DCA และ Lumpsum คืออะไร ? ลงทุนแบบไหนเหมาะกับเรา

Dollar Cost Averaging DCA Lumpsum คืออะไร
Table of Contents

การลงทุนมีหลากหลายรูปแบบให้เราได้เลือกในสิ่งที่เหมาะกับเราค่ะ ไม่ว่าจะใช้รูปแบบไหน เป้าหมายสูงสุดก็คงหนีไม่พ้นการทำกำไรจากการลงทุนใช่ไหมคะ? วันนี้คุณน้าเลยอยากหยิบยกการลงทุนแบบ DCA และ Lumpsum มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ แต่หลาย ๆ คนคงสงสัยกันใช่ไหมคะ? ว่าจริง ๆ แล้ว DCA และ Lumpsum คืออะไร บทความวันนี้จะคลายข้อสงสัยของทุกคนเองค่ะ



DCA และ Lumpsum คืออะไร ? 

หลาย ๆ คนก็คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่า DCA และ Lumpsum คืออะไร ทั้งสองอย่างต่างก็เป็นทางเลือกในการลงทุนทั้งคู่ค่ะ เพราะโดยพื้นฐานทั่วไปที่คนส่วนใหญ่รู้ หากเรามีเงินเก็บแล้วต้องการสร้างกำไรจากมันก็มักจะนำไปฝากแบบออมทรัพย์เพื่อรับดอกเบี้ยใช่มั้ยคะ แต่เราต่างก็รู้กันอยู่ว่า ดอกเบี้ย หรือกำไรจากเงินฝากนั้นน้อยมาก ๆ ก็เลยมีรูปแบบการลงทุนทั้งสองแบบนี้ออกมาสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้น หรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ 

การลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging หรือ DCA คืออะไร ? 

Dollar Cost Averaging DCA คืออะไร

มาที่คำตอบของคำถามแรกกันค่ะ การลงทุนรูปแบบ DCA คืออะไร ง่าย ๆ ก็คือ DCA หรือ Dollar Cost Averaging หมายถึง การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยนั่นเองค่ะ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่นักลงทุนจะแบ่งจำนวนเงินทั้งหมดที่ตั้งใจจะลงทุนค่อย ๆ ซื้อสินทรัพย์ที่ต้องการ 

ยกตัวอย่างเช่น

คุณน้าได้รับเงินจาก Passive Income เป็นเงินเย็น เดือนละ 50,000 บาท และสามารถแบ่งเงินตรงนั้นมาลงทุนได้ เดือนละ 20,000 บาท คุณน้าก็จะนำเงินมาซื้อหุ้นจากบริษัทที่คุณน้าสนใจ เช่น BYD เป็นประจำทุกเดือน 

โดยปกติแล้ว ราคาหุ้นในแต่ละเดือนจะไม่เท่ากัน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้บางเดือนคุณน้าอาจจะได้หุ้นในราคา หุ้นละ 23 บาท แต่บางเดือน หุ้นนั้นอาจจะขยับมาที่ หุ้นละ 25 บาท หรือบางเดือนอาจจะได้หุ้นในราคา 18 บาท ก็ได้ค่ะ ซึ่งการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (DCA หรือ Dollar Cost Averaging) ก็จะเป็นการที่เราลงทุนโดยไม่สนราคาตลาด ณ ขณะนั้น เป็นประจำทุกเดือนนั่นเองค่ะ

ทำไมถึงต้องแบ่งเงินค่อย ๆ ลงทุน ? 

เหตุผลในการลงทุนแบบ DCA หรือ Dollar Cost Averaging ก็คือ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนในการซื้อสินทรัพย์โดยรวมนั่นเองค่ะ เพราะเราจะค่อย ๆ แบ่งเงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ในแต่ละเดือน ซึ่งจะเป็นการซื้อ ณ ราคาขณะนั้นเลย ดังนั้น วิธี DCA หรือ Dollar Cost Averaging จะช่วยย่นเวลาสำหรับผู้ที่ต้องใช้เวลาในการเฝ้าหน้าจอ หรือเฝ้ารอราคาตลาดที่ดีที่สุดได้ และในอีกมุมหนึ่ง มันก็เหมาะสำหรับคนที่ไม่สะดวกลงทุนเป็นเงินก้อนในคราวเดียว แต่สะดวกในการแบ่งมาลงทุนทีละเล็กทีละน้อยนั่นเองค่ะ 

การเฉลี่ยต้นทุน หมายถึง การลงทุนอย่างเป็นระบบในจำนวนเงินที่เท่ากันเป็นระยะ ๆ เช่น ทุกอาทิตย์ ทุกครึ่งเดือน หรือทุกเดือน เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อในขณะนั้น ซึ่งเป้าหมายของการเฉลี่ยต้นทุนดอลลาร์ คือ การลดผลกระทบโดยรวมจากความผันผวนต่อราคาของสินทรัพย์เป้าหมาย เนื่องจากราคาจะเปลี่ยนแปลงไปในทุกครั้งที่ทำการลงทุนตามช่วงเวลา การลงทุนจึงไม่มีความผันผวนมากนักค่ะ

การเฉลี่ยต้นทุนค่าเงินดอลลาร์ (DCA หรือ Dollar Cost Averaging) จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนก้อนเดียวที่มี ซึ่งถ้าหากเราคาดเดาผิดทาง มันอาจจะผันผวนจนทำให้เกิดการขาดทุนหนักมากก็ได้ค่ะ 

การลงทุนแบบ Lumpsum คืออะไร ?

Lumpsum คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ DCA หรือ Dollar Cost Averaging กันแล้ว คำถามต่อมาก็คือ การลงทุนรูปแบบ Lumpsum คืออะไร สำหรับการลงทุนแบบ Lumpsum นั้น ก็คือ การลงทุนแบบก้อนใหญ่ก้อนเดียว ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะลงทุนเป็นอย่างดี เพราะถ้าหากว่า คุณเข้าลงทุนถูกจังหวะและถูกเวลา มันจะทำให้คุณได้รับผลตอบแทนสูงมากทีเดียวค่ะ 

ยกตัวอย่างเช่น 

คุณอาได้เงินโบนัสมา 100,000 บาท ซึ่งเงินนั้นก็เป็นเงินเย็นสำหรับคุณอาในการลงทุน คุณอาจึงเลือกที่จะลงทุนแบบ Lumpsum นั้นก็คือ ลงทุนทั้งก้อนไปเลยในครั้งเดียวนั่นเอง

ทำไมต้องลงทุนแบบ Lumpsum ?

การลงทุนแบบนี้เหมาะกับผู้มีเงินเย็นเป็นก้อน และมีความรู้พื้นฐาน หรือมีความเชี่ยวชาญแล้วนั่นเองค่ะ เนื่องจากการลงทุนแบบนี้ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะลงทุนแบบ Lumpsum จึงควรมีการฝึกฝนในด้านต่าง ๆ ทั้งการวิเคราะห์ และการคำนวณให้ดีค่ะ 



เปรียบเทียบการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) และ Lumpsum

Dollar Cost Averaging DCA VS Lumpsum คืออะไร

DCA (Dollar Cost Averaging)

  • ฝึกวินัยในการลงทุน และการออมเงิน โดยเป็นการหัดแบ่งเงินออกมาลงทุนในแต่ละเดือน หรือตามที่เราสะดวก
  • ถัวเฉลี่ยในการลงทุน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ในอนาคตอีกหลายปี ราคาของสินทรัพย์จะเป็นอย่างไร แต่หากเราได้เข้าซื้อไว้ตั้งแต่ราคาแรก ๆ ที่เริ่มลงทุน เมื่อเฉลี่ยแล้วจะทำให้เห็นว่า เราได้มาในราคาต้นทุนที่ต่ำ
  • ฝึกการควบคุมอารมณ์ ถึงแม้ว่าราคาสินทรัพย์อาจจะผันผวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน แต่หากตัดเรื่องอารมณ์ออกไป ไม่ต้องสนใจราคาขณะนั้น แต่เน้นวินัยในการลงทุนแทน มันก็จะช่วยลดความเสียหายจากการลงทุนได้

Lumpsum

  • ฝึกการจับจังหวะตลาด ผู้ลงทุนต้องเข้าถูกจังหวะ โดยเลือกจากจังหวะที่ราคาสินทรัพย์นั้นดีที่สุด หรือต่ำที่สุด เพื่อทำกำไร ซึ่งนับว่า เป็นการฝึกฝนการดูกราฟราคาด้วย
  • ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากใช้เงินลงทุนก้อนที่ใหญ่กว่าแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) จึงทำให้ได้รับผลตอบแทนเยอะกว่าตั้งแต่ช่วงแรกของการลงทุน
  • ฝึกฝนการเลือกลงทุน เพราะว่าต้องใช้ความรู้ในการศึกษา และคิดวิเคราะห์เป็นอย่างดีว่า แนวโน้มสิ่งที่เราเลือกลงทุนนั้นมีโอกาสทำกำไรมากน้อยเพียงใด 



การลงทุน 2 แบบนี้นำไปปรับใช้กับอะไรได้บ้าง ? 

นอกจากคำถามที่ว่าทั้งสองรูปแบบคืออะไรแล้วนั้น แล้วเราจะนำมาปรับใช้ได้อย่างไรกัน คุณน้าบอกเลยนะคะว่า โดยส่วนใหญ่ การลงทุนทั้ง 2 รูปแบบนี้ มักถูกนำไปปรับใช้กับกองทุนรวม และการลงทุนในหุ้นด้วยค่ะ 

อย่างกองทุนรวม เราสามารถเลือกจะลงทุนได้ทั้งแบบถัวเฉลี่ยที่จะแบ่งปันเงินมาลงทุนในจำนวนเท่ากันทุกเดือน หรือจะลงเงินก้อนทีเดียวแบบ Lumpsum ก็สามารถทำได้เช่นกัน และอย่าลืมทำการศึกษาเกี่ยวกับกองทุนที่เราสนใจให้ดีก่อนนะคะ

ส่วนการลงทุนในหุ้น ก็สามารถปรับใช้ได้โดยการเลือกหุ้นที่เราให้ความสนใจที่จะนำการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) มาใช้และซื้อหุ้นในราคาเดิมในทุกเดือน (หรือตามความถี่ที่เหมาะสมกับเรา) โดยที่ไม่ต้องสนใจราคาหุ้น ณ ตอนที่เราซื้อ เน้นลงทุนแบบสม่ำเสมอ เพราะสามารถถัวเฉลี่ยราคาต้นทุนได้ค่ะ

การลงทุนแบบ Lumpsum ก็นำมาปรับใช้ได้โดยการเลือกหุ้นที่สนใจเช่นเดียวกัน แต่ว่าต้องเลือกราคาที่เหมาะสมดี ๆ นะคะ อาจจะใช้การวิเคราะห์ และการศึกษาหุ้นที่เราต้องการจะลงทุนเข้ามาเสริม เพื่อซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ดีที่สุดค่ะ



โดยสรุปแล้ว

การลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging หรือ DCA เหมาะกับผู้ที่ค่อย ๆ นำเงินมาลงทุน ส่วน Lumpsum นั้น จะเป็นการลงเงินก้อนใหญ่ทีเดียวเลยค่ะ 

หลาย ๆ คนก็คงคลายความสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะ ว่า DCA (Dollar Cost Averaging) และ Lumpsum คืออะไร แน่นอนค่ะว่า การลงทุนทั้งสองแบบสามารถประยุกต์ใช้ในสินทรัพย์อื่น ๆ ได้ตามความของการของตัวนักลงทุนเองค่ะ ส่วนใครที่สนใจการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) หรือ Lumpsum อยู่ คุณน้าหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูล รวมไปถึงผู้กำลังสนใจที่จะเข้ามายังโลกแห่งการลงทุน อย่า่งไรก็ตาม อย่าลืมวางแผนให้ดี จัดการเงินลงทุนของตัวเองให้เป็นระบบระเบียบด้วยนะคะ ด้วยความหวังดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ ♥ 


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
ส่องเทรนด์ Pop Mart คืออะไร ลงทุนหุ้นของเล่น Art toy น่าสนใจปี 2024
ส่องเทรนด์ Pop Mart คืออะไร ลงทุนหุ้นของเล่น Art toy น่าสนใจปี 2024

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า “กล่องสุ่ม” “Art toy” หรือ “Pop Mart” กระแสที่กำลังในประเทศไทย วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จักกับเทรนด์กล่องสุ่มของ Pop Mart ค่ะ

กองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? ปี 2024
กองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? ผลตอบแทนสูง ปี 2024

คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับกองทุน Thai ESG ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน ซื้อกองไหนดี? เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับกองทุนประเภทนี้ดียิ่งขึ้น