NAV คืออะไร ? : เทคนิคการเลือกกองทุนรวมด้วย NAV

NAV คืออะไร ? : เทคนิคการเลือกกองทุนรวมด้วย NAV
Table of Contents

สายกองทุนรวมห้ามพลาด! NAV คืออะไร หลายท่านอาจจะรู้กันอยู่แล้ว แต่ในบทความนี้ คุณน้าจะพาไปทบทวนความรู้กันอีกรอบ พร้อมทั้งบอกเทคนิคการเลือกกองทุนรวมด้วย NAV ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่สามารถเลือกกองทุนได้ง่ายขึ้น จะมีวิธีการดูและเลือกยังไงบ้างนะ ต้องไปดูกันค่ะ

ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม


NAV (Net Asset Value) คืออะไร ?

NAV ย่อมาจาก Net Asset Value คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดของกองทุนรวม ตลอดจนผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง หักออกด้วยค่าใช้จ่ายและหนี้สินค่ะ

ตัวอย่างทรัพย์สินของกองทุนรวม

  • ค่าธรรมเนียม 
  • ค่านายทะเบียน 
  • ค่าผู้ดูแลผลประโยชน์
  • อื่น ๆ

NAV ออกกี่โมง ?

โดยปกติ บลจ. จะเป็นผู้คำนวณและเปิดเผย NAV ให้นักลงทุนทราบ ดังกรณีต่อไปนี้ค่ะ

  • กรณีกองทุนปิด : จะมีการเปิดเผยให้นักลงทุนทราบในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์
  • กรณีกองทุนเปิด : จะมีการเปิดเผยให้นักลงทุนทราบทุกสิ้นวันทำการที่มีการซื้อขายหน่วยลงทุน

บลจ. จะมีการเปิดเผย NAV หลังปิดตลาด ประมาณช่วง 2 ทุ่ม บนหน้าเว็บไซต์ พร้อมกับระบุว่า เป็น NAV ของวันไหนค่ะ ซึ่งราคาที่ปรากฏนั้นจะเป็นราคาของวันก่อนหน้าที่จะประกาศ 1 วันเสมอค่ะ

อย่างไรก็ดี หากเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ อาจมีการเปิดเผย NAV ช้ากว่าบ้านเรา 1 – 3 วันทำการ เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องของ Time Zone และเวลาเปิด-ปิดตลาดค่ะ ซึ่งหากต้องการทราบ NAV ของกองทุนต่างประเทศ ทุกคนก็อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดของกองทุนให้ดีกันด้วยนะคะ

ตัวอย่าง NAV ของกองทุน
ตัวอย่าง NAV ของกองทุน

ทำไม NAV ออกช้า ?

สาเหตุที่ NAV มีการอัปเดตล่าช้า นั่นก็เป็นเพราะว่า บลจ. จะต้องคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาด (Mark to Market) ในแต่ละวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.30 น. เพื่อสะท้อนมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงไปนั่นเองค่ะ

NAV ดูยังไง ?

โดยทั่วไปแล้ว ราคาที่ บลจ. ประกาศนั้นจะอยู่ในรูปของ “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” ดังนั้น หากต้องการทราบ NAV ที่แท้จริงจะต้องคำนวณด้วยสูตรต่อไปนี้ค่ะ

สูตรในการคำนวณ NAV

NAV = (มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด + ผลตอบแทนสะสมและเงินสด) – (ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุน)

NAV ต่อหน่วย คืออะไร ?

มูลค่าต่อหน่วย หรือ NAV ต่อหน่วย (NAV Per Unit) คือ มูลค่าของทรัพย์สินต่อ 1 หน่วยลงทุน พูดง่าย ๆ ก็คือ การทำให้อยู่ในรูปราคาต่อชิ้นนั่นเองค่ะ

สูตรในการคำนวณ NAV ต่อหน่วย

NAV ต่อหน่วย = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ / จำนวนหน่วยลงทุน

  • หาก NAV ต่อหน่วยสูงกว่าราคาที่ลงทุน นั่นแปลว่า คุณได้กำไรค่ะ
  • หาก NAV ต่อหน่วยต่ำกว่าราคาที่ลงทุน นั่นแปลว่า คุณขาดทุนค่ะ

NAV เริ่มต้นที่เท่าไหร่ ?

เมื่อกองทุนรวมในประเทศไทยเปิดจำหน่ายเป็นครั้งแรก จะมี NAV เริ่มต้นที่ราคา 10 บาท ซึ่งหากกองทุนใดมีราคาต่ำกว่า 10 บาท นั่นหมายความว่า การบริหารงานของกองทุนนั้นไม่ดีค่ะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ NAV มีอะไรบ้าง ?

  1. การนำราคาปิดของกองทุนมาประเมิน ซึ่งแต่ละที่มีเกณฑ์ต่างกัน
  2. การซื้อขายทรัพย์สินภายในกองทุน
  3. คุณภาพของทรัพย์สินภายในกองทุน
  4. ผลตอบแทนที่ยังไม่ได้รับ
  5. หนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุน
  6. จำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายและไถ่ถอน
  7. การจ่ายเงินปันผล

NAV มีประโยชน์อย่างไร ?

  • บอกมูลค่าที่แท้จริงของกองทุนรวม
  • บอกปริมาณการซื้อขายกองทุนรวม
  • สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
  • บอกว่ากองทุนนั้นขาดทุนหรือได้กำไร
  • ใช้เปรียบเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีนโยบายคล้ายกัน

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ NAV

  • NAV ต่ำ ไม่ได้แปลว่า “ถูก”
  • NAV สูง ไม่ได้แปลว่า “แพง”

อีกทั้ง NAV ที่มีตัวเลขต่ำ (ราคาถูก) ก็ไม่ใช่สิ่งที่ใช้การันตีว่า กองทุนนั้นดีและสามารถทำกำไรได้ ทุกคนยังจำเป็นต้องศึกษานโยบายการลงทุน ตลอดจนพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุนเช่นเดียวกับสินทรัพย์อื่น ๆ ค่ะ

สรุป NAV คืออะไร ใช้เลือกกองทุนรวมได้ยังไงนะ ?

NAV คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดของกองทุนรวม ซึ่งช่วยให้เราทราบว่า กองทุนนั้นมีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไหร่, มีการบริหารอย่างไร และได้กำไรหรือขาดทุนกันแน่ ซึ่งมันทำให้เราสามารถนำไปใช้เป็นตัวเปรียบเทียบในการเลือกกองทุนนั่นเองค่ะ แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลข NAV ต่ำ ไม่ได้แปลว่าถูก สูงก็ไม่ได้แปลว่าแพง ดังนั้น อย่าลืมศึกษาการดำเนินงานของกองทุนให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนกันด้วยนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทความในการเทรดที่น่าสนใจ : มือใหม่หัดเทรด

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,610-2,590 ดอลลาร์