Dollar Cost Averaging หมายถึง การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยนั่นเองค่ะ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่นักลงทุนจะแบ่งจำนวนเงินทั้งหมดที่ตั้งใจจะลงทุนค่อย ๆ ซื้อสินทรัพย์ที่ต้องการ 

ยกตัวอย่างเช่น

คุณน้าได้รับเงินจาก Passive Income เป็นเงินเย็น เดือนละ 50,000 บาท และสามารถแบ่งเงินตรงนั้นมาลงทุนได้ เดือนละ 20,000 บาท คุณน้าก็จะนำเงินมาซื้อหุ้นจากบริษัทที่คุณน้าสนใจ เช่น BYD เป็นประจำทุกเดือน 

โดยปกติแล้ว ราคาหุ้นในแต่ละเดือนจะไม่เท่ากัน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้บางเดือนคุณน้าอาจจะได้หุ้นในราคา หุ้นละ 23 บาท แต่บางเดือน หุ้นนั้นอาจจะขยับมาที่ หุ้นละ 25 บาท หรือบางเดือนอาจจะได้หุ้นในราคา 18 บาท ก็ได้ค่ะ ซึ่งการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (DCA หรือ Dollar Cost Averaging) ก็จะเป็นการที่เราลงทุนโดยไม่สนราคาตลาด ณ ขณะนั้น เป็นประจำทุกเดือนนั่นเองค่ะ

ทำไมถึงต้องแบ่งเงินค่อย ๆ ลงทุน ? 

เหตุผลในการลงทุนแบบ DCA หรือ Dollar Cost Averaging ก็คือ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนในการซื้อสินทรัพย์โดยรวมนั่นเองค่ะ เพราะเราจะค่อย ๆ แบ่งเงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ในแต่ละเดือน ซึ่งจะเป็นการซื้อ ณ ราคาขณะนั้นเลย ดังนั้น วิธี DCA หรือ Dollar Cost Averaging จะช่วยย่นเวลาสำหรับผู้ที่ต้องใช้เวลาในการเฝ้าหน้าจอ หรือเฝ้ารอราคาตลาดที่ดีที่สุดได้ และในอีกมุมหนึ่ง มันก็เหมาะสำหรับคนที่ไม่สะดวกลงทุนเป็นเงินก้อนในคราวเดียว แต่สะดวกในการแบ่งมาลงทุนทีละเล็กทีละน้อยนั่นเองค่ะ 

การเฉลี่ยต้นทุน หมายถึง การลงทุนอย่างเป็นระบบในจำนวนเงินที่เท่ากันเป็นระยะ ๆ เช่น ทุกอาทิตย์ ทุกครึ่งเดือน หรือทุกเดือน เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อในขณะนั้น ซึ่งเป้าหมายของการเฉลี่ยต้นทุนดอลลาร์ คือ การลดผลกระทบโดยรวมจากความผันผวนต่อราคาของสินทรัพย์เป้าหมาย เนื่องจากราคาจะเปลี่ยนแปลงไปในทุกครั้งที่ทำการลงทุนตามช่วงเวลา การลงทุนจึงไม่มีความผันผวนมากนักค่ะ

การเฉลี่ยต้นทุนค่าเงินดอลลาร์ (DCA หรือ Dollar Cost Averaging) จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนก้อนเดียวที่มี ซึ่งถ้าหากเราคาดเดาผิดทาง มันอาจจะผันผวนจนทำให้เกิดการขาดทุนหนักมากก็ได้ค่ะ 

การลงทุนแบบ Lumpsum คืออะไร ?

Lumpsum คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ DCA หรือ Dollar Cost Averaging กันแล้ว คำถามต่อมาก็คือ การลงทุนรูปแบบ Lumpsum คืออะไร สำหรับการลงทุนแบบ Lumpsum นั้น ก็คือ การลงทุนแบบก้อนใหญ่ก้อนเดียว ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะลงทุนเป็นอย่างดี เพราะถ้าหากว่า คุณเข้าลงทุนถูกจังหวะและถูกเวลา มันจะทำให้คุณได้รับผลตอบแทนสูงมากทีเดียวค่ะ 

ยกตัวอย่างเช่น 

คุณอาได้เงินโบนัสมา 100,000 บาท ซึ่งเงินนั้นก็เป็นเงินเย็นสำหรับคุณอาในการลงทุน คุณอาจึงเลือกที่จะลงทุนแบบ Lumpsum นั้นก็คือ ลงทุนทั้งก้อนไปเลยในครั้งเดียวนั่นเอง

ทำไมต้องลงทุนแบบ Lumpsum ?

การลงทุนแบบนี้เหมาะกับผู้มีเงินเย็นเป็นก้อน และมีความรู้พื้นฐาน หรือมีความเชี่ยวชาญแล้วนั่นเองค่ะ เนื่องจากการลงทุนแบบนี้ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะลงทุนแบบ Lumpsum จึงควรมีการฝึกฝนในด้านต่าง ๆ ทั้งการวิเคราะห์ และการคำนวณให้ดีค่ะ 



เปรียบเทียบการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) และ Lumpsum

Dollar Cost Averaging DCA VS Lumpsum คืออะไร

DCA (Dollar Cost Averaging)

  • ฝึกวินัยในการลงทุน และการออมเงิน โดยเป็นการหัดแบ่งเงินออกมาลงทุนในแต่ละเดือน หรือตามที่เราสะดวก
  • ถัวเฉลี่ยในการลงทุน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ในอนาคตอีกหลายปี ราคาของสินทรัพย์จะเป็นอย่างไร แต่หากเราได้เข้าซื้อไว้ตั้งแต่ราคาแรก ๆ ที่เริ่มลงทุน เมื่อเฉลี่ยแล้วจะทำให้เห็นว่า เราได้มาในราคาต้นทุนที่ต่ำ
  • ฝึกการควบคุมอารมณ์ ถึงแม้ว่าราคาสินทรัพย์อาจจะผันผวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน แต่หากตัดเรื่องอารมณ์ออกไป ไม่ต้องสนใจราคาขณะนั้น แต่เน้นวินัยในการลงทุนแทน มันก็จะช่วยลดความเสียหายจากการลงทุนได้

Lumpsum

  • ฝึกการจับจังหวะตลาด ผู้ลงทุนต้องเข้าถูกจังหวะ โดยเลือกจากจังหวะที่ราคาสินทรัพย์นั้นดีที่สุด หรือต่ำที่สุด เพื่อทำกำไร ซึ่งนับว่า เป็นการฝึกฝนการดูกราฟราคาด้วย
  • ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากใช้เงินลงทุนก้อนที่ใหญ่กว่าแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) จึงทำให้ได้รับผลตอบแทนเยอะกว่าตั้งแต่ช่วงแรกของการลงทุน
  • ฝึกฝนการเลือกลงทุน เพราะว่าต้องใช้ความรู้ในการศึกษา และคิดวิเคราะห์เป็นอย่างดีว่า แนวโน้มสิ่งที่เราเลือกลงทุนนั้นมีโอกาสทำกำไรมากน้อยเพียงใด 



การลงทุน 2 แบบนี้นำไปปรับใช้กับอะไรได้บ้าง ? 

นอกจากคำถามที่ว่าทั้งสองรูปแบบคืออะไรแล้วนั้น แล้วเราจะนำมาปรับใช้ได้อย่างไรกัน คุณน้าบอกเลยนะคะว่า โดยส่วนใหญ่ การลงทุนทั้ง 2 รูปแบบนี้ มักถูกนำไปปรับใช้กับกองทุนรวม และการลงทุนในหุ้นด้วยค่ะ 

อย่างกองทุนรวม เราสามารถเลือกจะลงทุนได้ทั้งแบบถัวเฉลี่ยที่จะแบ่งปันเงินมาลงทุนในจำนวนเท่ากันทุกเดือน หรือจะลงเงินก้อนทีเดียวแบบ Lumpsum ก็สามารถทำได้เช่นกัน และอย่าลืมทำการศึกษาเกี่ยวกับกองทุนที่เราสนใจให้ดีก่อนนะคะ

ส่วนการลงทุนในหุ้น ก็สามารถปรับใช้ได้โดยการเลือกหุ้นที่เราให้ความสนใจที่จะนำการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) มาใช้และซื้อหุ้นในราคาเดิมในทุกเดือน (หรือตามความถี่ที่เหมาะสมกับเรา) โดยที่ไม่ต้องสนใจราคาหุ้น ณ ตอนที่เราซื้อ เน้นลงทุนแบบสม่ำเสมอ เพราะสามารถถัวเฉลี่ยราคาต้นทุนได้ค่ะ

การลงทุนแบบ Lumpsum ก็นำมาปรับใช้ได้โดยการเลือกหุ้นที่สนใจเช่นเดียวกัน แต่ว่าต้องเลือกราคาที่เหมาะสมดี ๆ นะคะ อาจจะใช้การวิเคราะห์ และการศึกษาหุ้นที่เราต้องการจะลงทุนเข้ามาเสริม เพื่อซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ดีที่สุดค่ะ



โดยสรุปแล้ว

การลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging หรือ DCA เหมาะกับผู้ที่ค่อย ๆ นำเงินมาลงทุน ส่วน Lumpsum นั้น จะเป็นการลงเงินก้อนใหญ่ทีเดียวเลยค่ะ 

หลาย ๆ คนก็คงคลายความสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะ ว่า DCA (Dollar Cost Averaging) และ Lumpsum คืออะไร แน่นอนค่ะว่า การลงทุนทั้งสองแบบสามารถประยุกต์ใช้ในสินทรัพย์อื่น ๆ ได้ตามความของการของตัวนักลงทุนเองค่ะ ส่วนใครที่สนใจการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) หรือ Lumpsum อยู่ คุณน้าหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูล รวมไปถึงผู้กำลังสนใจที่จะเข้ามายังโลกแห่งการลงทุน อย่า่งไรก็ตาม อย่าลืมวางแผนให้ดี จัดการเงินลงทุนของตัวเองให้เป็นระบบระเบียบด้วยนะคะ ด้วยความหวังดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ ♥ 


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 2 พฤษภาคม 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,325 / 2,335 / 2,350
แนวรับ : 2,310 / 2,295 / 2,280

ส่องหุ้น HYBE ค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ในเกาหลีใต้ หุ้นจะรอดหรือร่วง! หลังปมขัดแย้งกับ ADOR
ส่องหุ้น HYBE ค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ในเกาหลีใต้ หุ้นจะรอดหรือร่วง! หลังปมขัดแย้งกับ ADOR

ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับธุรกิจ HYBE ค่ายเพลงอันดับต้นในเกาหลีใต้ ให้มากยิ่งขึ้น หุ้น HYBE จะรอดหรือจะร่วง? บทความนี้มีคำตอบค่ะ!

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 29 เมษายน 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทมรนที่ 29 เมษายน 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,340 / 2,355 / 2,370
แนวรับ : 2,315 / 2,295 / 2,280