มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร ?

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร ?
Table of Contents

บางบริษัทอาจมีการทำ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ให้กับพนักงาน แต่มันคืออะไรกันนะ น่าสนใจยังไง เพราะเราต้องจ่ายเงินให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน จะได้ใช้อีกทีก็ตอนแก่เลยใช่ไหมล่ะคะ แล้วมีผลตอบแทนอะไรบ้างนะ คุ้มค่าหรือเปล่า? คุณน้าจะพาไปไขคำตอบกันค่ะ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร ?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) คือ กองทุนประเภทหนึ่งที่นายจ้างจัดทำขึ้นร่วมกับลูกจ้าง ถือเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่นายจ้างมอบให้ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในตอนเกษียณอายุ, ออกจากงาน, ทุพพลภาพ หรือใช้เป็นหลักประกันเมื่อลูกจ้างเสียชีวิตนั่นเองค่ะ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร ?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีกี่ประเภท ?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

กองทุนที่มีนโยบายเดียว

  • กองทุนเดี่ยว (Single Fund) คือ กองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีนายจ้างรายเดียว ทำให้สามารถกำหนดนโยบายการลงทุนเองได้ค่ะ
  • กองทุนร่วม (Pooled Fund) คือ กองทุนที่มีเงินกองทุนไม่มากนัก, เพิ่งเริ่มจัดตั้งกองทุน หรือมีพนักงานไม่เยอะ ทำให้นายจ้างมากกว่า 2 ราย มาร่วมลงทุนภายใต้นโยบายเดียวกัน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนนั่นเองค่ะ

กองทุนที่มีหลายนโยบาย

  • กองทุนเดี่ยว (Master Single Fund) คือ กองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีนายจ้างรายเดียว แต่สามารถกำหนดนโยบายการลงทุนได้หลายนโยบายค่ะ
  • กองทุนร่วม (Master Pooled Fund) คือ กองทุนที่มีนายจ้างมากกว่า 2 ราย ซึ่งยังไม่เคยจัดตั้งกองทุน หรือต้องการนโยบายการลงทุนที่ยืดหยุ่น เพราะ 1 กองทุนสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนได้หลายนโยบายนั่นเองค่ะ

วิธีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน แต่อาจจะนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการการดำเนินงาน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. จัดตั้งคณะกรรมการ
  2. คัดเลือกและว่าจ้างบริษัทจัดการ
  3. นำส่งข้อมูลประกอบการจัดตั้ง
  4. จดทะเบียนจัดตั้งกองทุน
  5. รับสมัครสมาชิก
  6. นำส่งเงินเข้ากองทุน

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาจากไหน ?

เงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาจาก 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  • เงินสะสมของลูกจ้าง : ลูกจ้างสามารถเลือกสะสมเงินได้ตั้งแต่ 2 – 15% ของเงินเดือนตามอัตราที่บริษัทกำหนดและความสมัครใจ
  • เงินสมทบของนายจ้าง : โดยมีนายจ้างส่งเงินสมทบเข้าไปอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่น้อยกว่าเงินสะสมของลูกจ้างค่ะ

จากนั้น ทางกองทุนจะมีการนำเงินจากลูกจ้างและนายจ้างไปลงทุนเพื่อต่อยอด ทำให้ลูกจ้างได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ดังนี้ค่ะ

  • ผลประโยชน์เงินสะสม : ผลกำไรจากการที่บริษัทนำเงินสะสมไปลงทุน
  • ผลประโยชน์เงินสมทบ : ผลกำไรจากการที่บริษัทนำเงินสมทบไปลงทุน

โดยลูกจ้างสามารถเลือกแผนการลงทุนและเงินสะสมได้ด้วยตัวเองตามความสมัครใจเลยค่ะ ดังนั้น คุณน้าจึงแนะนำให้ทุกคนศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนก่อนทุกครั้ง

ลูกจ้างจะได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตอนไหน ?

ลูกจ้างจะได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตอนไหน ?

โดยปกติแล้ว ลูกจ้างจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต่อเมื่อสิ้นสุดความเป็นสมาชิก ได้แก่

  • ลาออกจากงาน 
  • เสียชีวิต
  • เกษียณอายุ 
  • โอนย้ายกองทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกได้เท่าไหร่ ?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกได้เท่าไหร่ ?

หากลาออกหรือสิ้นสุดการเป็นสมาชิก ลูกจ้างจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้ค่ะ

  1. เงินส่วนหนึ่งของยอดสะสมเต็มจำนวน พร้อมผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง 
  2. เงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบตามเงื่อนไขที่กำหนด

อย่างไรก็ดี จำนวนเงินที่ลูกจ้างจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสะสมและสมทบ ตลอดจนระยะเวลาการเป็นสมาชิกของกองทุนด้วยค่ะ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเสียภาษีไหม ?

wrong

ถ้าเป็นแบบนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเหมือนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ที่หากมีเงินได้จะต้องเสียภาษีไหมนะ? โดยปกติแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ได้ตามจริง 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

correct

แต่หากลูกจ้างถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาใช้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุจำเป็นใด ๆ หรือสิ้นสุดการเป็นสมาชิก ก็จะมีภาระทางภาษีทันทีค่ะ ซึ่งลูกจ้างจะต้องนำเงินก้อนนี้ไปยื่นเสียภาษีประจำปีตามเกณฑ์ที่กองทุนและสรรพากรกำหนดค่ะ


บทความแนะนำสำหรับ “มนุษย์เงินเดือน”


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีประโยชน์อย่างไร ?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีประโยชน์อย่างไร ?
  • สร้างวินัยในการออมและการลงทุน
  • นายจ้างช่วยสมทบเงินส่วนหนึ่ง
  • ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณอายุ
  • ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจริง 15% ของเงินได้
  • เป็นหลักประกันให้คนข้างหลังเมื่อเสียชีวิต
  • กองทุนบริหารโดยมืออาชีพ มีนโยบายหลากหลาย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกได้กี่เปอร์เซ็นต์ (%) ?

หากลูกจ้างลาออกหรือสิ้นสุดการเป็นสมาชิกจะได้รับเงินจากกองทุนมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุงานค่ะ เช่น

  • อายุงานน้อยกว่า 1 ปี : จะไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ
  • อายุงาน 1 – 5 ปี : จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ 50%
  • อายุงานมากกว่า 5 ปี : จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ 100%

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่วันถึงได้เงิน ?

หากลูกจ้างลาออกจากงานหรือออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะได้รับเงินภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการเป็นสมาชิกค่ะ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำได้ตอนไหน ?

ลูกจ้างสามารถเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตั้งแต่เริ่มทำงาน อย่างไรก็ดี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง นายจ้างทุกแห่งไม่จำเป็นต้องนำเสนอให้แก่ลูกจ้างค่ะ

เช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไร ?

ทุกคนสามารถตรวจสอบยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ผ่านเว็บไซต์ www.ThaiPVD.com โดยระบุชื่อนายจ้าง หรือเลือกประเภทหน่วยงาน หรือจังหวัดที่นายจ้างดำเนินธุรกิจอยู่ค่ะ

สรุป กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำคัญอย่างไร ?

หากนายจ้างคนไหนมีการทำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ลูกจ้าง ก็ถือว่าเป็นสวัสดิการที่ดีเลยค่ะ เพราะนายจ้างจะช่วยสมทบเงินในการออมและการลงทุนเพื่อให้ลูกจ้างของพวกเขามีเงินใช้ในยามเกษียณ แถมยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงและนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยค่ะ ดังนั้น หากบริษัทของใครมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็อย่าลืมไปออมเงินไว้ใช้กันด้วยนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2, Thai PVD และ Krungsri Asset

บทความในการเทรดที่น่าสนใจ : มือใหม่หัดเทรด

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
ทำความรู้จัก หุ้นธนาคาร พร้อมเปิดโผ 6 หุ้นธนาคารกลุ่มยั่งยืนปี 2567
หุ้นธนาคาร คืออะไร ? พร้อมเปิด 6 หุ้นธนาคารกลุ่มยั่งยืน 2567

ทำความรู้จัก “หุ้นธนาคาร” จะมีจุดเด่นและความเสี่ยงในการลงทุนด้านใดบ้างวันนี้คุณน้าได้รวบรวมมาแล้วพร้อมแล้วไปอ่านกันเลยค่ะ

วิเคราะห์ราคาทองคำ
คุณน้าพาเทรดทอง : วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 พฤษภาคม 2567

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 กันค่า

แนวต้าน : 2,395 / 2,410 / 2,426
แนวรับ : 2,3 / 2,345 / 2,335