Current Ratio คืออะไร ? ตัวชี้วัดศักยภาพบริษัทที่นักลงทุนต้องรู้ !

Current Ratio คืออะไร ตัวชี้วัดบริษัทที่นักลงทุนต้องรู้
Table of Contents

โดยปกติแล้ว นักลงทุนมักพิจารณาผลประกอบการที่แสดงถึงการสร้างผลตอบแทนของกิจการต่าง ๆ จาก ROE, ROI, Sharp Ratio หรือแม้แต่ ROA แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกเครื่องมือที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์กิจการได้ดีเช่นกัน โดยในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับ Current Ratio หรืออัตราส่วนทุนหมุนเวียนกันค่ะ แล้ว Current Ratio คืออะไร ? ตัวชี้วัดศักยภาพบริษัทที่นักลงทุนต้องรู้ ! เพื่อนำไปวางแผนการลงทุนของคุณให้ดียิ่งขึ้น ว่ากันแล้วก็มาเริ่มกันเลยค่ะ


Current Ratio คืออะไร

Current Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่เป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถในการจ่ายหนี้สินระยะสั้นของกิจการนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งใช้ดูอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินนั่นเอง โดยสามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้หมุนเวียน

มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง โดยสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก, เงินสด, ลูกหนี้การค้า, ตั๋วรับเงิน, ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า หรือสินค้าคงคลัง เป็นต้น
  • หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินระยะสั้นที่มีรอบกำหนดชำระไม่เกิน 1 ปีหรือ 1 รอบบัญชี นับตั้งแต่วันที่เริ่มเป็นหนี้ เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, รายได้รับล่วงหน้า และเงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร เป็นต้น 

วิธีสังเกตอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่นักลงทุนควรทราบก็คือ Current Ratio ควรมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป เพราะหมายความว่า กิจการนั้น ๆ สามารถนำสินทรัพย์ที่เป็นเงินหมุนเวียนไปแลกเปลี่ยนหรือขายเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำมาชำระหนี้ระยะสั้นได้ทันเวลาโดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเพิ่มเติม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กิจการยังมีสภาพคล่องทางการเงินนั่นเองค่ะ


บทความที่ให้คำแนะนำเกี่ยวข้องกับ “การลงทุนเพิ่มเติม”


จากที่ทราบไปข้างต้นว่า อัตราเงินทุนหมุนเวียนควรมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป เพราะจะแสดงให้เห็นว่า กิจการมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มีเงินสดในมือโดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเพิ่มเติมค่ะ ในทางตรงกันข้ามกัน หากกิจการใดมีค่าน้อยกว่า 1 นั่นเท่ากับว่า กิจการนั้นขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากมีหนี้สินที่มากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ทำให้กิจการจำเป็นต้องกู้ยืมหรือขายสินทรัพย์ เพื่อใช้จ่ายหนี้สิน ซึ่งดูท่าแล้วบริษัทน่าจะเงินขาดมือ ทำให้ไม่เหมาะกับการเข้าไปลงทุนใด ๆ

อย่างไรก็ตาม Current Ratio ก็มีข้อควรระมัดระวังเช่นเดียวกัน เพราะบางครั้งกิจการที่มีอัตราเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 มาก ๆ ก็อาจจะต้องดูเพิ่มเติมว่า กิจการมีการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนสูงเกินจำเป็นหรือไม่? เนื่องจากการถือเงินสดที่มากเกินปกติก็อาจเป็นเพราะมีสินค้าคงคลังที่มากเกิน ทำให้สินค้านั้นเกิดขายไม่ออกจนตกรุ่นไปในที่สุด

ดังนั้นแล้ว คุณน้าขอแนะนำว่าในกรณีที่ Current Ratio สูงจนเกินไป นักลงทุนควรตรวจสอบรายการสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการว่าเป็นอย่างไร รวมถึงควรวิเคราะห์อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ร่วมด้วยค่ะ

ตัวอย่างการคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียน

กำหนดให้บริษัท AA มีสินทรัพย์หมุนเวียนอยู่ที่ 100,000 บาท และมีหนี้สินหมุนเวียนอยู่ที่ 50,000 บาท โดยค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันกับที่บริษัท AA ดำเนินธุรกิจอยู่มีค่าอัตราทุนหมุนเวียน = 5 เท่า 

บริษัท AA สามารถคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียนได้ ดังนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน คือ 100,000 / 25,000 = 4 เท่า

จะแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคิดเป็น 4 เท่าของหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งมากเพียงพอที่จะใช้หนี้ระยะสั้นให้กับบริษัท แต่หากเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น Current Ratio ของบริษัท AA ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้น นักลงทุนจึงจำเป็นต้องดูอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อใช้วิเคราะห์สภาพคล่องที่แท้จริง


Quick Ratio หรือ Acid Test Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นของบริษัท โดยไม่จำเป็นต้องขายทรัพย์สิน, สินค้าคงคลัง หรือกู้เงินเพื่อมาชำระหนี้สินของกิจการ ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการนั้น ๆ ซึ่งการคำนวณ Quick Ratio มีสูตรดังต่อไปนี้

Quick Ratio = เงินสด + ลูกหนี้การค้า + เงินลงทุน / หนี้สินหมุนเวียน

สำหรับข้อแตกต่างของ Current Ratio และ Quick Ratio นั้น จะแตกต่างที่ Quick Ratio จะไม่รวมสินค้าคงคลังนั่นเอง ทำให้การคำนวณ Quick Ratio จะเป็นอัตราส่วนที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถมองเห็นสภาพคล่องระยะสั้นได้ดีกว่า Current Ratio เพราะปกติแล้ว สินค้าคงคลังจะเป็นรายการหลักที่มีมูลค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนสูงที่สุด ซึ่งการที่อัตราส่วนสภาพคล่องสูงอาจมาจากสินค้าคงคลังสูง ทำให้สินทรัพย์ที่เป็นเงินหมุนเวียนไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที

ตัวอย่างการคำนวณอัตราทุนหมุนเวียนเร็ว

กำหนดให้บริษัท AA มีเงินสดและรายการเทียบเท่าอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท มีลูกหนี้การค้าอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท และบริษัท AA มีเงินลงทุนอยู่ที่ 200 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทมีหนี้สินระยะสั้นอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท

โดยอัตรา Quick Ratio สามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว คือ 5,000,000,000 + 2,000,000,000 + 200,000,000 / 10,000,000,000 = 0.72

ถือได้ว่า บริษัท AA บริหารกิจการได้ไม่ดีนัก เพราะอัตราเงินหมุนเวียนเร็วน้อยกว่า 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพคล่องต่ำ 


คำแนะนำจากคุณน้า

คำแนะนำจากคุณน้า

การคำนวณ Current Ratio และ Quick Ratio สามารถใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างกิจการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น


นักลงทุนสามารถดูสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนได้จากงบแสดงฐานะการเงินของเว็บที่บอกข้อมูลข่าวสารเกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือในตราสารที่มีการซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณน้าต้องการซื้อหุ้น PTT ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วต้องการดูงบการเงินของบริษัท คุณน้าสามารถดูอัตราทุนหมุนเวียนได้ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. เข้ามาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและคลิกไปที่งบการเงิน

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 1

2. จากนั้นให้คลิกไปที่งบการเงินล่าสุด

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 2

3. สุดท้ายงบการเงินจะแสดงให้เห็นข้อมูลของสินทรัพย์หมุนเวียน, สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน, หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 3

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 4

เมื่อคุณน้าต้องการดูค่าอัตราทุนหมุนเวียนก็สามารถดูจากสินทรัพย์หมุนเวียนและหารด้วยหนี้สินได้ค่ะ โดย Current Ratio ของหุ้น PTT จะอยู่ที่ 1.7 ซึ่งถือว่าบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ยังเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม คุณน้าขอแนะนำว่า นักลงทุนควรศึกษาผลประกอบการของบริษัทย้อนหลัง 5-10 ปีด้วย เพื่อประเมินว่า บริษัทสามารถเติบโตในอนาคตได้หรือไม่ รวมทั้งควรเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้การลงทุนของคุณคุ้มค่ามากที่สุดค่ะ


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Current Ratio

  • ค่า Current Ratio มากกว่า 1 ขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า กิจการนั้น ๆ มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี
  • ค่า Current Ratio น้อยกว่า 1 ลงไป แสดงให้เห็นว่า กิจการนั้น ๆ สภาพคล่องทางการเงินไม่ดี

อัตราทุนหมุนเวียนสามารถคำนวณได้โดยเอา สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

Current Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ส่วน Quick Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ซึ่งจะแตกต่างกันที่การคำนวณของ Quick Ratio จะไม่รวมสินค้าคงคลังเอาไปคำนวณด้วยนั่นเอง

Acid Test Ratio หรือ Quick Ratio คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นของบริษัท โดยไม่จำเป็นต้องขายทรัพย์สิน และสินค้าคงคลัง

Current Ratio จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินของกิจการได้ รวมทั้งยังใช้วิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ เพื่อนำไปวางแผนการดำเนินการธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย

จากที่กล่าวไปข้างต้น เห็นได้ว่า Current Ratio เป็นหนึ่งในการคำนวณที่สำคัญในการประเมินว่า ธุรกิจนั้น ๆ มีความสามารถในการทำกำไรหรือไม่ เพราะเป็นตัวชี้วัดที่ทำให้นักลงทุนเห็นถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทที่ตนเองให้ความสนใจในการลงทุนค่ะ 

อย่างไรก็ตาม คุณน้าขอแนะนำว่า Current Ratio ไม่ได้การันตี 100% ว่า กิจการนั้นจะเติบโตได้ดีที่สุด เนื่องจากนักลงทุนควรวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนทรัพย์สิน (ROA) และอัตรากำไรสุทธิ เป็นต้น เพราะการวิเคราะห์หลาย ๆ ปัจจัยจะช่วยให้คุณสามารถประเมินความเสี่ยงและสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ละเอียดและรอบคอบ ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง ด้วยความหวังดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ

ที่มา : Weath Connex

สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
Wiz Cyber Security บริษัทที่ Google เลือกดีล 2024
Wiz Cyber Security บริษัทที่ Google ดีล 2024

ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมาส่องธุรกิจของ Wiz Cyber Security บริษัท Start-Up ที่ Google เลือกดีล 2024 ว่าบริษัทให้บริการด้านใดบ้าง

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 24 กรกฎาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 กันค่า ปัจจัยเศรษฐกิจภาพรวม เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากว่า 13 ดอลลาร์

โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง เทรดฟรี ถอนได้ ปี 2024
5 โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง เทรดฟรี ปี 2024

อยากเทรดฟรี มีโบรกไหนแจกเงินและโบนัสฟรี เงื่อนไขดี ๆ บ้างนะ? คุณน้าจะพาไปดู 5 โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรีมาแรง เทรดฟรี ถอนได้แน่นอน เพียงแค่ทำตามเงื่อนไขค่ะ